มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาคุณภาพกล้วยบวชชีสำเร็จรูป
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of sweet banana in coconut cream qualities
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ล้วย เป็นพืชที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถปลูกได้ทั่วไปและให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ในบางฤดูกาลมีกล้วยมากเกินความต้องการ รวมทั้งกล้วยที่ใช้ในการบริโภคสดมีอายุการเก็บรักษาเพียง 5-7 วัน ก่อนการเน่าเสีย ก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการแปรรูปกล้วยจึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อแก้ปัญหานี้ในปัจจุบันมีการรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกร และได้รับการส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จากกล้วย เช่น กล้วยกวน กล้วยตาก กล้วยฉาบ เป็นต้น แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ยังไม่มีความหลากหลายและข้อจำกัดทางด้านคุณภาพ รวมทั้งอายุการเก็บรักษาขนมที่ทำมาจากกะทิ สามารถเก็บรักษาได้เพียง 2-3 วัน เท่านั้น นอกจากนี้ในปัจจุบันการส่งออกอาหารเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย โดยเฉพาะผลผลิตที่ผลิตด้วยภูมิปัญญาคนไทยสู่ตลาดโลก สินค้าที่ได้รับความนิยมมีหลายชนิด ได้แก่ อาหารคาว อาหารหวาน ซึ่งได้รับความนิยมสูง เช่น อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตอาหารหวานเพื่อการส่งออกยังมีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพและกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เช่น เกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลขึ้นในระหว่างกระบวนการแปรรูปและเก็บรักษา ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะที่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ, กระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษากล้วยบวชชี ให้มีอายุการเก็บรักษาอย่างน้อย 3 เดือน โดยศึกษาการใช้อิมัลซิไฟเออร์และลดการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลในระหว่างกระบวนการแปรรูปและเก็บรักษา
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพ, กระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษากล้วยบวชชี ให้มีอายุการเก็บรักษาอย่างน้อย 3 เดือน 2. เพื่อศึกษาผลของการใช้อิมัลซิไฟเออร์ต่อการแยกตัวของน้ำกะทิระหว่างการเก็บรักษา 3. เพื่อศึกษาวิธีการลดการเกิดปฏิกิริยาน้ำตาลในระหว่างกระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษา
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. พัฒนากระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษากล้วยบวชชี ให้มีอายุการเก็บรักษาอย่างน้อย 3 เดือน 2. ศึกษาผลของการใช้อิมัลซิไฟเออร์ต่อการแยกตัวของน้ำกะทิระหว่างการเก็บรักษา 3. ศึกษาวิธีการลดการเกิดปฏิกิริยาน้ำตาลในระหว่างกระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษา ขอบเขตด้านประชากร กล้วยน้ำว้า ที่ปลูกในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้กระบวนการแปรรูปกล้วยบวชชีที่เหมาะสมและสามารถเก็บได้นานอย่างน้อย 3 เดือน 2. ได้ชนิดและปริมาณของสารอิมัลซิไฟเออร์ที่เหมาะสมในการแปรรูปกล้วยบวชชี เพื่อไม่ให้กะทิเกิดการแยกชั้นในระหว่างการเก็บรักษา 3. ได้กระบวนการแปรรูปกล้วยบวชชีที่ลดการเกิดปฏิกิริยาน้ำตาลในระหว่างกระบวนการแปรรูปและการเก็บรักษา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวณิชา กาวิละ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru