มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพดหวานสีแดง "ราชินีทับทิมสยาม"
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development of tea from corn silk and corn cob of red sweet corn "Siam Ruby Queen"
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 ธันวาคม 2563
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ข้าวโพดหวานสีแดง "ราชินีทับทิมสยาม" ถือเป็นข้าวโพดหวานสีแดงพันธุ์แรกของโลก ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์โดยฝีมือคนไทย ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของสีสันสวยสด รวมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่ รสชาติหวานและมีความกรอบในตัว สามารถรับประทานสดได้โดยไม่ต้องผ่านการปรุงสุก โดยจุดเด่นของข้าวโพดหวานชนิดนี้คือมีสารที่มีประโยชน์ที่สำคัญ คือสารแอนโธไซยานินซึ่งจัดเป็นสารประกอบฟีนอล (Pedreschi and Cisneros-Zevallos, 2007) ซึ่งเป็นรงควัตถุที่สามารถพบได้ในส่วนของพืชที่มีสีน้ำเงิน สีม่วง สีแดง และสีส้ม โดยมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ ไม่เสถียร จึงสลายตัวได้ด้วยความร้อน ออกซิเจน และแสง โดยคุณสมบัติที่โดนเด่นของสารแอนโธไซยานินคือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินซี นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ช่วยชะลอการเกิดไขมันอุตันในหลอดเลือด ลดโอกาสเสียงต่อการเกิดมะเร็งและยับยั้งเนื้องอก ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผลได้ดี ซึ่งโดยพบสารแอนโธไซยานินได้ทั้งในซัง ไหม เปลือกหุ้มฝัก และเมล็ดของข้าวโพด ( Guo et al., 2009; Yang et al., 2010; Harakotr et al., 2014) นอกจากการจำหน่ายเพื่อรับประทานสดแล้วข้าวโพดหวานสีแดงราชินีทับทิมสยามยังถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น น้ำนมข้าวโพด น้ำพริกข้าวโพด ข้าวเกรียบข้าวโพด เป็นต้น (ไร่ณัฐธยาน์ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์) โดยในกระบวนการแปรรูปนี้จะมีเศษเหลือทิ้งคือ ไหมและซังข้าวโพดซึ่งอุดมไปด้วยสารแอนโธไซยานินสูง ซึ่งจากรายงานวิจัยของ รัตนา และคณะ (2557) พบว่าในซังสดของข้าวโพดสีม่วงมีสารแอนโธไซยานินมากกว่าไหมสด และเมล็ดสดของข้าวโพดสีม่วง ดังนั้นหากมีการวิจัยเพื่อนำเศษเหลือทิ้งนี้มาใช้ประโยชน์จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้ง และเป็นการลดขยะให้กับกระบวนการผลิตได้อีกด้วย งานวิจัยนี้จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพดหวานสีแดง "ราชินีทับทิมสยาม" ซึ่งเป็นผลพลอยได้หลังกระบวนการเก็บเกี่ยวและแปรรูปข้าวโพด โดยศึกษาผลของกระบวนการเตรียมไหมและซังข้าวโพดที่มีผลต่อปริมาณแอนโธไซยานินในผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพด
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษากระบวนการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ชาไหมและซังข้าวโพด 2.เพื่อศึกษาคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ของผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพด 3.เพื่อการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในชุมชนท้องถิ่น
ขอบเขตของโครงการ :
ใช้ข้าวโพดหวานสีแดง "ราชินีทับทิมสยาม" จากไร่ณัฐธยาน์ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ชาไหมและซังข้าวโพด 2.ได้ทราบคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ของผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพด 3. ได้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ปริมาณแอนโธไซยานินสูง 4. เพิ่มมูลค่าให้กับเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
1. ศึกษาวิธีการเตรียมไหมและซังข้าวโพด โดยศึกษาชั้นความหนาของไหมข้าวโพด และศึกษาขนาดชิ้นของซังข้าวโพดเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมไหมและซังข้าวโพด 2.ศึกษาอุณหภูมิและระยะเวลาที่เหมาะสมในการผลิตชาไหมและซังข้าวโพด เพื่อหาสภาวะที่ทำให้ปริมาณสารแอนโธไซยานินถูกทำลายน้อยที่สุด โดยใช้อุณหภูมิในการอบที่แตกต่างกัน 4 ระดับอุณหภูมิ คือ อูรหภูมิิจากกระบวนการอบแบบดั้งเดิม(โดมพลังงานแสงอาทิตย์) 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส 3.วิเคราะห์ปริมาณแอนโธไซยานินในผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพดที่ผลิตได้ 4.ตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพด - วัดค่าสี L* a* และ b* โดยใช้เครื่อง Hunter Lab 5.การตรวจสอบคุณภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพด - วิเคราะห์ปริมาณความชื้น โดยใช้ตู้อบลมร้อน (Hot air oven) - วิเคราะห์ปริมาณน้ำอิสระ (aw) โดยใช้เครื่อง Aqua lab รุ่น series 3TE 6. การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ชาจากไหมและซังข้าวโพด - จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด - ยีสต์และรา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวพรพรรณ จิอู๋
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru