มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การเลี้ยงกบเชิงพาณิชย์โดยการประยุกต์ใช้อาหารต้นทุนต่ำกากมันสำปะหลังหมักยีสต์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The commercial frog farming by application of low-cost yeast fermented cassava pulp
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้ทั้งสัตว์กระเพาะเดี่ยวและสัตว์เคี้ยวเอื้อง จากการรายงานพบว่า หัวมันสำปะหลังสดประกอบด้วยน้ำ ร้อยละ 65 และสิ่งแห้ง ร้อยละ 35 (Khajarern, 2004) สำหรับการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ ประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังเป็นมันเส้นและมันอัดเม็ด นอกจากนี้ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง คือ กากมันสำปะหลัง (Cassava pulp) ซึ่งได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง (Tapioca starch) ด้วยวิธีการแบบโม่เปียก (Wet milling) กากมันสำปะหลัง คือ ส่วนของเยื่อใยและส่วนของแป้งมันสำปะหลังที่ไม่สามารถถูกสกัดออกได้หมด (Kanto, 2016) โดยจะได้กากมันสำปะหลังประมาณร้อยละ 11.10 (Khajarern and Khajarern, 2000) จากการศึกษาของ Khempaka et al. (2009) พบว่า โภชนะในกากมันสำปะหลังประกอบด้วย แป้ง ร้อยละ 53.55 เถ้า ร้อยละ 2.83 โปรตีน ร้อยละ 1.98 เยื่อใย ร้อยละ 13.59 และไขมัน ร้อยละ 0.13 การใช้กากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารนั้นเริ่มมีการประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น อาหารสัตว์ปีก เนื่องจากมีราคาถูก และลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ จากการศึกษาของ Ruangpanit et al. (2007) พบว่า การใช้กากมันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารไก่ไข่ถึงร้อยละ 15 โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการผลิต และคุณภาพไข่ การประยุกต์ใช้กากมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทำได้โดยการนำมาแปรรูปหมักร่วมกับน้ำหมักยีสต์เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีนและพลังงานตลอดจนคุณค่าทาง โภชนะอาหารอื่น ๆ ตามความต้องการของสัตว์ ที่สำคัญกากมันหมักยีสต์มีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ในฟาร์มหรือในครัวเรือน สามารถแก้ป้ญหาวกิฤตอาหารสัตว์ราคาแพง ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญสำหรับสัตว์ช่วยให้สัตว์เจริญเติบโตได้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบผสมเป็นอาหารสัตว์ได้หลายชนิด ทั้งสุกร เป็ด ไก่ โคเนื้อโคนม แพะ จิ้งหรีด หรือแม้แต่ปลากินพืช ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ องค์ประกอบทางโภชนะของกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ องค์ประกอบทางเคมี กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ กากมันสด ความชื้น (%) 79.1 70.3 โปรตีน (%)* 16.4 2.8 พลังงาน (Mcal/kg) 2.5 2.8 เยื่อใยหยาบ (%) 20.7 21.9 *หมายเหตุ: กรณีหมัก 10 20 30 วัน คุณค่าโปรตีนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 12 16 20 เปอร์เซ็นต์ (อ้างอิงผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดขอนแก่น กรมปศุสัตว์ ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น) งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาสูตรอาหารกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับยีสต์ นำมาทดลองเลี้ยงกบเนื้อเพื่อพัฒนาเป็นสูตรอาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนะและลดต้นทุนการผลิตเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกรต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 2. เพื่อผลิตอาหารต้นทุนต่ำกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ประยุกต์ใช้เลี้ยงกบเชิงพาณิชย์ 3. เพื่อสร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยจัดตั้ง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
พันธุ์กบที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กบพันธุ์เนื้อ จากพื้นที่อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ตัวแปรงานวิจัย การทดลองเปรียบเทียบ ผลของสูตรอาหารมันหมักยีสต์ต่ออัตราการเจิรญเติบโตของกบพันธุ์เนื้อ ตัวแปรต้น: สูตรอาหารมันหมักยีสต์ที่ใช่ในการวิจัย ตัวแปรตาม: อัตราการแลกเนื้อของกบพันธุ์เนื้อที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรควบคุม: สายพันธุ์กบ, ระยะเวลาการเลี้ยง, ปริมาณอาหารต่อมื้อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้สูตรอาหารมันหมักยีสต์ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของกบพันธุ์เนื้อ 2. เพิ่มมูลค่าให้กับกากมันสำปะหลังในการต่อยอดเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ 3. ได้อาหารชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และลดต้นทุนการผลิต 5. เพื่อเผยแพร่ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือการประชุมวิชาการ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
กระบวนการผลิตกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ (อัตราส่วนปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่ทดลอง) (1) ขั้นตอนการกระตุ้นยีสต์: ชั่งน้ำตาลทรายแดงและยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ละลายในน้ำอัตราส่วน 1:10:0.5 จำนวน 4 กิโลกรัม ผสมในน้ำสะอาดปริมาตร 40 ลิตร ทำการละลายให้เข้ากันและเติมยีสต์ จำนวน 2 กิโลกรัม (Barker yeast 4 ก้อน) แล้วทำการละลายผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 10 นาที หรือปล่อยจนยีสต์เกิดฟอง (2) ขั้นตอนการเตรียมอาหารยีสต์: (อัตราส่วนปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่ทดลอง) (2.1) เติมน้ำสะอาด ปริมาตร 1,000 ลิตร ลงในถังพลาสติกขนาดมากกว่า 1,000 ลิตร ที่เตรียมไว้ให้ครบ (2.2) ชั่งยูเรีย จำนวน 40 กิโลกรัม และ กากน้ำตาลจำนวน 50 กิโลกรัม เทลงในถังพลาสติกและผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน (2.3) เทน้ำยีสต์ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ (3) ผสมยีสต์ในน้ำหมัก: เมื่อครบเวลาที่กำหนดทำการ เทน้ำยีสต์ที่เลี้ยงไว้ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อและเติมออกซิเจนและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที (4) การบรรจุกากมันลงในบ่อหรือบรรจุถุง: (4.1) บรรจุกากมันจำนวน 6 ตัน ลงในบ่อขนาด (กว้าง x ยาว x สูง = 3 x 4 x 0.5 เมตร) (4.2) ทำการบรรจุกากมันสำปะหลังใส่ในถุงกระสอบที่มีถุงพลาสติกสีดำซ้อนอยู่ภายในจำนวน 30 กิโลกรัม (5) เติมน้ำหมักยีสต์ลงในกากมัน: (5.1) เติมน้ำหมักยีสต์ ปริมาตร 1,000 ลิตร ฉีดลงในกากมันจำนวน 6 ตัน แล้วปิดหมักไว้ 10 วัน เมื่อครบแล้วนำไปใช้เลี้ยงกบต่อไป หรือ (5.2) เติมน้ำหมักยีสต์ปริมาตร 5 ลิตร เทราดลงในถุงกระสอบที่บรรจุกากมัน 30 กิโลกรัม แล้วรัดปากกระสอบให้แน่นและหมักไว้เป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบแล้วนำไปทดลองเลี้ยงกบต่อไป (6) วางแผนการทดลองเลี้ยงกบ โดยแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล (Analysis of variance: ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ ทรีทเมนต์ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 โดยแบ่งชุดการทดลองอัตราการปล่อยบ่อละ 30 ตัว จำนวน 3 ซ้ำ ดังนี้ (6.1) ลูกกบเลี้ยงอาหารชุดควบคุม (6.2) ลูกกบเลี้ยงอาหารผสมมันหมักยีสต์ 25% (6.3) ลูกกบเลี้ยงอาหารผสมมันหมักยีสต์ 50% (6.4) ลูกกบเลี้ยงอาหารผสมมันหมักยีสต์ 100% (7) บันทึกผลการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง และสรุปรายงานการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การประยุกต์ใช้กากมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทำได้โดยการนำมาแปรรูปหมักร่วมกับน้ำหมักยีสต์เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีนและพลังงานตลอดจนคุณค่าทาง โภชนะอาหารอื่น ๆ ตามความต้องการของสัตว์ ที่สำคัญกากมันหมักยีสต์มีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ในฟาร์มหรือในครัวเรือน สามารถแก้ป้ญหาวกิฤตอาหารสัตว์ราคาแพง ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญสำหรับสัตว์ช่วยให้สัตว์เจริญเติบโตได้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบผสมเป็นอาหารสัตว์ได้หลายชนิด ทั้งสุกร เป็ด ไก่ โคเนื้อโคนม แพะ จิ้งหรีด หรือแม้แต่ปลากินพืช ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาสูตรอาหารกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับยีสต์ นำมาทดลองเลี้ยงกบเนื้อเพื่อพัฒนาเป็นสูตรอาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนะและลดต้นทุนการผลิตเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกรต่อไป
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายทะเนตร อุฤทธิ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru