รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดตามแบบ rotary เพื่อช่วยลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน(aflatoxin)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development of corn rotary type dryers to reduce moisture and aflatoxin
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มอาเซียนที่มีอาชีพเกษตรกรรมที่ทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ ในส่วนของข้าวโพดประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาคจังหวัดที่ผลิตข้าวโพดมากในแต่ละภาค เรียงตามปริมาณการผลิตมากไปหาน้อยดังนี้ ภาคกลาง มี เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครสวรรค์ สระบุรี พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย และปราจีนบุรี ภาคเหนือ มี แพร่ น่าน เชียงราย และเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี นครราชสีมา ศรี-สะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น และชัยภูมิ ภาคใต้ ปลูกมากที่ สงขลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ในส่วนของจังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ อาชีพของประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ได้จากผลิตผลทางด้านการเกษตร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมปลูกข้าวโพดเนื่องจากการลงพื้นที่สำรวจสอบถามข้อมูลของชาวบ้าน ต.ยางตาล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ดังภาพที่ 1 พบว่าชาวบ้านจะนำข้าวโพดไปขายยังพอค้าคนกลางแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ขายชนิดฝักและสีเมล็ดอยู่ที่กิโลกรัมละ 4-5 บาท และ 5.5 บาทตามลำดับซึ่งราคาตกต่ำมาก เพราะเกษตรกรไม่มีไซโลเก็บในหน้าฝน ทำให้ข้าวโพดมีความชื้นสูงและมีเชื้อรา หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า อะฟลาทอกซิน (aflatoxin) การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซินในผลิตผลเกษตร ที่เป็นทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์เป็นปัญหาที่สำคัญมากเพราะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงคือทำให้ผลิตผลเกษตรเสียหาย มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ราคาตกต่ำ สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพต่ำ หรือตายเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญประชาชนที่บริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษเข้าไปอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผลกระทบทางอ้อม คือการนำเอาปริมาณการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ทำให้ไม่สามารถส่งออกได้ และทำให้มูลค่าทางการตลาดของผลิตผลลดลงด้วย จากผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยมีแนวคิดในการการพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อช่วยลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน(aflatoxin) เพื่อลดปัญหาดังที่กล่าวมาในข้างต้นและช่วยเหลือชาวบ้านให้ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และยังสามารถที่จะควบคุมมาตราฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการ ได้ตามแนวยุทธศาสตร์ของจังหวัดอีกทางหนึ่ง คือ 1. ให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 2. ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลตอบแทน 3. ทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง 4. ลดการย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานทำ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดแบบ rotary เพื่อช่วยลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องอบข้าวโพด 3. เพื่อลดความชื้นและการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินในข้าวโพด
ขอบเขตของโครงการ :
ในการศึกษาวิจัย การศึกษาและการพัฒนาเครื่องอบข้าวโพดแบบ rotary เพื่อช่วยลดความชื้นและสารปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินมีขอบเขตการวิจัยดังต่อไปนี้ ขอบเขตเนื้อหา 1. พืชไร่ 1.1 ข้าวโพด 1.2 รูปแบบการทดสอบ 2. รูปแบบการอบข้าวโพด 2.1 ส่วนของนักวิชาการ - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการอบข้าวโพด 2.2 ส่วนของเกษตรกรหรือผู้สนใจทั่วไป - รู้จักคุณสมบัติและการใช้งานของเครื่องอบ - รู้จักกระบวนการอบข้าวโพด 2.3 ส่วนของผู้พัฒนาระบบ - พัฒนาและปรับปรุงระบบการอบข้าวโพดเพื่อลดความชื้นและสารอะฟลาทอกซิน ขอบเขตพื้นที่ พื้นที่บ้าน ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ขอบเขตเวลา ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัย 1 ธันวาคม 2557 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558 เป็นระยะเวลา 1 ปี ขอบเขตประชากร เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานในพื้นที่ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายอำนาจ ประจง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายอนุสรณ์ สินสะอาด นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%
3 นายเทิดพันธุ์ ชูกร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
4 นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย