มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับแนะนำการใช้สมุนไพรไทยและยาสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาโรคโดยใช้ออนโทโลยีและภาษาธรรมชาติ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ปัจจุบันสมุนไพรได้รับความนิยมมากขึ้นและยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ บำรุงสุขภาพร่างกาย ช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ และนำมารักษาโรคอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากใช้ยาสมุนไพรอย่างถูกวิธีในประมาณที่เหมาะสมจะมีอันตรายหรือผลกระทบต่อร่างกายน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบันที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอลหากรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน อาจมีอันตรายต่อตับได้ ยารักษาโรคเกาต์ หากทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อไต เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อมูลสมุนไพรไทยที่นำเสนอตามเอกสารหรือในเว็บไซต์ที่ต้องป้อนคำค้นหาก็ยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่เชื่อมโยงกัน ทำให้เสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูลสมุนไพรจากหลายแหน่งเพื่อให้ข้อมูลการดูแลสุขภาพครบตามความต้องการ ซึ่งการดูแลสุขภาพ บำรุงร่างกายหรือรักษานั้นอาจต้องใช้สมุนไพรหลายชนิดประกอบกันในปริมาณที่เหมาะสม แต่ผู้ใช้ไม่สะดวกที่จะผสมตัวยาดังกล่าวและต้องการทราบเกี่ยวกับตัวยาสมุนไพรที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด เพื่อใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน เช่น ปวดหัวเป็นไขก็ใช้ยาคูลแคป (สมุนไพรฟ้าทะลายโจร) ของบริษัทซีเอพีพีกรุ๊ปแทนพาราเซตามอล ต้องการลดไขมันในเลือดก็ใช้กระเทียมแคปซูลของอภัยภูเบศร และยาชงสมุนไพรหญ้าหนวดแมวอภัยภูเบศรจะช่วยแก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ บำรุงไต ขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ เป็นต้น จากปัญหาที่กล่าวมานั้นผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดที่จะใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติในการวิเคราะห์คำถามจากการป้อนของผู้ใช้ร่วมกับระบบผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างคำตอบสำหรับแนะนำสมุนไพรไทยในการดูแลสุขภาพและรักษาโรคแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน รวมทั้งแนะนำยาสมุนไพรไทยที่บริษัทผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของแคปซูลหรือยาชงพร้อมดื่ม เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้ได้คำตอบในเว็บไซต์เดียว
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อออกแบบและพัฒนาออนโทโลจีในการจัดเก็บข้อมูลสมุนไพรไทยและยาที่ผลิตจากสมุนไพรไทย 2. เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมที่ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3. เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับแนะนำการใช้สมุนไพรไทยและยาสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาโรคโดยใช้ออนโทโลจีและภาษาธรรมชาติ ซึ่งจะให้คำตอบในครั้งเดียวและเชื่อมโยงข้อมูลสมุนไพรไทยกับยาที่ผลิตจากสมุนไพรได้อย่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน 4. เพื่อวัดประสิทธิภาพของการประมวลผลคำตอบด้วย F-Measure
ขอบเขตของโครงการ :
-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้องค์ความรู้ใหม่ทางด้านออนโทโลจีที่ใช้เก็บข้อมูลสมุนไพรไทยและยารักษาโรคที่ผลิตจากสมุนไพรไทย 2. ได้อัลกอริทึมที่ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลภาษาธรรมชาติ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดกับงานวิจัยอื่นในอนาคต 3. ได้ระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับแนะนำการใช้สมุนไพรไทยและยาสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาโรค
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
1. ขั้นเตรียมความพร้อม 2. ขั้นดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ออกแบบระบบ 3. ขั้นการพัฒนา ทดสอบระบบและบูรณาการองค์ความรู้ 4. ขั้นการสรุป วิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรูปเล่มวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายนฤพนธ์ พนาวงศ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru