มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวแต๋นโดยการประยุกต์การอบแห้งข้าวแต๋นด้วยความร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริกส์ร่วมกับเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์: กรณีศึกษากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Process development for fried rice crackers by Application of Thermoelectric Heat Treatment with solar dryer on fried rice Process : Cause of Tanod Sugar Product Tambol Koeychai, Amph
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
การพัฒนาทดลอง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นอาหารหลักของคนไทย และยังเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในหลายพื้นที่ นอกจากนี้ข้าวยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ แต่ในปัจจุบันปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น และมีการใช้ราคาเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด ตลาดการส่งออกข้าวจึงมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เป็นสาเหตุให้ราคาข้าวในตลาดโลกต่ำลง ดังนั้นการนำข้าวมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น ข้าวกึ่งสำเร็จรูปโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารว่างจากข้าว จึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งเพื่อช่วยเพื่อปริมาณความต้องการใช้ข้าวในประเทศให้มากขึ้น และยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทยด้วย นอกจากนี้การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคและประการสำคัญก็คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปมีราคาที่ค่อนข้างเสถียรไม่ขึ้นลงตามภาวะล้นตลาด เนื่องจากมีอายุการเก็บรักษานาน ข้าวแต๋น หรือข้าวแตน หรือรังแตน เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเหนียว ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาตั้งแต่อดีต ส่วนใหญ่มีการผลิตในระดับครัวเรือนซึ่งมีกำลังการผลิตค่อนข้างต่ำ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการผลิตมากขึ้นทำให้เป็นแหล่งอาชีพและแหล่งรายได้ของผู้ประกอบการและกลุ่มแม่บ้านชุมชน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นสินค้าส่งออกไปต่างประเทศได้ทั้งในลักษณะกึ่งสำเร็จรูป(ยังไม่ผ่านการทอด) และข้าวแต๋นที่ผ่านการทอดแล้ว ในกระบวนการผลิตแต๋นจะใช้ข้าวเหนียวที่ผ่านการนึ่งให้สุกมาปรุงรสต่างๆ เช่น น้ำแตงโม น้ำดอกอัญชัน น้ำใบเตย เป็นต้น จากนั้นนำมาขึ้นรูป แล้วตากแดดให้แห้งประมาณ 3 วัน และนำไปทอดให้พองกรอบ อาจมีการปรุงแต่งหน้าด้วยเครื่องปรุงต่างๆ เช่น น้ำตาลเคี่ยว ธัญพืชต่างๆ ตามต้องการ จากกระบวนการผลิตข้าวแต๋นดังกล่าวจะมีปัญหาที่ทำให้อัตราการผลิตต่ำ คือ ขั้นตอนการขึ้นรูปซึ่งทำได้ครั้งล่ะ 1 ชิ้นทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองแรงงาน และในขั้นตอนการตากแห้งที่วางตากบนถาดซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ และใช้เวลาตากนาน มักจะประสบปัญหาในฤดูฝนและฤดูหนาว เนื่องจากปริมาณแสงแดดมีไม่เพียงพอและปริมาณความชื้นในอากาศสูงจึงทำให้การตากแห้งวัตถุดิบไม่สมบูรณ์มีความชื้นเหลือในตัวข้าวแต๋นกึ่งสำเร็จรูปมากส่งผลให้อายุการเก็บรักษาสั้นและมีปัญหาเรื่องเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม่สามารถผลิตข้าวแต๋น ได้อย่างต่อเนื่องข้าวแต๋นส่งผลให้กำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ สูญเสียรายได้จากการผลิตที่ไม่ต่อเนื่องในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนากระบวนการผลิตข้าวแต๋นโดยการออกแบบแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปข้าวแต๋น และการออกแบบการอบแห้งข้าวแต๋นด้วยความร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริกส์ร่วมกับเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋น เพิ่มความปลอดภัยของผู้บริโภค และเพื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อออกแบบแม่พิมพ์และพัฒนาวิธีการขึ้นรูปข้าวแต๋น 2. เพื่อออกแบบสร้างและทดสอบสมรรถนะของการอบแห้งข้าวแต๋นด้วยความร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริกส์ร่วมกับเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ 3. เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของข้าวแต๋นที่ผ่านการอบแห้งข้าวแต๋นด้วยความร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริกส์ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์
ขอบเขตของโครงการ :
โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นในการปรับปรุงวิธีการขึ้นรูปข้าวแต๋น - โดยเพิ่มอัตราการผลิตข้าวแต๋นต่อจำนวนครั้งการผลิต - ออกแบบและสร้างโรงอบแห้งโดยใช้ระบบการอบแห้งข้าวแต๋นด้วยความร้อนจากเทอร์ โมอิเล็กทริกส์ร่วมกับเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ - ทดสอบสมรรถนะของโรงอบแห้ง และคุณภาพของข้าวแต๋นได้จากการผลิตด้วยระบบ เครื่องอบแห้งในโครงการวิจัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ด้านสังคมและชุมชน รวมถึงการเผยแพร่ในวารสาร จดสิทธิบัตร ฯลฯ และหน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1. ได้กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2. ได้ต้นแบบโรงอบแห้งเทอร์โมอิเล็กทริกส์ร่วมกับการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานได้จริงและมีคุณภาพในการผลิต 3. เกิดความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวแต๋นของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 4. สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่แก่กลุ่มผู้ผลิตข้าวแต๋นกลุ่มอื่นๆ 5. ลดระยะเวลา และลดจำนวนแรงงานในการขึ้นรูป ทำให้เพิ่มปริมาณการผลิต 6. สามารถผลิตข้าวแต๋นได้ตลอดทั้งปี และลดระยะเวลาการทำแห้ง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายถิรายุ ปิ่นทอง
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
50%
2
นางสาวพรพรรณ จิอู๋
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
50%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru