รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
เครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้ำตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิก
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
EthanoldistillationfrommolassesbyevacuatedglasstubesolarCollectortypecompound parabolicconcentrator
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         พลังงานพื้นฐานที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์และเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิต ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนับตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมาอัตราการใช้พลังงานของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกปีจนก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า“วิกฤตการณ์พลังงาน”ซึ่งสาเหตุของการขาดแคลนเชื้อเพลิงก็คืออัตราการเพิ่มของการใช้มากกว่าอัตราการเพิ่มของการผลิตและการลดอัตราการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันจนทาให้เกิดวิกฤติการณ์น้ามันขึ้นในปีพ.ศ.2516เป็นต้นมาทาให้ประเทศกาลังพัฒนาที่ต้องพึ่งพาน้ามันดิบจากต่างประเทศเป็นพลังงานในการพัฒนาประเทศต้องก็ประสบปัญหาซึ่งมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในปัจจุบันพลังงานส่วนใหญ่ได้มาจากพลังงานฟอสซิลได้แก่น้ามันถ่านหินและก๊าซธรรมชาติซึ่งนับวันจะหมดไปและมีราคาสูงขึ้นจาเป็นต้องหาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อนามาใช้ทดแทนพลังงานดังกล่าวดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลั้งงานทดแทนที่สำคัญและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนของประเทศไทยในอนาคตจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีวัตถุดิบสาหรับผลิตเอทานอลมากมายมีแนวความคิดในการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงเริ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2522เพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนาเข้าจากต่างประเทศในขณะนั้นประเทศประสบกับปัญหาน้ามันเชื้อเพลิงราคาแพงและมันสาปะหลังมีราคาถูกรัฐบาลได้ทาการทดลองนาเอามันสำปะหลังมาผ่านกระบวนการกลั่นเป็นเอทานอลความบริสุทธิ์95%นามาผสมกับแก๊สโซลีนเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสาหรับรถยนต์ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจจึงมีโครงการที่จะจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสาปะหลังขนาด150,000ลิตรต่อวันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกมันสาปะหลังและมีผลผลิตเป็นจานวนมากแต่จากนั้น โครงการดังกล่าวก็เงียบหายไปจนกระทั่งปีพ.ศ.2528จากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบกับปัญหาการขาดแคลน้ำมันและปัญหาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำจึงทรงมีพระราชดาริให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาศึกษาถึงการนาอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์โดยการนาแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับนำมันเบนซินผลิตเป็นน้ามัน“แก๊สโซฮอล์”(gasohol)จากแนวพระราชดาริดังกล่าวทาให้มีการตื่นตัวและให้ความสนใจในการคิดค้นผลิตพลังงานทดแทนจากพืชเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะการออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นเอทานอลจาก กากน้าตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิกเพื่อเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางด้านเครื่องผลิตพลังงานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดังนั้นการออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้าตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิกจึงเป็นแผนการวิจัยที่มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาในด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นและเพิ่มแนวทางพลังงานทางเลือกให้มีมากขึ้นและใช้พลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้าตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิกอัตราความเข้มที่70Alcohol%/L. 2.เพื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องกลั่นเอทานอลแบบใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้ากับเครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้าตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิก 3.เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้าตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิก
ขอบเขตของโครงการ :
1ขอบเขตพื้นที่่:ชุมชนจังหวัดนครสวรรค์เก็บข้อมูลโดยการทดสอบในช่วงเวลา9.00-17.00น. 2ขอบเขตเวลา:ช่วงเวลาที่่ดำเนินการวิจัยปี2557 3ขอบเขตประชากร/กลุ่มตัวอย่าง:ชุมชนผู้สนใจในจังหวัดนครสวรรค์ 4ขอบเขตตัวแปรและเนื้อหา: -อัตราความเข้มAlcohol%/L.ของเอทานอลที่ได้จากเครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้ำตาลด้วย หลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิก -อัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องกลั่นเอทานอลแบบใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้ากับเครื่องกลั่นเอทา นอลจากกากน้ำตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิก -ผลความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องกลั่นเอทานอลจากกากน้ำตาลด้วยหลอดแก้วรับรังสีอาทิตย์รวมแสงแบบพาราโบลิก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายถิรายุ ปิ่นทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 60%
2 นายธีรพจน์ แนบเนียน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นายโกเมน หมายมั่น นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย