มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Handicraft Product Development from Local Heritage Textile Woven Cloth BannJansen at Takhlee District, Nakhon Sawan
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
12 กุมภาพันธ์ 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
11 กุมภาพันธ์ 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ เป็นงานหัตถกรรมที่มีความสวยสดงดงาม จัดเป็นงานปราณีตศิลป์ที่มีคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งสร้างสรรค์จากประสบการณ์และถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรูปแบบลวดลายศิลปะสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ต้องผ่านการเลือกสรรวัสดุที่ใช้เป็นเส้นใย กรรมวิธีการทำเส้นด้าย การย้อมสี การออกแบบรูปแบบศิลปะลวดลาย ไปจนถึงการพัฒนาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ และกรรมวิธีการทอ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และสืบทอดต่อ ๆ กันมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน จนเกิดเป็นผ้าทอพื้นเมืองไทยที่มีรูปแบบลวดลาย สีสัน และเทคนิคการทอที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองตามแต่ละท้องถิ่น ผ้าทอพื้นเมืองของไทยจึงถือเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าคู่ควรต่อการสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้สืบต่อไปอีกนานเท่านาน ผ้าจันเสน เป็นผ้าทอพื้นเมืองโบราณของชาวบ้านจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองโบราณที่มีมาตั้งแต่ในสมัยทราวดี (พ.ศ.1143-1343) และยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้จวบจนถึงปัจจุบัน โดยมีท่านพระครูนิวิฐธรรมขันธ์ เจ้าอาวาสวัดจันเสน ได้ตระหนักเห็นคุณค่าความสำคัญของผ้าทอมือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยอันล้ำค่าที่ต้องการอนุรักษ์สืบทอดต่อไป จึงหาผู้รู้ในเรื่องการทอผ้าให้ความรู้ต่อผู้ที่สนใจเรื่องทอผ้า และเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านที่ว่างจากการทำเรือกสวนไร่นา เพื่อให้หันมายึดอาชีพการทอผ้าเป็นอาชีพเสริมหารายได้เพิ่ม โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาทอผ้าในกลุ่ม โดยท่านพระครูนิวิฐธรรมขันธ์ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องจัดหาบุคลากร ทุนทรัพย์ และสถานที่ แล้วจัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านจันเสนขึ้น และได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพระครูนิวิฐธรรมขันธ์ให้ใช้อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดจันเสนเป็นที่ดำเนินการกลุ่มจนถึงทุกวันนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ เป็นส่วนหนึ่งในสาขางานฝีมือ หัตถกรรม และการออกแบบ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรวบรวมสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นบ้านจันเสน จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพการทอผ้ากี่กระตุกของชุมชนให้เป็นอาชีพเสริมรายได้พิเศษของครอบครัว โดยมีการเพิ่มผลผลิตออกจำหน่ายตามร้านค้าและแหล่งชุมชนใกล้เคียง แต่ผลผลิตดังกล่าวยังไม่เป็นที่รู้จักของกลุ่มชนโดยเฉพาะลูกค้าและผู้สนใจทั่วไปนัก เนื่องจากมีการเน้นการผลิตเป็นผ้าผืนทั้งผ้าพื้นและผ้าลาย ซึ่งนอกจากจะมีการนำผ้ามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแล้ว ก็ยังมีการนำผืนผ้ามาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์หรืองานหัตถกรรมอื่น ๆ เช่น หมอนอิง กระเป๋า ย่าม แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักมากนัก อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดและปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังมีรูปแบบให้ผู้ที่พบเห็นได้เลือกไม่มากนัก และในการสร้างองค์ประกอบของการจัดวางลวดลายผืนผ้าบนผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแปลกใหม่ ความน่าสนใจและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตยังคงใช้รูปแบบเดิมที่ลอกเลียนแบบจากผลิตภัณฑ์ของแหล่งผลิตอื่นซ้ำๆ กัน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ซึ่งหากมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มีองค์ประกอบศิลป์ในการจัดวางรูปแบบ ลวดลาย สีสัน และพื้นที่ว่าง บนผลิตภัณฑ์ จะยิ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านจันเสน สร้างความแปลกใหม่และเป็นที่น่าสนใจของผู้บริโภค ส่งผลให้เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย จากความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัยจะเห็นได้ว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ควรได้รับการพัฒนา คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นแนวทางในนำผลการวิจัยไปเผยแพร่หรืออบรมให้แก่ผู้ผลิตได้รับองค์ความรู้ ทักษะ วิธีการและกระบวนการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถนำทฤษฎีหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมือง ทฤษฎีการจัดองค์ประกอบศิลป์ และทฤษฎีของสีและการใช้มาใช้ในการจัดวางลวดลายบนผลิตภัณฑ์อย่างสวยงามเหมาะสม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณให้มีรูปแบบลวดลายที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่เป็นรูปธรรม ช่วยแก้ปัญหา พัฒนา และส่งเสริมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณให้มีศักยภาพสูงขึ้น เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตในชุมชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนเป็นแนวทางในการช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณของชุมชนบ้านจันเสนให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รวมทั้งเสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้ ความเป็นอยู่ดีและมั่นคงขึ้น ตลอดจนช่วยอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 6.2 เพื่อพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 6.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ 6.4 เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์จากงานพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 6.5 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากงานพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยประยุกต์เชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม โดยมุ่งศึกษารวบรวมความต้องการของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ บ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สู่การพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ รูปแบบลวดลายใหม่ตามที่ชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคต้องการ โดยเน้นการวิจัยประยุกต์เชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลของการวิจัยได้จากแบบสอบถามความต้องการของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณ แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณที่พัฒนาขึ้นใหม่ และแบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากงานพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณบ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหาที่จะพัฒนา ดังนี้ 7.1 รูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณบ้านจันเสนดั้งเดิมที่ปรากฏอยู่ในชุมชนท้องถิ่นบ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 7.2 รูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณบ้านจันเสนที่ผู้วิจัยออกแบบพัฒนาเป็นลักษณะรูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณบ้านจันเสนใหม่ ประเภทเคหะสิ่งทอ เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง หมอนอิง เบาะรองนั่ง ผ้าคลุมโทรทัศน์ ประเภทของใช้ เช่น กรอบรูป กล่องกระดาษทิชชู ปลอกหุ้มสายรัดเข็มขัดนิรภัย ที่รองแก้ว/ จาน ประเภทของชำร่วย เช่น กระเป๋าใส่นามบัตร ซองใส่โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ 7.3 วิธีการและกระบวนการรูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณบ้านจันเสน ยึดหลักตามทฤษฎีหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมือง ทฤษฎีการจัดองค์ประกอบศิลป์ และทฤษฎีของสีและการใช้ เป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดลักษณะรูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณบ้านจันเสนใหม่ 7.4 การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะใช้กลุ่มผู้ผลิตในชุมชนบ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ในการวิจัยครั้งนี้ คาดว่าจะได้ 11.1 ได้รูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน ให้มีรูปแบบลวดลายที่หลากหลาย เป็นเอกลักษณ์เอกลักษณ์ของท้องถิ่น 11.2 การจดสิทธิบัตรรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนที่พัฒนาขึ้นใหม่ 11.3 เป็นแนวทางในการวิจัยครั้งต่อไป เพื่ออบรมเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองให้กับกลุ่มผู้ผลิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนำทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในวิธีการและกระบวนการออกแบบรูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนใหม่ ๆ ได้ตามความต้องการ 11.4 มีคุณค่าทางวิชาการต่อวงการการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมือง และวงการทั่วไป 11.5 ชุมชนและผู้บริโภคเห็นถึงคุณค่าของรูปแบบลวดลายหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น 11.6 ผลการวิจัยช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการออกแบบ โดยยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เพิ่มมูลค่าการผลิตและปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น และมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น 11.7 ผลการวิจัยเป็นแนวทางพื้นฐานของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับงานหัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองของชุมชนท้องถิ่น ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
วิธีการดำเนินการวิจัยมี ดังนี้ 13.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 13.1.1 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ได้คัดเลือกแหล่งผลิตที่เกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลภายในชุมชนบ้านจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีความต้องการพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน และมีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุม (มผช.) 13.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านจันเสน ตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 13.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 13.2.1 แบบสอบถามความต้องการของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน 13.2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนที่พัฒนาขึ้นใหม่ 13.2.3 แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากงานพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน 13.2.4 เทปบันทึกเสียง เพื่อใช้สำหรับบันทึกเสียงคำสัมภาษณ์เกี่ยวกับบริบทชุมชน สภาพปัญหาเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการผลิตผ้าจันเสน รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตกรรม 13.2.5 กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้บันทึกภาพรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน วิธีการและกระบวนการผลิต ตัวอย่างการพัฒนารูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน และต้นแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง แม่นยำ 13.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 13.3.1 ศึกษาและรวบรวมรูปแบบลวดลายศิลปะผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน จากเอกสาร ตำรา นิตยสาร และอินเตอร์เน็ต ตลอดจนสอบถามจากปราชญ์ชาวบ้านในการทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนของชุมชนและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ผลิตและผลงานการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน และพูดคุยสอบถามกับผู้รู้และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนโดยตรง โดยการสัมภาษณ์ขั้นต้นอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสอบถามถึงปัญหาต่าง ๆ ที่พบเห็นและประสบปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบถึงลักษณะรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน แล้วเชื่อมโยงองค์ความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมือง และทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการออกแบบรูปแบบสิ่งทอพื้นเมือง สถานภาพของชุมชน 13.3.2 การศึกษาเพื่อจัดระบบและประเด็นตามกรอบแนวคิด 13.3.3 การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการลงมือปฏิบัติการจริงโดยผู้วิจัย กลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มผู้บริโภค ทำให้ได้รูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสน จากนั้นเก็บข้อมูลเชิงลึกโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของชุมชนบ้านจันเสนและผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนที่พัฒนาขึ้นใหม่ จนได้รูปแบบลวดลายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้าทอพื้นเมืองโบราณชุมชนบ้านจันเสนที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชน 13.4 วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยพร้อมให้ข้อเสนอแนะ โดยการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้ง 2 ขั้นตอน โดยจำแนกให้เห็นประเด็นต่าง ๆ ในการพัฒนาตามวัตถุประสงค์การวิจัย 13.5 นำเสนอผลการวิจัย และรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ พร้อมทั้งพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ต่อไป 13.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวสายชลี ชัยศาสตร์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru