รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestri
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Inhibition of Xanthomonas campestris – caused plant diseases by some medicinal plant extracts
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 มกราคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
1 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกพืชเพื่อส่งออกและให้เพียงพอกับ ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศซึ่งในการเพาะปลูกปัญหาหนึ่งที่พบคือโรคพืชซึ่งเกิดจาก จุลินทรีย์แบคทีเรียเชื้อราไวรัสไส้เดือนฝอยเป็นต้นเพื่อให้ทันต่อการส่งออกเพิ่มผลผลิต เกษตรกรจึงนิยมใช้ยำฆ่าแมลงสารเคมีในการยับยั้งเชื้อก่อโรคต่างๆเหล่านี้ซึ่งในเขตนครสวรรค์และ จังหวัดใกล้เคียงเป็นศูนย์กลางการส่งออกข้าวปริมาณสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศรวมทั้งพืชผล ทางการเกษตรอื่นๆเช่นมันสำปะหลังพืชผักอำทิเช่นพืชในตระกูลกะหล่ำต่างๆอย่างไรก็ตามมี ปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมต่อการเกิดโรคในพืชมากมายที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจานวนและการก่อโรค สภาพแวดล้อมความรุนแรงของเชื้อและระยะเวลาที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายเพิ่มจานวนได้รวดเร็วใน ประเทศไทยเชื้อXanthomonascampestrispathovarเป็นอีกหนึ่งเชื้อที่มีรายงานการก่อโรคในพืช หลายชนิดมีความสามารถในการเข้ำทำลายพืชได้มากกว่า300ชนิดเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมเอื้ออำนวยต่อการเจริญของเชื้อรวมทั้งมีความสามารถในการต้านทานสารเคมีในการยับยั้ง เชื้อชนิดนี้อีกด้วย(ณัฏฐิมา,2534;สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว,2556;SwingsandCiverolo,1993) เชื้อXanthomonascampestrisเป็นเชื้อที่พบการก่อโรคพืชในนำข้าวทำให้เกิดโรคขอบใบ แห้งใบขีดโปร่งแสงนอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อชนิดนี้เป็นสาเหตุโรคใบจุดในผักบุ้งจีนหอมหม่อนผักชี ฝรั่งพริกคะน้ำและมะเขือเทศโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองใบจุดเหลืองฝ้ำยใบไหม้มันสำปะหลังสาเหตุ โรคเน่าดำกะหล่ำขอบใบทอง(blackrot)ในกะหล่ำและผักกาดต่างๆ(พัฒนาและคณะ,2537;ปิย รัตน์และคณะ,2553)ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกรเสียรายได้และการที่เกษตรกรใช้สารเคมี เพื่อยับยั้งเชื้อเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระยะยาวก่อให้เกิดสารพิษจาก สารเคมีตกค้างในพื้นที่การเกษตรไหลลงสู่แหล่งน้ำเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้อุปโภคบริโภคหรือ สัมผัสสารเคมีตกค้างซึ่งจะเกิดการสะสมส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวเกิดปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามมารวมทั้งเกิดการดื้อต่อสารเคมีในการยับยั้งโรคพืชที่เพาะปลูกด้วย ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชำติเป็นแหล่งต้นน้ำรวมทั้งมี วนอุทยานพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงความหลากหลายของสมุนไพรเหล่านี้มี สรรพคุณมากมายมักออกฤทธิ์ที่จาเพาะเจาะจงต่อเชื้อก่อโรคพืชสลายตัวได้เองตามธรรมชำติไม่ เกิดการสะสมตกค้างรวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยเฉพาะในมนุษย์งานวิจัยนี้มุ่งเน้น ศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียงนำมาทำการสกัด สารทดสอบการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียXanthomonascampestrisซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการ ก่อโรคพืชในข้าวมันสำปะหลังและพืชผักตระกูลกะหล่ำและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีลดการสะสมสารพิษตกค้างทางการเกษตรและเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การซื้อสารเคมีไม่ให้เกิดการสะสมในแหล่งเกษตรกรรมเป็นการรักษาสภาพต้นน้ำและเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานีหรือชัยนาท 2เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งโรคพืชในข้าวมันสำปะหลังและตระกูลกะหล่ำที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestris
ขอบเขตของโครงการ :
1ประชำกรที่ศึกษาคือพืชสมุนไพรได้แก่โมกราชินีสังกรณีตำแยแมวโด่ไม่รู้ล้มชะมวงอรพิมคนทำแฮ้มฮ่อสะพายควายฟักข้าวหางไหลขาวเป็นต้น 2ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestrisในข้าวมันสำปะหลังและตระกูลกะหล่ำ 3การจัดการองค์ความรู้ความหลากหลายของพืชสมุนไพรด้วยการเผยแพร่ความรู้และ ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชในรูปแบบหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์หรือจัดอบรมณศูนย์การเรียนรู้แก่ชุมชนหรือสถานศึกษา 4ช่วงเวลาของการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม2557–เดือนกันยายน2558 5ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 5.1พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานีหรือชัยนาท 5.2ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานีหรือชัยนาท 5.3โรคพืชที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestrisในข้าว,มันสำปะหลังและตระกูลกะหล่ำ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1 เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี หรือชัยนาท 2 เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งโรคพืชในข้าว ส้มโอ มะนาว และ กะหล่ำ ที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ทำการเก็บตัวอย่างและทำการเตรียมสารสกัดสมุนไพร:สกัดสารสกัดด้วยตัวทำละลาย ต่างๆและนำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องrotaryevaporatorก่อนทำให้แห้ง 2.การแยกเชื้อก่อโรคพืช:ทำการเก็บตัวอย่างพืชที่เป็นโรคในข้าวมันสำปะหลังและ ตระกูลกะหล่ำจากนั้นทำการแยกเชื้อโดยการเจือจางลำดับส่วนและทำการเพาะเชื้อใน อำหารnutrientagar(คณำจารย์,2544) 3.จัดจำแนกและตรวจสอบคุณลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวเคมีของเชื้อก่อโรคจาก แบคทีเรีย 4.ทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทดสอบด้วยวิธีagardisc diffusion 5.หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมุนไพรที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ทดสอบ(minimalinhibitingconcentration,MIC)(นฤมล,2549) 6.หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมุนไพรที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทดสอบ (minimalbactericidalconcentration,MBC)(นฤมล,2549) 7.ทดสอบผลของสารสกัดสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทดสอบต่อ หน่วยเวลา(time-killcurveassay)(ฉวีวรรณ,2553) สถานที่ทำการทดลอง -ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสำขำชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพคณะวิทยาศำสตร์และ เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวเรณู อยู่เจริญ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 60%
2 นายธีระยุทธ เตียนธนา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 40%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย