รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเพื่อรองรับโครงการการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Developing the competency of communities to adapt and respond to changes in the economy social and cultural to support the government's water administrative management project in the Mae Wong District, Nakhon Sawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
12 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำของไทยเกิดขึ้นได้จากความพร้อมของประเทศ ในการรับมือกับความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนของสถานการณ์น้ำ เช่นน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง ทั้งในระดับลุ่มน้ำและระดับชุมชน ในระดับลุ่มน้ำควรมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอและการบริหารจัดการที่ดี ส่วนในระดับชุมชนโดยเฉพาะชุมชนเกษตรควรได้รับการส่งเสริมให้มีความยืดหยุ่นต่อวิกฤตสถานการณ์น้ำ นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความแปรปรวนของปริมาณน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยที่ในแต่ละประเทศหรือภูมิภาคได้รับผลกระทบแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการรับมือของแต่ละประเทศจึงต่างกันออกไป สิ่งที่พบในประเทศไทยคือหลายพื้นที่ยังคงประสบทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่เดียวกันโดยเฉพาะในช่วง 9 ปีที่ผ่านมาปริมาณฝนรายปีมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่กระจุกตัวเฉพาะในบางเดือน ทำให้ปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งยังเกิดขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้น (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน), 2555) โดยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดพายุฝนมากกว่าปกติ ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นในหลายพื้นที่และส่งผลให้พื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดพิจิตรและจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งส่งผลกระทบให้ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับผลกระทบทั้งทางด้านทรัพย์สิน ร่างกาย และจิตใจเป็นอย่างมาก จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดนครสวรรค์นั้นมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม มี 10 อำเภอจาก 15 อำเภอ(66.67%) 79 ตำบลจาก 130 ตำบล(60.77%) 628 หมู่บ้านจาก 1,431 หมู่บ้าน(43.88%) 75 ชุมชน ราษฎรได้รับผลกระทบราว111,952 ครัวเรือน จาก 368,249 ครัวเรือน (30.40%) 352,752 คนจาก 1,073,200 คน(32.87%) ผู้เสียชีวิต 39 ราย(สำนักงานตรวจราชการที่ 18,2555) จากข้อมูลข้างต้นวิธีการแก้ปัญหาของภาครัฐจากกรณีแห้งแล้งคือการสร้างเขื่อนเพราะเชื่อว่าจะแก้ปัญหาน้ำได้ 2 ด้านคือน้ำแล้งและน้ำท่วมโครงการเขื่อนแม่วงก์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์กำลังหยิบยกมาแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ซึ่งหลังจากที่คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2555 เห็นชอบในหลักการให้มีการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยใช้งบประมาณ 13,000 ล้านบาท และใช้เวลาในการก่อสร้าง 8 ปีจะแล้วเสร็จในปี 2562 แต่ก็มีข้อคัดค้านจากมูลนิธิและสมาคมทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ พร้อมระบุเหตุผลคัดค้านว่าเขื่อนแม่วงก์ ด้วยเช่นกัน ประเด็นสำคัญที่ทำให้พื้นที่อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ต้องเผชิญกับความล่อแหลมและภัยอันตรายของอุทกภัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุทกภัย ความแห้งแล้งที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นปรากฏเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกที ซึ่งจากความเสียหายอันเนื่องมาจากปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้น จากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้น การจัดการปัญหาน้ำที่ไร้ประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบริหารจัดการอุทกภัยในอดีต มักให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดหรือเฉพาะด้าน โดยขาดความระมัดระวังในเรื่องผลกระทบต่อชุมชนเหนือน้ำและท้ายน้ำ การพัฒนาพื้นที่น้ำท่วมถึงเป็นพื้นที่เศรษฐกิจชุมชนเมืองโดยขาดความระมัดระวังและมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน คือเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำขนาดเล็กจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อปริมาณของน้ำท่วมสูงสุด กลไกการบริหารจัดการภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวให้ตอบสนองต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างจริงจัง ดังนั้นการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเพื่อรองรับโครงการการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบรรเทาผลกระทบและความเสียหายจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำแล้งและเสริมสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ การวิเคราะห์ชนิดและความรุนแรงของภัยด้านน้ำระดับพื้นที่จะช่วยในการวางนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียทางด้านร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สินของชุมชนได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนและผลกระทบจากสถานการณ์การเกิดอุทกภัยซ้ำซากและ และการเกิดขึ้นของโครงการการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ 6.2) เพื่อศึกษาถึงการรับรู้และกระบวนการปรับตัวลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน 6.3) เพื่อศึกษาการจัดการองค์ความรู้ที่มุ่งหวังเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานในระดับท้องถิ่นและภาคประชาชนให้มีความสามารถในการวางแผนและปรับตัวต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน
ขอบเขตของโครงการ :
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
11.1 ทำให้ทราบถึงลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านตลอดจนผลกระทบ และปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 11.2 ทำให้เกิดความเข้าใจและทราบถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ทางสังคมที่ชุมชนนำมาใช้ในกระบวนการปรับตัวเพื่อรองรับโครงการการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ 11.3 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนงาน ในการพัฒนาชุมชนในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และในระดับจังหวัดที่มีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายกัน 11.4 ใช้เป็นแนวทางเรียนรู้ถึงความหลากหลายของการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในบริบทชุมชนที่มีความผู้พันกับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนได้ 11.5 เพื่อเป็นแนวทางการสร้างขีดความสามารถชุมชนเพื่อให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงไปจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมเพื่อรองรับโครงการการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวสิริกาญจน์ สิงห์ทองชัย นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวปรียานันท์ โพธิ์ศิรวัฒน์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นางสาวชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
4 นางกาญจนา สดับธรรม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย