มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนา ระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Potential Development of community in Professional of Lotus products for community economic system development based on the Sufficiency economy
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
12 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนชนบทมีการทำเกษตรเป็นอาชีพหลักมาเป็นเวลานาน จนในปัจจุบันมีการพัฒนาการเกษตรไปจากเดิมที่เป็นการเกษตรแบบยังชีพพึ่งพาตนเองได้ภายในชุมชนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายมากขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตและปัจจัยการดำรงชีวิตจากภายนอกชุมชนมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้รายจ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการทำเกษตรกรรมจนเกิดภาระหนี้สินและปัญหาอื่นอีกมากมาย ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนจนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นการส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง บึงบอระเพ็ด เป็นบึงน้ำจืดธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำน่าน และภาคเหนือตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 132,737 ไร่ 56 ตารางวา และเป็นแหล่งปลูกบัวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และเป็นระบบนิเวศเกษตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และผลิตสินค้า หากมองจากแง่มุมด้านสังคม นาบัวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตวัฒนธรรมการบริโภคและเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในชุมชนมาเป็นเวลาช้านาน นั่นคือ ความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในหมู่บ้าน และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ผลิต พ่อค้า และผู้บริโภค ในด้านของระบบการผลิต นาบัวเป็นพื้นที่ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างระเกะระกะไม่เป็นแถวเป็นแนว การที่ครัวเรือนขนาดเล็กดูแลและเก็บบัวในพื้นที่ทำให้มีความรู้สึกว่าเป็นทุ่งนา ซึ่งมีบริเวณต่อกันเป็นผืนใหญ่โดยไม่มีการแบ่งเขตแดนหรือการปักรั้งแสดงอาณาเขตอย่างชัดเจน และนิยมเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า ทุ่งนาบัว ทั้งนี้ในขั้นตอนของการผลิตบัวมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ทุ่งนาบัวจึงถือว่าเป็นแหล่งของการทำงานสำคัญ ทั้งเป็นระบบการผลิตที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งนาธรรมชาติที่เจริญงอกงามและให้ร่มเงาสัตว์น้ำอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแม้ว่าพื้นที่นาบัวในบึงบอระเพ็ดยังมีความยั่งยืนในเชิงนิเวศ ทว่าในประเด็นของเศรษฐกิจ บัวกับมีตลาดที่ค่อนข้างจำกัด ยิ่งไปกว่านั้นชาวบ้านรุ่นใหม่ที่จะสามารถเป็นแรงงานสืบทอดการผลิตบัวในชุมชนก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาและระบบแรงงานในเมือง ทั้งนี้จากการออกสำรวจภาคสนามของผู้วิจัยบริเวณชุมชนรอบบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อจัดทำแผนชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน พบว่า คนในชุมชนสามารถค้นหาปัญหาของครัวเรือนและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอันดับแรก คือ ด้านการประกอบอาชีพ ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ ประชาชนขาดโอกาสและไม่มีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาทักษะทางอาชีพจากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว ทั้งนี้การส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้เสริมจากวิสาหกิจชุมชนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ชุมชนชนบทได้ปรับเปลี่ยนการพึ่งพิงปัจจัยต่างๆจากภายนอกเป็นการพึ่งตนเองภายในชุมชน โดยอาศัยทุนของตนเองและทุนของชุมชนที่มี ตลอดจนวางรากฐานจิตสำนึกให้กับเยาวชนรุ่นหลังและคนในท้องถิ่นได้เห็นถึงความสำคัญของบัวในท้องถิ่นของตนว่าแท้จริงแล้วสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะสามารถใช้จุดเด่นเหล่านี้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านพื้นที่ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังพบว่ามีการประกอบอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวปรากฏอยู่ ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. สภาพปัญหา และความต้องการของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง 2. การพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และการใช้ประโยชน์จากบัวเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ขอบเขตด้านเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว 2. เกิดกลไกการบูรณาการองค์ความรู้ของชุมชนที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทและเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง 3. เกิดนวัตกรรมอาชีพที่ริเริ่มสร้างสรรค์โดยชุมชน และเพื่อชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
ผู้วิจัยได้เสนอวิธีดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม 1) ศึกษารวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจากวารสาร งานวิจัย บทความ จากฐานข้อมูลต่างๆ 2) ประชุมชี้แจงโครงการวิจัยระหว่างนักวิจัยและนักวิจัยในพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน 3) จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเครื่องมือในเก็บรวบรวมศักยภาพของชุมชนในตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 4) เก็บรวบรวมข้อมูลศักยภาพของชุมชนในตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นดำเนินการ 1) จัดเวทีระดมความคิดและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน 2) ระดมความคิดเห็นการพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว 3) พัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการพัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ 1) ระดมความคิดและถอดบทเรียนเกี่ยวกับกลไกการบูรณาการความรู้ด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง 2) ส่งเสริมและสร้างกลไกในด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง โดยการอบรม/การศึกษาดูงาน 3) ดำเนินการบูรณาการองค์ความรู้ด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว (การเรียนรู้ การปรับปรุง และการปฏิบัติ) เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่ 4) จัดประชุมแลกเปลี่ยนบทเรียนในการพัฒนาอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัว เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนที่ 4 ขั้นการวิเคราะห์และการประเมินผล 1) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปภาพรวมเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทัยวรรณ ภู่เทศ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru