รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
DEVELOPMENT OF MULTI - GRADE TEACHING IN INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY MODEL FOR SMALL SCHOOLS
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 มีนาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 มีนาคม 2559
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ ทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based - Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม(Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและแรงงาน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงอย่างหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งได้แก่ “คอมพิวเตอร์” (Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบรวบรวม ข้อมูลต่างๆไว้ในแหล่งข้อมูลเดียวช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิดของผู้เรียนกับผู้อื่นขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนกับผู้สอน ช่วยผลิตสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจแก่ผู้เรียนที่ขาดแคลนผู้สอน และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.วิเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่เหมาะสม 2.ออกแบบ พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
ขอบเขตของโครงการ :
ครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็ก เขตอำเภอโกรกพระ สำหรับทำการศึกษา ดังนี้ 1.โรงเรียนบ้านเขาถ้ำพระ 2. โรงเรียนบ้านศาลาแดง 3. โรงเรียนบ้านโพธิ์งาม 4. โรงเรียนภาณุทัตกรีฑาเวทย์ 5.โรงเรียนบ้านบางมะฝ่อ 6.โรงเรียนวัดบางมะฝ่อ 7. โรงเรียนบ้านเนินเวียง 8. โรงเรียนบ้านกระจังงาม 9. โรงเรียนราษฎร์อุทิศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนบ้านเขาถ้ำพระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 42 ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 และการวัดผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับนักเรียนจากการเรียนรู้แบบคละชั้น ในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา 1.ตัวแปรต้น (Independent Variables) ได้แก่รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กคือ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้จากการเรียนการสอนตาม แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ได้รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่เหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ ในโรงเรียนขนาดเล็กเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษา 2.ศึกษารูปแบบการเรียนการสอน 3.ศึกษารูปแบบการเรียนแบบคละชั้น การจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ต่างชั้น ต่างกลุ่มอายุ และต่างระดับความสามารถ ซึ่งเรียนในห้องเดียวกัน โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperation) และการสนับสนุนจากเพื่อนในห้อง (Per support) 4.พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้นสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ผู้สอน 5.นำรูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบคละชั้น สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กไปทดลองใช้ 6.สรุปผลการวิจัยและเขียนเล่มวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวกุลรภัส เทียมทิพร นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 60%
2 นายวุฒิชัย พิลึก นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 15%
3 นายฐิติพงษ์ รักษาริกรณ์ นักวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย