รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
นวัตกรรมการเพาะกล้าข้าวเมล็ดเดี่ยวเพื่อการเพาะปลูกแบบนาโยน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
An innovation in single rice grain parachute seeding
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
การพัฒนาทดลอง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การปลูกข้าวของเกษตรกรในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปยังผลผลิตต่อไร่ที่มีปริมาณที่มาก โดยรูปแบบของการทำนาได้เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งแต่เดิมการทำนาจะเป็นรูปแบบนาดำ แต่เนื่องจากนาดำมีต้นทุนที่สูงจากค่าแรงประกอบกับการเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่พัฒนาจากใช้แรงงานคนมาเป็นรถสำหรับเก็บเกี่ยวที่มีความสะดวกมากกว่าสามารถเก็บเกี่ยวได้ครั้งละมากๆ แต่นาดำมักจะมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันส่งผลให้คุณภาพของข้าวแตกต่างกันด้วยซึ่งมีผลให้ราคาขายต่ำลง เกษตรกรได้หันไปทำนาในรูปแบบนาหว่าน เนื่องจากมีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่าและมีระยะการเก็บเกี่ยวที่พร้อมกันซึ่งสามารถขายได้ทันทีที่เก็บเกี่ยวเสร็จ แต่การทำนาแบบหว่านมักจะประสบปัญหาเกี่ยวผลผลิตที่ได้จะน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการทำนาแบบนาดำ ดังนั้นเกษตรกรได้มีการแก้ปัญหาผลผลิตโดยการเพิ่มเมล็ดพันธุ์ในการหว่านที่มากขึ้น เพื่อจะทำการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นนั้นเอง แต่การเพิ่มขึ้นของเมล็ดพันธ์ที่ส่งผลไปยังต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งพันธุ์ข้าวราคาเฉลี่ยต่อถังอยู่ที่ 230-240 บาท โดยนา 1 ไร่จะให้ข้าวปลูก 3-4 ถัง ประกอบกับนาหว่านที่หว่านขณะแห้งเพื่อให้ข้าวงอก แต่ขณะที่ข้าวกำลังงอกก็มักจะมีสตรูพืชเติบโตไปพร้อมๆ กัน จึงทำให้ชาวนาหันไปใช้ยาฆ่าหญ้าเพื่อควบคุมให้หญ้าหยุดการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังพบว่าการปลูกข้าวแบบนาหว่านมีการเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเอง ปัจจุบันได้มีเกษตรกรบางส่วนได้หันไปทำนาแบบนาโยนที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่านาหว่าน เนื่องจากนาโยนที่ใช้เมล็ดพันธ์ข้าวน้อยกว่าซึ่งโดยเฉลี่ยจะใช้อยู่ 1 ถังต่อไร่ และข้อดีของนาโยนคือการเพาะกล้าข้าวที่ใช้ระยะการเพาะ 15 วัน ขนาดความสูงของข้าวโดยเฉลี่ย 12-20 เซนติเมตร เมื่อนำไปโยนในนา 1-2 วันข้าวก็จะตั้งขึ้นทำให้สามารถเปิดน้ำเข้าในนาได้ทันที่ซึ่งน้ำจะเป็นตัวชะลอการเจริญเติบโตของวัชพืชประกอบกับข้าวที่โตแล้วทำให้วัชพืชจำพวกหญ้าโตไม่ทันข้าวนั้นเอง และข้อดีมีอย่างคือแมลงสตรูพืชก็ลดน้อยลงเนื่องมาจากระยะของต้นข้าวที่ไม่ติดกันมากเหมือนนาหว่าน ทำให้เกิดการไหลผ่านของลมได้ดีทำให้แมลงอาศัยอยู่ได้ยากขึ้น นอกจากจะทำให้ลดการใช้เมล็ดพันธ์แล้วในทางอ้อมยังช่วยลดสารเคมีสำหรับกำจัดสตรูพืชและลดการใช้ปุ๋ยอีกด้วย ทำให้ต้นทุนการทำนาลดลงซึ่งมีผลผลิตเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม แต่ยังมีเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงทำนาในรูปแบบนาหว่านอยู่เนื่องจากการทำนาโยนจะต้องมีการเตรียมกล้าข้าวที่ยุ่งยากอยู่พอสมควรในกรณีเตรียมกล้าเอง แต่ถ้าเป็นกรณีการจ้างทำนาโยนก็พบว่าต้นทุนยังสูงอยู่เมื่อเทียบกับการทำนาหว่าน เกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่นิยมทำนาในรูปแบบนาโยน ปัญหาที่ทำให้เกษตรกรที่ยังคงทำนาในรูปแบบเดิมก็คือ เกษตรกรยังขาดเทคโนโลยีที่จะช่วยในการเพาะกล้าจำนวนที่พอต่อการเพาะปลูกในเวลาเดียวกัน ซึ่งเทคโนโลยีถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ดังนั้นการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองให้กับเกษตรกร และเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการเพาะปลูก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทางการเกษตรชาวนาที่ยังยืนและช่วยให้เกษตรกรชาวนาลดต้นทุนเพิ่มกำไรจากการทำนามากขึ้นด้วย ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเกษตรกรที่ทำนา ทางผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้มีการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือสำหรับการเพาะกล้าข้าวให้กับเกษตรกร และให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมืออย่าเต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยในการพัฒนาด้านเกษตรอย่างยังยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1 เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว 2 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและเหตุปัจจัยของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว 3 เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว 4 เพื่อหารูปแบบของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว
ขอบเขตของโครงการ :
1 ขอบเขตพื้นที่: พื้นที่ชุมชนตำบลสำนักขุนเณร อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร 2 ขอบเขตเวลา: ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัยปี 2558 เป็นระยะเวลา 1 ปี 3 ขอบเขตประชากร/ กลุ่มตัวอย่าง: ข้าวปลูกพันธุ์พิษณุโลก 60-1 4 ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา: 4.1 เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว 4.2 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและเหตุปัจจัยของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว 4.3 เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว 4.4 เพื่อหารูปแบบของการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับกระบวนการเพาะกล้าข้าวแบบเมล็ดเดี่ยว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 55%
2 นายถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
3 นายธีรพจน์ แนบเนียน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
4 นายวัชระ ชัยสงคราม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย