มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของการเรีย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Conservation and Development Folk Music Cultural based on Learning Community
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ผลของการพัฒนาประเทศชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้การเกิดละเลยองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในท้องถิ่น การละเลยระบบสังคมวัฒนธรรม ตลอดจนขาดข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเพื่อกำหนดผลลัพธ์ของการพัฒนา ด้วยสภาพดังกล่าวผนวกกับในสภาวการณ์ปัจจุบันสังคมไทยได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลายของวัฒนธรรมโลกในศตวรรษที่ 21 หรือสังคมยุคโลกาภิวัตน์ และกำลังก้าวเข้าสู่สังคมประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งนี้เนื่องจากการเปิดรับการอพยพย้ายถิ่นไปมาระหว่างชนชาติต่างๆทั่วโลกอย่างอิสระ ส่งผลให้ค่านิยมต่างๆของคนไทยในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้มีการปรับหรือปรุงแต่งให้เข้ากับภูมิปัญญาไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดปฏิกิริยาในหมู่ผู้ที่รักและรู้คุณค่าในศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยอยู่ในชุมชน นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ชุมชนชนบทประสบปัญหาชุมชนล่มสลายและวัฒนธรรมชุมชนถูกทำลาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 66 ให้สิทธิบุคคลและชุมชนมีสิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ ดนตรีพื้นบ้านเป็นศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่แฝงอยู่ในรูปของการละเล่นของไทย ที่นับวันจะตายไปหรือกลายเป็นรูปไปเป็นอย่างอื่น แม้ปัจจุบันจะมีการส่งเสริมฟื้นฟูขึ้นมาบ้างแต่นั่นเป็นแต่เพียงการ “แสดง” เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค แม้แต่สถาบันการศึกษาได้นำเอาดนตรีพื้นบ้านมาบรรจุในหลักสูตรแต่ก็เป็นเพียงการศึกษา “เพื่อรู้” มากกว่า “เพื่ออนุรักษ์” คือรู้แล้วก็ปล่อยทิ้งไป เพราะไม่อาจทวนกระแสความรู้สึกตามค่านิยมของคนปัจจุบันได้ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมสูง อาทิเช่น วัด แหล่งโบราณสถานต่างๆ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมประเพณี และงานประเพณีที่ยังคงสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านที่โดดเด่นและปรากฏชัดในจังหวัดนครสวรรค์ เช่น กลองยาว และเพลงพื้นบ้าน จัดได้ว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับวิถีของชุมชนอย่างแน่นแฟ้น กล่าวคือมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เช่น การตีกลองยาวบรรเลงในประเพณีพิธีกรรม ตลอดถึงการละเล่นเพลงพื้นบ้านทั่วไป จากสภาวะสังคมที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีของชุมชนต่อกระแสทุนนิยมโลก การดำรงตนอย่างมีพลวัตนับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นและสังคม ดังนั้นการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อพัฒนาให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา โดยบูรณาการแนวคิดด้านสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การคิดเชิงระบบ การจัดการความรู้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน อันเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านดำรงอยู่ รวมถึงการพยายามสร้างวัฒนธรรมจากคุณค่าทางสังคมให้เกิดมูลค่าและคุณค่าทางสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกหน่วยงานหรือทุกคนควรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดให้เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นและประจำชาติไทยให้ยั่งยืนสืบทอดและเป็นที่รู้จักของคนรุ่นต่อไป อันนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมฐานความรู้ในทุกระดับ และสร้างความพร้อมของชุมชนสังคมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษารวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านของจังหวัด นครสวรรค์ 2. เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดนครสวรรค์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอท่าตะโก อำเภอชุมแสง อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านยังปรากฏอยู่ ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. สำรวจวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลและแผนที่วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน 2. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของชุมชนด้านวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน 2. การสร้างกลุ่ม/เครือข่ายวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านและแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน 3. พัฒนาคนในชุมชนให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ทางดนตรีพื้นบ้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การตีกลองยาว การขับร้องเพลงพื้นบ้าน การซ่อม/ สร้างเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ขอบเขตด้านเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายภิญโญ ภู่เทศ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru