มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่สับปะรด
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development of Pineapple Jelly
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
2 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 มิถุนายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
การพัฒนาทดลอง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
สหกรณ์การเกษตรห้วยคต จำกัด ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สมาชิกสหกรณ์ โดยสหกรณ์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยมุ่งเน้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ในการแปรรูปผลผลิตสับปะรดให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วย โดยในปัจจุบันทางสหกรณ์ฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารแปรรูปเสร็จแล้วซึ่งมีความพร้อมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่าย นอกจากนี้สหกรณ์ฯ ได้เริ่มสนับสนุนให้สมาชิกดำเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือทำการเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชหลากหลายชนิด ทั้งผักสวนครัว ผลไม้ พืชไร่ พืชสวน เลี้ยงสัตว์ปีกเลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดภัยในโรงเรือน เป็น “เกษตรอินทรีย์วิถีไทย”และเมื่อปรับเปลี่ยนวิถีการทำการเกษตรของสมาชิกแล้ว สิ่งสำคัญคือการให้องค์ความรู้แก่สมาชิก โดยภายในสหกรณ์ฯ ได้แบ่งพื้นที่23 ไร่ ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ทำแปลงเรียนรู้การเกษตรแบบผสมผสาน ทดลองปลูกพืชทุกชนิดที่จะส่งเสริมให้สมาชิกปลูกโดยทำแบบปลอดสาร ปลอดภัย มีกิจกรรมสาธิตการทำปุ๋ยคอกทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง มีแหล่งเรียนรู้เรื่องธนาคารน้ำ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ในปัจจุบันการคัดแยกสับปะรดจะมีสับปะรดตกเกรดซึ่งจะถูกจำหน่ายในราคาที่ต่ำลง แต่สามารนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ และในกระบวนการแปรรูปสับปะรดจะมีขั้นการตัดแต่งตาสับปะรดออก ซึ่งมีปริมาณเนื้อสับปะรดติดอยู่จำนวนมาก ส่วนที่ถูกตัดแต่งนี้ถือเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปที่ยังคงมีคุณค่าและสารอาหารจากเนื้อที่ติดเปลือกอยู่มาก ซึ่งส่วนใหญ่ทางสหกรณ์จะนำผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในแปลงสาธิต ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะเพิ่มมูลค่าของสับปะรดตกเกรดและของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปสับปะรดโดยการนำมาคั้นน้ำและนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่จากสับปะรด เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและมีของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้อยที่สุด
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาคุณภาพของน้ำสับปะรดที่ได้จากสับปะรดตกเกรดและน้ำสับปะรดจากของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปสับปะรด 2. เพื่อศึกษาปริมาณของสารก่อเจลที่เหมาะสมในการผลิตเยลลี่สับปะรด 3. เพื่อศึกษาคุณภาพของเยลลี่สับปะรดที่ผลิตได้ 4. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการผลิตเยลลี่สับปะรด
ขอบเขตของโครงการ :
ในงานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างสับปะรดตกเกรดและสับประดที่เหลือจากการตัดแต่งในกระบวนการแปรรูปสับปะรด จากกลุ่มสหกรณ์การเกษตรห้วยคต จำกัด ต.ห้วยคต อ.ห้วยคต นำมาคั้นน้ำเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่สับปะรด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้องค์ความรู้เรื่องคุณภาพของน้ำสับปะรดที่ได้จากสับปะรดตกเกรดและน้ำสับปะรดจากของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปสับปะรด 2. ได้องค์ความรู้เรื่องปริมาณของสารก่อเจลที่เหมาะสมในการผลิตเยลลี่สับปะรด 3. ได้ข้อมูลเรื่องคุณภาพของเยลลี่สับปะรด 4. กลุ่มเกษตรเกษตรของสหกรณ์การเกษตรห้วยคต จำกัด ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปผลิตผลิตภัณฑ์เยลลี่สับปะรด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
1. ศึกษาคุณภาพของน้ำสับปะรดที่ได้จากตกเกรดและน้ำจากของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปสับปะรด 2. ศึกษาปริมาณของสารก่อเจลที่เหมาะสมในการผลิตเยลลี่สับปะรด 3. ศึกษาคุณภาพของเยลลี่สับปะรดที่ผลิตได้ 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการผลิตเยลลี่สับปะรด สถานที่เก็บข้อมูล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
งานวิจัยนี้สนใจที่จะเพิ่มมูลค่าของสับปะรดตกเกรดและของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูปสับปะรดโดยการนำมาคั้นน้ำและนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เยลลี่จากสับปะรด เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและมีของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้อยที่สุด หลังจากได้องค์ความรู้ในการผลิตเยลลี่สับปะรดแล้วจะดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการผลิตเยลลี่สับปะรดให้กลุ่มสหกรณ์การเกษตรห้วยคต
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวพรพรรณ จิอู๋
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru