มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพยากรณ์ความต้องสินค้าทางการเกษตรและการบริหารจัดการคงคลังเพื่อลดต้นทุนสินค้าของสหกรณ์การเกษตรชุมตาบง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Demand Forecasts of Agricultural Products and Manage Inventory to Reduce Cost of Cooperative Agricultural Chum Ta Bong, Lat Yao District, Nakhon Sawan.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทยเพาะการเกษตรส่วนใหญ่ ของประเทศปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ซึ่งนอกจากนี้ข้าวยังเป็นสินค้าหลักของคนไทยที่ใช้บริโภคภายในประเทศแล้วยังเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ในปีพ.ศ. 2556 และ 2557 ประเทศไทยมีมูลค่าของผลผลิตข้าวนาปีอยู่ที่ 371,521 ล้านบาทและ 334,361 ล้านบาท โดยมีพื้นที่ในการเพาะปลูก 2.4 ล้านไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) ซึ่งแน่นอนว่าในการเพาะปลูกข้าวนั้นจะต้องมีต้นทุนในการเพาะปลูก โดยถูจำแนกออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงาน และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยจากงานวิจัยของ สุขใจ ตอนปัญญา, 2554 ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้นคิดเป็น 63% ของต้นทุนรวมทั้งหมด ซึ่งต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้นประกอบไปด้วย ค่าจ้างไถนา ค่าปุ๋ย ค่ายาปราบวัชพืช ค่าจ้างรถเกี่ยว และค่าเข่าที่ดิน ซึ่งพบว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตนั้น ต้นทุนในด้านค่าปุ๋ย มีเปอร์เซ็นต์สูงสุดคือ 31.4 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้วชาวนาจะทำการซื้อปุ๋ยจาก สหกรณ์การเกษตรที่ตนเป็นสมาชิกหรือจากร้านค้าอุปกรณ์ทางการเกษตร เมื่อมาทำการพิจารณาถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายปุ๋ยพบว่าเกิดจาก ค่าใช้จ่ายในการผลิตปุ๋ยจากโรงงาน (ราคาขายส่ง) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อปุ๋ย ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บรักษาปุ๋ย ค่าใช้จ่ายต่างต่างที่ได้กล่าวมาจะถูกบวกเข้ามาเป็นราคาปุ๋ยที่ชาวนาจะต้องทำการซื้อจากสหกรณ์การเกษตรหรือจากร้านค้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทางสหกรณ์การเกษตรหรือจากร้านค้าสามารถลดค่าใช้จ่ายบ้างส่วนลงได้ เพื่อเป็นการลดราคาปุ๋ยที่ชาวนาจะต้องทำการซื้อ จากการศึกษาสภาพปัญหาดังกล่าวในข้างต้นนั้น ผู้วิจัยจึงได้เข้าไปศึกษาและแก้ไขปัญหาโดยใช้สหกรณ์การเกษตรชุมตาบง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า เป็นผู้ดูและรับผิดชอบการขายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในเขตตำบลชุมตาบง อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง ในทุกๆปีสหกรณ์การเกษตรชุมตาบงจะต้องทำการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรมากกว่ามากกว่า 10 ครั้งต่อปี ซึ่งมีมูลค่าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรในการสั่งซื้อปุ๋ยมากกว่าปีละ 4,000,000 บาท และปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรที่สั้งมาจะถูกเก็บเข้าในคลังสินค้าทำให่เกิดต้นทุนที่สูงขึ้นกับปุ๋ยและสินค้าทางการเษตร ทำให้ผู้วิจัยสนใจในวิธีการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรเพื่อมาจำหน่ายต่อให้เกษตรกร ซึ่งผู้วิจัยมีแนวทางในการลดต้นทุนในด้านค่าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรลงได้ โดยใช้ทฤษฎีการพยากรณ์ความต้องการสินค้าและการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งจะช่วยในการลดต้นทุนค่าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรของสหกรณ์การชุมตาบง และราคาขายปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรให้แก่เกษตรกรในเขตพื้นนี้ที่ๆ สหกรณ์การเกษตรชุมตาบงรับผิดชอบ ได้ในราคาที่ต่ำลง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อหารูปแบบสมาการที่ใช้ในการพยากรณ์ความต้องการปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรที่เหมาะสมกับการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรชุมตาบง 2. เพื่อให้ได้ปริมาณการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรอย่างประหยัดตามหลักการ "Economic order quantity) 3. เพื่อลดปริมาณการถือครองสินค้าคงคลังให้สหกรณ์การเกษตรชุมตาบง 4. เพื่อให้ได้แผนการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรล่วงหน้า เพื่อลดต้นทุนในส่วนของการบริหารจัดการคงคลัง
ขอบเขตของโครงการ :
1. ข้อมูลที่พนำมาทำการวิเคราะห์และพิจารณานั้น เฉพาะหน่วยงานสหกรณ์การเกษตรชุมตาบงเพียงอย่างเดี่ยว 2. ทำการสร้างรูปแบบสมาการท๊่พใช้พยากรณ์ความต้องการของสินค้าที่ผ่านกระบวนการพาเลโต เท่านั้น 3. ประยุกต์ใช้ในการสั่งซื่อ สินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรที่ใช้ในการเพาะทางการเกษตรเพียงอย่างเพียงอย่างเดี่ยว 4. ระยะเวลาในการวางแผนทั้ง หมดแบ่งออกเป็นช่วงเวลาหลายช่วง (Multiple Periods) โดยที่ทุกช่วงมีระยะเท่าๆกัน 5. การสั่งซื่อสินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตรนั้นจะไม่พิจารณาถึงกรณีการทยอยเข้าของสินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตร 6. ข้อมูลที่นำมาทำการพิจารณาเพื่อวิจัยนั้นอยู่ในช่วงเดือน มกราคม – ธันวาคม ของปี 2557 ถซง 2558 เพื่อรูปแบบการพยากรณ์ความต้องการสินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตรที่เหมาะสมสำหรับปี 2559 7. ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างรูปแบบการพยากรณ์ จะไม่นำข้อมูลที่มีความผิดปกติหลังจากผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เนื่องจากอาจมีข้อมูลที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น ภัยพิบัติ นโยบายทางภาครัฐในช่วงนั้นๆ เข้ามาร่วมสร้างรูปแบบการพยากรณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. สามารถนำไปกำหนดแผนนโยบายในการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตรและแนวทางการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ของสหกรณ์การเกษตรชุมตาบง 2. ได้กระบวนการดำเนินการพยากรณ์เพื่อสั่งซื้อและการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของสินค้าทางการเกษตร 3. ได้ผลงานวิจัยที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ที่อยู่ในฐาน Certified Journal 4. สามารถนำความรู้และเทคนิคต่างๆไปถ่ายทอดสู่สหกรณ์การเกษตรชุมตาบง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
1. ลงพื้นที่เข้าไปศึกษาสภาพปัญหาในการสั่งซื้อและบริหารจัดการสินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตร 2. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลในการสั่งซื้อและบริหารจัดการสินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรที่เป็นสิรค้าคงคลัง ย้อนหลังไปในปีพ.ศ. 2557-2558 พร้อมกับสอบถามลักษณะการทำงานในอดีตที่ผ่านมาและเงื่อนไขในการสั่งซื้อที่ผ่านมา 3. ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรด้วยวิธีการทางสถิติ Boxplot เพื่อหาข้อมูลที่มีความผิดปกติและทำการตรวจสอบก่อนนำมาใช้ในการสร้างรูปแบบการพยากรณ์ 4. ทำการเลือกวิเคราะห์เพื่อเลือกสินค้าปุ๋ยและสินค้าทางการเษตรมาทำการสร้างรูปแบบการพยากรณ์ด้วยวิธี่พาเลโต 5. ทำการตรวจสอบอิทธฺพลของรูปแบบอุนกรมเวลา กรณีที่พบอิทธิพลของรูปแบบอนุกรมเวลา ให้ทำการเลือกรูปแบบการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาตามเงื่อนไขของข้อมูล ส่วนกรณีที่ไม่มีอิทธิพลของรูปแบบอนุกรมเวลา ให้ทำการเลือกรูปแบบการพยากรณ์ทั่วไปตามเงื่อนไขของข้อมูล 6. สร้างรูปแบบการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับเงื่อนไขและลักษณะของข้อมูล 7. ทำการตรวจสอบความแม่นยำของรูปแบบการพยากรณ์ที่สร้างขึ้นมา กรณีที่รูปแบบการพยากรณ์มีค่าความแม่นยำอยู่ในช่วงที่เหมาะสมจะดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปแต่ ในกรณีที่รูปแบบการพยากรณ์มีค่าความแม่นยำน้อยควรกลับไปดำเนินการในขั้นตอนที่ 3 เพื่อหาข้อผิดพลาดและดำเนินต่อไปในลำดับต่อไป 8. การพยากรณ์ความต้องการปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตรในช่วงเวลาต่างๆเพื่อหาปริมาณความต้องการรวมตลอดทั้งปี เพื่อกำหนดนโยบายในการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตร 9. คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตรตามทฤษฎี Economic order quantity (EOQ) เพื่อให้ได้ปริมาณสั่งซื้ออย่างประหยัดพร้อมทั้งพิจารณาเงื่อนไขต่างๆในการสั่งซื้อปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตร 10. ทำการเปรียบเทียบต้นทุนสิ้นค้าจากวิธีการเดิมกับต้นทุนปุ๋ยและสินค้าทางการเกษตรที่ได้จากทฤษฎี Economic order quantity (EOQ) 11. จัดทำรูปเล่มรายงานวิจัยพร้อมตีพิมพ์เผยแพร่
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายปิยกิจ กิจติตุลากานนท์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru