รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Paraphrase Detection
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในทางการศึกษา และแวดวงด้านวิชาการ นักศึกษาและนักวิชาการนั้น จำเป็นต้องผลิตผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ระดับเบื้องต้น อย่างการทำแบบฝึกหัด หรือรายงานประจำในแต่ละวิชา ไปจนกระทั่ง การทำวิจัย การทำโครงงาน การแต่งและเรียบเรียงตำรา รวมไปถึงอื่น ๆ ที่เป็นการพัฒนาแวดวงวิชาการ อย่างไรก็ตาม ในการผลิตผลงานวิชาการนั้น อาจทำให้เกิดการทำซ้ำผลงานทางวิชาการขึ้นมาได้ เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบการทำซ้ำนั้นเป็นไปอย่างจำกัด เช่น เครื่องมือที่ใช้ยังไม่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือไม่ก็ยากต่อการเข้าถึงเครื่องมือ ดังนั้น จึงทำให้ ผู้ผลิตผลงานวิชาการเหล่านั้น ไม่ทราบว่า ตนเองได้ทำซ้ำบางส่วนผลงานวิชาการจากบุคคลอื่นหรือไม่ กอร์ปกับ มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการคัดลอกผลงานทำได้อย่างง่าย และสะดวกมากขึ้น ดังนั้นการจัดทำระบบการตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการ จะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบข้อความเอกสารงานวิชาการประเภทต่าง ๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษา และ นักวิชาการสามารถหลีกเลี่ยงการทำซ้ำผลงานวิชาการจากนักวิชาการทางอื่น และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างและคุ้มครองผลงานทางวิชาการได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อหาวิธีการตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อสร้างเครื่องมือให้กับนักวิชาการใช้ในการตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการ 3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟต์แวร์สำหรับการตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการ
ขอบเขตของโครงการ :
1. ประยุกต์ใช้กับเอกสารภาษาไทย 2. ใช้ทดสอบเบื้อต้นกับตัวอย่างเอกสารทางวิชาการภายใน ม.ราชภัฏนครสวรรค์เท่านั้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ด้านวิชาการ 1. ได้ผลงานวิชาการเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการ 2. การบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพอวเตอร์และทางด้านภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน 3. ได้เครื่องมือที่ใช้งานการตรวจหาการทำซ้ำผลงานทางวิชาการ เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาหรือแนะแนวการเขียนผลงานทางวิชาการประเภทต่าง ๆ 4. เกิดประโยชน์ในการพัฒนางานด้านวิชาการทั้งในตัวนักศึกษา และทางมหาวิทยาลัย เนื่องจากจะมีความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำกับงานวิชาการที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ใช้กระบวนการทางด้านภาษาธรรมชาติใช้ดำเนินการวิจัย โดยงานวิจัยจะประกอบไปด้วยส่วนประมวลผลก่อน สำหรับคำที่จะดำเนินการเปรียบเทียบเพื่อหาการทำซ้ำ และกระบวนการเชิงลึกทางคอมพิวเตอรื เพื่อใช้ในการประมวลผลส่วนที่เหลือประกอบไปด้วย 1. การตรวจสอบข้อความที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยใช้ Longest Commom Subsequence(LCS) 2. การตรวจคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยใช้วิธีการของ Wu และ Palmer 3. การตรวจหาความเหมือนกันของประโยค โดยใช้ Joint Metrix
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางปัทมนันท์ อิสรานนทกุล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%
2 นายถิรภัทร มีสำราญ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%
3 นายดนุวัศ อิสรานนทกุล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย