รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษา ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
A Community Economic Development Guildlines Model : Case Study ,Tambon Ta Kier Luan ,Amphur Muang,Nakhonsawan Provice
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         เศรษฐกิจชุมชนเป็นเรื่องของการรวมกลุ่มรวมตัวของชุมชน เพื่อรวมกันใช้ศักยภาพของสมาชิกแต่ละคนให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และเมื่อได้รับผลประกอบการก็จะนำไปแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างเป็นธรรม ซึ่งการดำเนินงานในรูปนี้ย่อมจะทำให้เกิดความเข้มแข็งและความสามัคคีในชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วย ความเป็นเจ้าของร่วม การใช้ทรัพยากรท้องถิ่น/ภูมิปัญญาท้องถิ่น การมีบุคลากรแกนนำ สมาชิกที่เข้มแข็ง รวมไปถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิก และการบริหารจัดการ ชุมชนบ้านตะเคียนเลื่อน ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ชาวบ้านปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเอง ที่เหลือเก็บขาย ปลูกผัก ปลูกพืชล้มลุกไว้ขาย ร่วมกันส่งเสริมทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้กันเอง จัดตั้งร้านค้าชุมชนในหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ บางส่วนเปิดร้านขายพันธุ์ไม้หารายได้อีกทางหนึ่ง พืชผักที่ปลูกจะเป็นพวกถั่วฝักยาว แตง ข้าวโพด ฟักอ่อน พริก มะเขือ ส่วนไม้ผลที่ใหญ่ขึ้นไปหน่อยปลูกกันมากก็คือ กล้วยไข่ ในเรื่องงานการส่งเสริมในชุมชนนั้น มีการจัดตั้งกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านตะเคียนเลื่อน กลุ่มผู้ค้าไม้ประดับ กลุ่มอาชีพการทำดอกไม้ประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต้นกล้วยไข่ โดยนำเอาต้นกล้วยไข่หลังเก็บผลผลิตแล้วตัดเอามาทำเป็นกระดาษ จากกระดาษก็นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กรอบรูป กล่องใส่กระดาษทิสชู ฯลฯ ส่งขายที่ร้านค้าชุมชนและตามงานต่างๆ กลุ่มผู้ผลิตดินปลูกพืชกระถาง บรรจุถุงขาย ใช้ชื่อว่า "ดินดี หมู่ 2 เศรษฐกิจพอเพียงบ้านตะเคียนเลื่อน" ที่บ้านตะเคียนเลื่อนกลายเป็นแหล่งผลิตทั้งดินปลูกพืชและปุ๋ยอินทรีย์ที่ต้องใช้กับพืช ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ใช้ตรา "ตะเคียนงาม" นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีการรวมกลุ่มออมทรัพย์ในรูปของกลุ่มสัจจะ ออมทรัพย์ นับว่าเป็นชุมชนที่มีการนำทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น ทุนทางธรรรมชาติ ทุนแรงงาน ทุนภูมิปัญญาของชุมชนมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเศรษฐกิจชุมชนของตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยมุ่งเน้นศึกษาในเรื่อง การบริหารจัดการของเศรษฐกิจชุมชนเป็นหลัก ศึกษาถึงการรวมกลุ่มของสมาชิกชุมชน จุดแข็งและจุดอ่อนของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ปัญหาในด้านต่าง ๆ ในการบริหารจัดการ อาทิเช่น ด้านการตลาด ด้านการผลิต การคิดต้นทุนในการผลิต รวมไปถึงการสังเคราะห์ปัญหาร่วมกันระหว่างนักวิจัยและชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากเหตุผลนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา "แนวทางการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์" ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วยเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนย่อมทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและส่งผลโดยตรงต่อชุมชนในพัฒนาศักยภาพของตนเอง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคม ของตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อศึกษาถึงโครงการและการรวมกลุ่มต่าง ๆ ของสมาชิกในชุมชนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ของตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ของกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนแต่ละกลุ่ม ของตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 4 เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน และส่งเสริมให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ
ขอบเขตของโครงการ :
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกต (Observation) สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยมีขอบเขตการวิจัย ดังนี้ ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิชุมชน ในตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในเรื่องของข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน การวิเคราะห์ SWOT Analysis ของเขตด้านประชากร คือ กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนในตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ยังคงดำเนินการอยู่ โดยเก็บข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ ประธาน รองประธาน เหรัญญิก หรือสมาชิกซึ่งประธานได้มอบหมายให้เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่นักวิจัย ขอบเขตด้านพื้นที่ กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนในตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวชุณษิตา นาคภพ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย