รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development Dual-system dryers of Thai vermicelli noodle to prolong shelf life
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ขนมจีนเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลาช้านานโดยเฉพาะในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่ง ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น จะต้องมีขนมจีนเป็นอาหารหลักอยู่ในงานนั้นๆ ขนมจีน เป็นอาหารคาวประกอบด้วยเส้นเรียกว่า เส้นขนมจีนและมีน้ำยาขนมจีนที่จะต้องรับประทานร่วมกัน ขนมจีนเป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย แต่มีการปรุงน้ำยาแตกต่างกันแม้ว่าขนมจีนจะมีคำว่า "ขนม" แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขนมใดๆ ขณะเดียวกัน แม้จะมีคำว่า "จีน" แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารของจีน ภาษาเหนือเรียกว่า ขนมเส้น ภาษาอีสาน เรียกว่า ข้าวปุ้น จะมีขนมจีนชนิดหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับขนม คือ ขนมจีนซาวน้ำ เพราะมีรสหวาน ขนมจีนเป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้หลากหลายไม่จำเป็นต้องบริโภคกับน้ำยาขนมจีนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถรับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่นได้ เช่น ส้มตำ แกงเขียวหวาน รวมถึงรับประทานกับน้ำปลาซึ่งเป็นที่นิยมของเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ขนมจีนเป็นอาหารประเภทแป้งที่ผ่านกระบวนการหมักทำให้ขนมจีนมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นเพียง 1-2 วัน ในเมื่อผลิตขนมจีนมาเพื่อจำหน่ายหรือบริโภคถ้าเหลือก็จะเกิดการบูดเน่าเสียในที่สุด ดังนั้น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 8 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จึงมีแนวคิดที่จะหาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาขนมจีนให้นานยิ่งขึ้นด้วยการนำมาทำขนมจีนแห้ง การทำขนมจีนแห้งของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์จะใช้วิธีการตากโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ เพราะเป็นวิธีดั้งเดิมแต่โบราณและยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการตาก แต่เนื่องจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานธรรมชาติจึงไม่มีความแน่นอนเพราะสภาพอากาศในปัจจุบันที่แปรปรวนบางวันไม่มีแสงอาทิตย์ รวมถึงในฤดูฝนที่การตากทำได้ยากมากแต่ขนมจีนไม่สามารถเก็บไว้รอจนกว่าจะมีแสงอาทิตย์ได้ตามต้องการ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตขนมจีน ซึ่งขนมจีนที่เหลือจากการจำหน่ายแต่ละวันผู้ผลิตจะนำมาทำขนมจีนอบแห้ง เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ใช้ในการตากแห้ง ขนมจีนที่เหลือจะขึ้นรา มีกลิ่นเหม็นและเน่าเสียในที่สุด จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ขนมจีนให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ โดยจะนำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า โดยมีขดลวดความร้อนแบบครีบเป็นอุปกรณ์ทำความร้อนของระบบไฟฟ้าและใช้มอเตอร์พัดลมเป็นตัวกระจายความร้อนภายในตู้อบให้สม่ำเสมอ รวมไปถึงการใช้เทอร์โมคัปเปิ้ลเป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้อบให้ได้ตามความต้องการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อการพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ เพื่อยืดอายุการ เก็บรักษา 2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ 3.เพื่อยืดอายุและการเก็บรักษา
ขอบเขตของโครงการ :
ในการศึกษาและวิจัยการพัฒนาการอบแห้งขนมจีนด้วยเครื่องอบแห้ง 2 ระบบ เพื่อยืดอายุการ เก็บรักษามีขอบเขตการวิจัยดังต่อไปนี้ ขอบเขตเนื้อหา 1.กลุ่มชาวบ้านผู้ผลิตขนมจีน 1.1 ขนมจีน 1.2 รูปแบบการทดสอบ 2. รูปแบบการอบขนมจีน 2.1 ส่วนของนักวิชาการ - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการอบแห้งขนมจีน 2.2 ส่วนของเกษตรกรหรือผู้สนใจทั่วไป - รู้จักคุณสมบัติและการใช้งานของเครื่องอบแห้ง - รู้จักกระบวนการอบแห้งขนมจีน 2.3 ส่วนของผู้พัฒนาระบบ - พัฒนาและปรับปรุงระบบการอบแห้งขนมจีนเพื่อเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ขอบเขตพื้นที่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 8 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเวลา ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัย 1 ธันวาคม 2557 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558 เป็นระยะเวลา 1 ปี ขอบเขตประชากร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาบ้านหนองโพธิ์ บ้านเลขที่ 189 หมู่ที่ 8 ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายอำนาจ ประจง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%
3 นายอนุสรณ์ สินสะอาด นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย