มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การวิเคราะห์ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
A Factors Analysis of Financial Stability of Saving Cooperative the area of Northern Part of Thailand
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
5. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย สหกรณ์ในประเทศไทย เกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยประเทศไทยเราได้เริ่มมีการติดต่อซื้อขายกับต่างประเทศมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเอง มาสู่ระบบเศรษฐกิจรูปแบบการค้า จึงมีความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประชาชนที่ไม่มีทุนเป็นของตนเองต้องไปกู้ยืมเงินทุนจากบุคคลอื่น ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงและยังถูกเอาเปรียบ จากพ่อค้า นายทุน ทุกวิถีทาง ทำให้ประชาชนต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ทำมาหาได้เท่าไรก็ต้องนำไปจ่ายชำระหนี้หนี้เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม เนื่องจากผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหาย ก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ จนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในหลักทรัพย์ให้แก่เจ้าหนี้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือเรื่องการจัดหาเงินทุนมาให้แก่ประชาชน จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่อง การสหกรณ์ โดยระบบของการสหกรณ์เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นภายใต้ชื่อสหกรณ์หาทุน โดยจัดตั้งขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งถือเป็นสหกรณ์แห่งแรก โดยใช้ชื่อว่า สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ และได้จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 โดยมีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรก ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ และจากการที่พระองค์ได้ทรงเป็นผู้ริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย จึงได้รับการยกย่องจากบุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์ ว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ปัจจุบันสหกรณ์ของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ประกอบด้วย 1) สหกรณ์การเกษตร 2) สหกรณ์ประมง 3) สหกรณ์นิคม 4) สหกรณ์ร้านค้า 5) สหกรณ์บริการ 6) สหกรณ์ออมทรัพย์ และ 7) สหกรณ์เครดิตยูเนียน โดยสถานะทางเศรษฐกิจในภาพรวมของระบบสหกรณ์ของไทย ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค.2558 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระบุว่ามีสหกรณ์ทั่วประเทศทั้งสิ้น 7,043 แห่ง มีเงินฝากรวมกันทั้งหมด จนถึงไตรมาส 4 ของปี พ.ศ. 2557 ทั้งสิ้นรวม 623,080 ล้านบาท โดยเป็นเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน 526,128 ล้านบาท สหกรณ์การเกษตรจำนวน 68,619 ล้านบาท สหกรณ์เครดิตยูเนียนจำนวน 21,382 ล้านบาท สหกรณ์นิคมจำนวน 3,867 ล้านบาท สหกรณ์บริการจำนวน 2,919 ล้านบาท สหกรณ์ร้านค้าจำนวน 58 ล้านบาท และสหกรณ์ประมงจำนวน 33 ล้านบาท (http://www.srusct.or.th/) ดังนั้นคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบสหกรณ์นั้นมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเห็นว่าจากสถิติตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปประเทศ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาล ทำให้ระบบสหกรณ์เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งในการสร้างพลังความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่มประชาชนหรือกลุ่มอาชีพ เป็นการเสริมสร้างพลังการต่อรองกับคนภายนอก แต่เนื่องจากโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการปฏิบัติงานที่ด้อยประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ระบบสหกรณ์ เกิดช่องโหว่ ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นกันอย่างง่ายดาย จากองค์กรที่มีอุดมการณ์ในการช่วยเหลือกันระหว่างคนภายในกลุ่มกลายเป็นแหล่งแสวงหารายได้ของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการทุจริต ซึ่งจะเห็นได้จากข่าวการฉ้อโกงประชาชน ของผู้บริหารสหกรณ์ โดยเป็นคดีที่โด่งดังและสร้างความกังวลใจให้กับสังคมและมวลหมู่สมาชิกของสหกรณ์มากที่สุด คือคดีของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 โดยเกิดจากเหตุการณ์ที่สมาชิกของสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด จำนวนมาก ไม่สามารถเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของตัวเองได้ เนื่องจาก พบว่าเกิดจากการทุจริตของผู้บริหารในระดับสูงของสหกรณ์ร่วมกับพรรคพวกได้เบิกจ่ายเงินของสหกรณ์อันเป็นเท็จ และตกแต่งบัญชีเพื่อปกปิดการทุจริตดังกล่าว (http://www.thairath.co.th/content/492634) สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลที่มีอาชีพเดียวกันหรือที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์ และให้กู้ยืมแก่สมาชิกเมื่อเกิดความจำเป็น ซึ่งถือเป็นแหล่งการลงทุนของสมาชิกเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และผลตอบแทนของเงินได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สหกรณ์ออมทรัพย์จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้สมาชิกเช่นเดียวกับสถาบันการเงินในรูปแบบอื่น ในเรื่องของความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สมาชิกให้ความสนใจอย่างมาก โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เปิดดำเนินกิจการนั้นต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ และดำเนินธุรกิจโดยให้สมาชิกสามารถกู้ยืมจากสหกรณ์ได้เมื่อเกิดความจำเป็นตามอุดมการณ์ในการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของกลุ่มคน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ และมีการระดมทุนจากสมาชิกโดยให้สมาชิกถือหุ้นและจ่ายเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิกเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนจากการถือหุ้นในอัตราตามที่กฎหมายกำหนดและให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยกรณีการรับฝากเงินจากสมาชิก รวมทั้งให้บริการด้านเงินกู้แก่สมาชิกตามความจำเป็น สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกของไทยนั้น จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มสมาชิกของข้าราชการสหกรณ์ และพนักงานธนาคารเพื่อการสหกรณ์ จดทะเบียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ 28 กันยายน 2492 ภายใต้ชื่อ สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้ ซึ่งถือว่าเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกของไทย และต่อมาได้มีการแพร่หลายไปในหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ซึ่งแนวทางของสหกรณ์นั้นจะทำให้สมาชิกได้รับประโยชน์ โดยเป็นแหล่งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้สมาชิกรู้จักเก็บออมเงิน และไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบ ทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงยิ่งขึ้น (http://www.srusct.or.th/ ) จากความสำคัญและปัญหาของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพผลการดำเนินงานและ เพื่อให้เกิดแนวทางในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ ให้สอดคล้องกับแนวคิดของสหกรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและสังคมของไทยในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 6.1 ศึกษาปัจจัยความมั่นคงทางการเงินเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของ สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย 6.2 ตรวจสอบความความสอดคล้องของปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย 6.3 ส่งสัญญาณเตือนภัยทางการเงินให้กับระบบของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย เพื่อใช้ ในการตัดสินใจ วางแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ขอบเขตของโครงการ :
7. ขอบเขตของโครงการวิจัย 7.1 ศึกษาปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ 16 จังหวัดภาค เหนือของประเทศไทย 7.2 ศึกษาโดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจทางการเงิน (CAMAL Analysis) โดยการ วิเคราะห์ ความพอเพียงของเงินทุน (capital adequacy) คุณภาพของสินทรัพย์ (asset quality) ความสามารถในการบริหาร (management competency) ความสามารถในการ สร้างรายได้ (earning ability) และ สภาพคล่อง (liquidity)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ: 11.1 ประโยชน์เชิงวิชาการ เป็นองค์ความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความมั่นคงในเชิงเศรษฐกิจ ของธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ดำเนินงานในรูปแบบของสถาบันทางการเงิน 11.2 ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารในธุรกิจโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งธุรกิจที่ดำเนินงานในรูปแบบของสถาบันทางการเงิน 11.3 ประโยชน์เชิงสังคมและชุมชน ทำให้สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้เสียของสหกรณ์ ออมทรัพย์ได้ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในฐานะผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรเพื่อร่วมกัน พัฒนาสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามอุดมการณ์ของการสหกรณ์ได้อย่างแท้จริง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
13. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล 13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือสหกรณ์ออมทรัพย์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 และสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ตามลำดับ ตาราง 1 สรุปจำนวนสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ที่ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 6 จำนวนสหกรณ์ 1 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พิษณุโลก 19 2 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อุตรดิตถ์ 9 3 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พิจิตร 5 4 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เพชรบูรณ์ 9 5 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครสวรรค์ 12 6 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กำแพงเพชร 6 7 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ตาก 8 8 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สุโขทัย 10 9 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แพร่ 9 10 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์น่าน 10 รวม 97 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 7 1 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงใหม่ 28 2 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย 10 3 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พะเยา 7 4 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลำปาง 11 5 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แม่ฮ่องสอน 5 6 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ลำพูน 12 รวม 73 รวมทั้งสิ้น 170 ที่มา: ระบบทะเบียนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (2558) การเลือกตัวอย่างการวิจัยโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (non probability sampling) โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเลือก (purposive sampling) จากกรอบของประชาการ สำหรับขนาดของตัวอย่างในการ ศึกษาใช้ตารางการกำหนดขนาดตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หรือยอมให้เกิดค่าคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 5 ได้ขนาดของตัวอย่างเท่ากับ 119 ตัวอย่าง 13.2 การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลแบบทุติยภูมิ (secondary data) โดยรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินและรายงานประจำปีของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 13.3 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยคือข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ที่เรียกว่า (CAMEL Analysis) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์ (ส่วนวิจัยและพัฒนาสารสนเทศทางการเงิน สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2548) และนำตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์ CAMEL มาทำการวิเคราะห์สรุปเพื่อยืนยันปัจจัยความมั่นคงทางการเงิน โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis--CFA)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ตปนียวรวงศ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru