รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้นำสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยพื้นฐาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในการพัฒนาชุมชนและสังคมนั้น สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคือ การพัฒนาคน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญของชุมชนและสังคม ดังนั้น ในการพัฒนาคนจะต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการพัฒนาความคิด ทักษะในการทำงาน ซึ่งในการพัฒนาดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องมีผู้รู้มาเป็นนำ เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ข้อเสนอ ข้อชี้แนะ ในด้านต่างๆ อันเป็นประโยชน์กับชุมชน และคนที่จะสามารถให้คำแนะนำ ข้อเสนอ ข้อชี้แนะในด้านต่างๆกับชาวชุมชนได้ จะต้องเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ศรัทธา ไว้ใจ เชื่อใจ ให้เป็นผู้นำของชุมชน มีเอกสารบทความของนักวิชาการหลายท่านที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของผู้นำว่าเป็นผู้ชี้ชะตาหรือเป็นผู้กำหนดทิศทางของชุมชน องค์กรฯให้ไปในทิศทางใดและจากการศึกษาเอกสารพบว่ามีผู้ให้คำนิยามเกี่ยวกับคำว่า “ผู้นำ” ไว้อย่างหลากหลาย อาทิ เทคนิคการสร้างภาวะว่า ผู้นำคือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับการยกย่องขึ้นเป็นหัวหน้าและเป็นผู้ตัดสินใจเนื่องจากเป็นผู้มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชาและจะนำพาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือหมู่ชนไปในทางดีหรือทางชั่วก็ได้ และ “ผู้นำ” คือผู้มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือคนอื่นและนำบุคคลเหล่านั้นไปโดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังได้รับความเคารพนับถือความร่วมมือและความมั่นใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านั้นอย่างจริงใจ (กิติ ตยัคคานนท์,2543,น.21)
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของผู้นำสภาองค์กรชุมชน ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา -ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของผู้นำสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อาทิ เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ อายุหรือวาระการเป็นผู้นำของสภาองค์กรชุมชน -ศึกษาเนื้อหาความต้องการพัฒนาตนเองของผู้นำสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตพื้นที่การศึกษา ขอบเขตการศึกษาเชิงพื้นที่ที่มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในตำบลในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีจำนวน 76 สภาองค์กรชุมชน (ข้อมูลจาก พอช.รายงานการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน.2555) ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัย ขอบเขตประชากร ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตประชากรที่เป็นผู้นำสภาองค์กรชุมชน จากจำนวน 76 สภาองค์กรชุมชน ในจังหวัดนครสวรรค์ที่มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน มีจำนวนคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 2,508 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยโดยใช้ตารางการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ของเครรซซี่และมอร์แกน (วาโร เพ็งสวัสดิ์.2550 : 87; อ้างถึงจาก Krejcie.R.V. and Morgan, D.W. 1970 : 608) จากประชากรทั้งหมด 2,508 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาวิจัย จำนวน 350 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้ข้อมูลความต้องการพัฒนาตนเองของผู้นำสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2.ได้ข้อมูลที่เป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองของผู้นำสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 3.ผลการวิจัยจะนำไปสู่การเผยแพร่ในวารสารต่างๆ 4.หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ (อบจ.)อบต. พัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีความต้องการมนุษย์ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง และแนวคิดทฤษฎีบุคลิกภาพและบทบาทผู้นำ แนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชน เอกสารและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นกรอบแนวคิดของการศึกษา 2.สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม 3.เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับในส่วนของการพัฒนาวิจัยต่อไป สถานที่ทำการทดลองเก็บข้อมู, ขอบเขตการศึกษาเชิงพื้นที่ที่มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในตำบลพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีจำนวน 76 สภาองค์กรชุมชน (ข้อมูลจาก พอช.รายงานจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน.2555)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายพรรณภัทร ใจเอื้อ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย