รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การบูรณาการเครื่องมือสื่อสารการตลาดให้กับธุรกิจท่องเที่ยว: การพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากสื่อสัญลักษณ์เพื่อสร้างความจดจำและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว 15 อำเภอ ในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Integrated Marketing Communication in Tourism: To Development of Souvenir Products from Mascots to Create the Recognition and Promote the Tourist Attraction of Fifteen Amphurs, Nakhon Sawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
12 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบสัญลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยวให้เหมาะสม เข้ากับแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 15อำเภอ โดยใช้พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้นแบบในการศึกษา 2) เพื่อหารูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของชุมชน 15อำเภอ โดยใช้พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้นแบบในการศึกษา ให้นักท่องเที่ยวจดจำในรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวโดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่โดดเด่นและเหมาะสมกับ จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
การวิจัยเรื่องนี้ ทำการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และปริมาณโดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งกำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้ ขอบเขตของการวิจัยด้านพื้นที่ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยด้านพื้นที่คือ ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตของการวิจัยด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว ขอบเขตของการวิจัยด้านการออกแบบสื่อสัญลักษณ์ ขอบเขตของการวิจัยด้านรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
11.1 เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนของคนในชุมชนเพื่อร่วมมือกันพัฒนาท้องถิ่น 11.2 จดสิทธิบัตรการออกแบบสื่อสัญลักษณ์และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 11.3 มีต้นแบบสินค้าที่ระลึกของ จังหวัดนครสวรรค์จัดจำหน่าย 11.4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถนำสื่อสัญลักษณ์ไปส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         กระบวนการในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. การศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ (Primary data) และทุติยภูมิ (Secondary data) 1.1 ศึกษาหาเอกลักษณ์ของป้ายสัญลักษณ์และสื่อสัญลักษณ์ โดยศึกษาจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพถ่าย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห้องสมุด สำนักวิทยาบริการของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงข้อมูลที่เป็นเอกสารจากชุมชนหรือพื้นที่ รวมไปถึงศึกษาข้อมูลจากเว็บไซท์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด อาทิ หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด นครสวรรค์ 1.2 ศึกษาการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์โดยที่มาของข้อมูล ได้มาจากแหล่งทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาแล้วเป็นส่วนใหญ่ 1.3 สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และคนในชุมชน ในแต่ละแหล่งท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด นครสวรรค์ เพื่อนำข้อมูลต่างๆนำมาประมวลหารูปแบบและเทคนิควิธีการในการออกแบบสื่อสัญลักษณ์และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้เหมาะสมกับสถานที่ท่องเที่ยว 2. การวิเคราะห์ข้อมูลภาคเอกสาร นำเอาข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากชุมชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัด นครสวรรค์ นำไปการวิเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์และออกแบบ โดยนำเอาข้อมูลต่างๆนำมาประมวลหารูปแบบและเทคนิควิธีการในการออกแบบสื่อสัญลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว 3. การวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนาม เป็นการรวบรวมหาข้อมูลความเห็นและความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชนนั้นๆ ที่มีต่อต้นแบบของสื่อสัญลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว โดยใช้กระบวนการประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วม (PRA-Participatory Rural Appraisal) เพื่อสรุปหาแนวทางการออกแบบสื่อสัญลักษณ์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) และทำความเข้าใจความหมายโดยวิทยากรที่มีความรู้ด้านการท่องเที่ยวและการออกแบบทัศนศิลป์ จากนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็นวางแผนแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยยึดหลักรูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป รัฐวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าของชุมชน ทั้ง สิ้น15 ตำบลในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมด 15 อำเภอ เลือกสื่อสัญลักษณ์นำมาออกแบบ โดยมีกระบวนการดังนี้ 3.1 การใช้แบบสอบถามและแบบตรวจสอบ (Questionnaire & Checklist) 3.2 การสัมภาษณ์ (Interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นจากความคิดเห็น นำมาพิจารณาและ เป็นแนวทางในการออกแบบให้เหมาะสม 4. ทำการออกแบบ โดยทีมงานออกแบบสื่อสัญลักษณ์และผลิตผลิตภัณฑ์ 4.1 ขั้นวางแผนการออกแบบ (Planning) ศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 ขั้นเตรียมการผลิต (Preproduction) นำข้อมูลมาดำเนินการหารูปแบบที่เหมาะสมด้วยการ สร้างแบบร่าง (Sketch Design) และศึกษารายละเอียดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะนำมาใช้ในการ ออกแบบ 4.3 ขั้นการผลิต (Production) นำแบบร่างที่ได้มา สร้างสรรค์งานด้วยกระบวนการทางคอม พิวเตอร์โปรแกรม Adobe Photoshop และ Illustrator 4.4 ขั้นบันทึกข้อมูลรวมรวมผลงานเป็นภาคเอกสารและจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ CD-ROM 5. การประเมินผลงานออกแบบ การนำเสนอผลงานออกแบบได้แก่ ชุดสื่อสัญลักษณ์และผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแสดงแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองจังหวัด นครสวรรค์ และแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน เพื่ออภิปราย วิเคราะห์และสรุปผล 6. ผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและดำเนินงานด้านการตลาด หลังจากได้ปรับปรุงแบบผลิตภัณฑ์จากข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ท่านแล้ว ทีมงานฝ่ายผลิตเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและฝ่ายการตลาดเริ่มวางแผนการดำเนินงานด้านการตลาด 7. จัดจำหน่ายต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จัดจำหน่ายต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ณ จุดจำหน่ายของฝากในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 8. การรวบข้อมูลทางด้านการตลาด สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการรวบรวมหาข้อมูลความต้องการที่แท้จริง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้ซื้อของที่ระลึก รวมถึงผลกระทบของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อสัญลักษณ์ด้านสร้างการจดจำในแต่ละแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 200 คน โดยมีกระบวนการดังนี้ 8.1 การใช้แบบสอบถามและแบบตรวจสอบ (Questionnaire & Checklist) 8.2 การสัมภาษณ์ (Interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นจากความคิดเห็น นำมาพิจารณาและเป็นแนวทางในการออกแบบให้เหมาะสม 8.3 สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ตามวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการวิจัย พร้อมจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางพงษ์ทอง เฮครอฟท์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย