รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Using Live Yeasts with Effective Microorganisms in culture of quality fairy shrimp (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan and Murugan)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ไรน้ำนางฟ้าสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม สามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าทดแทนอาร์ทีเมีย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเราต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมียเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้งลูกปลา รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และที่ต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมีย เนื่องจากในประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงหาสัตว์น้ำตัวอื่นเพื่อทดแทน (นุกูลและละออศรี, 2547) ในปัจจุบันนี้สามารถนำไข่ไรน้ำนางฟ้าไปเพาะเลี้ยงและเพิ่มผลผลิตจนสามารถส่งขายให้กับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้ในราคาสูง อีกทั้งความสามารถพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า และสามารถส่งขายในตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาและขยายตลาดอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ปัจจุบันพบว่าสาหร่ายคลอเรลลาที่เป็นอาหารที่มีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า แต่สาหร่ายคลอเรลลาไม่สามารถเลี้ยงได้ในบางฤดูกาลโดยเฉพาะในฤดูฝน และบางช่วงของฤดูหนาว ทำให้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบความสำเร็จ มีการศึกษาการใช้อาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนสาหร่ายคลอเรลลา แต่การใช้อาหารสำเร็จรูปยังส่งผลต่อคุณภาพน้ำเนื่องจากเป็นอาหารไม่มีชีวิตทำให้เกิดการสะสมของเสียเมื่อเลี้ยงไรน้ำในระยะเวลานานขึ้น แต่การใช้ยีสต์มีชีวิตในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้านี้ สามารถเพาะยีสต์ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 1 วันอีกทั้งมีราคาถูก และเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียโรงงานน้ำตาล เพราะอาหารที่ให้ยีสต์คือ กากน้ำตาล ได้มีการศึกษาวิจัยการใช้ยีสต์มีชีวิตในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าพบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีและได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ แต่พบว่าสีของไรน้ำนางฟ้าไทยที่ได้มีสีซีดและไม่สดเหมือนกับที่เลี้ยงด้วยคลอเรลลา และอีกปัญหาที่พบคือคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยมีแอมโมเนียและไนไตร์ทที่สูงขึ้นเมื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเป็นเวลานานขึ้น ดังนั้นในการวิจัยนี้ต้องการจะศึกษา การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ นอกจากจุลินทรีย์ EM จะแก้ไขปัญหาน้ำเสียแล้ว ยังช่วยเป็นอาหารให้แก่ไรน้ำอีกทางหนึ่ง และมีการศึกษาคุณภาพของไรน้ำ โดยการเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยอาหารดังกล่าวว่าให้ผลใกล้เคียงกับที่เลี้ยงด้วย คลอเรลลาที่มีผู้ศึกษาก่อนหน้านี้หรือไม่ หากงานวิจัยนี้สำเร็จจะเป็นประโยชน์แก่นักเพาะพันธุ์ปลาสวยงามที่ต้องการอาหารมีชีวิตที่มีคุณภาพ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่จะสามารถผลิตไรน้ำนางฟ้าคุณภาพสูงไว้ใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำสวยงามได้อีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1 เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายและผลผลิตของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM 2 เพื่อศึกษาคุณค่าโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM 3 เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM 4 เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของไรน้ำนางฟ้าต่อปลาทอง
ขอบเขตของโครงการ :
เป็นการศึกษา การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิต รวมทั้งต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM และคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ของไรน้ำนางฟ้าไทยต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของปลาทอง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวจามรี เครือหงษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นางสาวสุรภี ประชุมพล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
4 นายปริญญา พันบุญมา นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย