มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Knowledge management on local culture heritage in Uthai Thani
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
12 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยกำลังอยู่ในระบบ “เศรษฐกิจใหม่” (New Economy) ที่มีการใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตประเภท “สารสนเทศ” (Information) และ ”ความรู้” (Knowledge) ตลอดจนการส่งเสริมให้สังคมมีนวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ (National Competitiveness) ส่งผลให้สังคมในระบบเศรษฐกิจใหม่มีการมุ่งพัฒนาไปสู่ ”สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้” (Knowledge – based Society) สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge – based Society) เป็นผลจากการที่ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยอมรับและตระหนักว่า ความรู้ (Knowledge) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ในการพัฒนาภายในประเทศและมิติการพัฒนาระหว่างประเทศ รวมทั้งความรู้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในกระแสการพัฒนาของโลกยุคสารสนเทศและยุคปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร หรืออาจกล่าวได้ว่า “ความรู้” ซึ่งได้แก่ความรู้ในตัวมนุษย์ ความรู้ทางเทคโนโลยีและความรู้ในวิทยาการต่างๆ เป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบันการวัดความสามารถของประเทศต่างๆ ได้เปลี่ยนจากการวัดโดยสังเกตจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือรายได้ประชาชาติต่อหัว มาเป็นการสังเกตจากอัตราส่วนของผู้ที่ทำงานเป็นวัตกรระดับโลก ทั้งนี้เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งกำหนดกฎ กติกาและกำไรของเศรษฐกิจใหม่ กล่าวคือ ความรู้เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดและสามารถซื้อขายได้ การมีความรู้หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร ความร่ำรวยในเศรษฐกิจใหม่และการหาประโยชน์จากสินทรัพย์ใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดขององค์กร อาจกล่าวได้ว่า ในปัจจุบันโลกเรากำลังมุ่งเน้นไปที่ “ทุนทางปัญญา” หรือ “ทุนความรู้” เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้กับสังคมและประเทศชาติเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม การที่องค์กรต่างๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบันได้นั้น องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความสามารถในการบริหารการจัดการความรู้ (Knowledge Management) (การ-จัดการความรู้ : แนวคิดและวิธีการ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ วารสารเซนต์-จอห์น มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น พ.ศ. 2548) ในโลกยุค “สังคมแห่งความรู้, ยุคโลกาภิวัตน์, และยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง” หน่วยบริการสาธารณะ หรือที่เรียกว่าหน่วยราชการจะต้องปรับตัว เปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ และเปลี่ยนวิธีทำงานใหม่มิฉะนั้นสังคมไทยก็จะไม่สามารถแข่งขันได้ในสังคมโลกในการจัดการสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge-based society) มองความรู้ว่าเป็นทุนปัญญา หรือทุนความรู้สำหรับใช้สร้างคุณค่าและมูลค่า (value) การจัดการความรู้เป็นกระบวนการใช้ทุนปัญญา นำไปสร้างคุณค่าและมูลค่า ซึ่งอาจเป็นมูลค่าทางธุรกิจหรือคุณค่าทางสังคมก็ได้ การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ดีขึ้นกว่าเดิมการจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้ (Resource Person) การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ (การ-จัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่มานาน ศิลปกรรมและการตั้งถิ่นฐาน เป็นหลักฐานที่สำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สามารถแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวในอดีตจนถึงปัจจุบันได้ แต่ในปัจจุบันมีพื้นที่ที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์จำนวนมากที่สมควรได้รับการอนุรักษ์กลับถูกละเลย ถูกทำลายลงโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจพื้นที่ที่เป็นเมืองโบราณ หรือแหล่งประวัติศาสตร์ก็ถูกประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานโดยสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยทับพื้นที่เมืองโบราณ อีกทั้งยังมีการปรับแต่งหน้าดินและพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน จนทำลายพื้นที่เมืองโบราญโบราณสถานโบราณวัตถุนั้นหายากมากมาย ดังนั้นการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สมควรจะอนุรักษ์สำหรับให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ (สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม อ้างใน อนันต์ธีระชัย : พัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานใหม่ในเขตเมืองโบราณจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2545) เมืองอุทัยธานี มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรยืนยันไว้ว่า เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปี มาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลายพื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกะเทาะจากหินกรวด และภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้าอุทัยธานียังคงเอกลักษณ์แห่งความเป็นเมืองพุทธภูมิ ที่มีกลิ่นอายของวิถีชีวิตไทยชนบทดั้งเดิม มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย น่าอยู่ น่าสัมผัส มีแหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ได้รับการคัดเลือกและประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่ง “มรดกโลกทางธรรมชาติ” จากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 (แนวทางปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ ธันวาคม 2554) ชาวอุทัยธานีส่วนหนึ่งพอใจที่จะอนุรักษ์วิถีชีวิตเรียนง่ายอันเป็นวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตที่มีมาแต่อดีตถึงแม้บางคนมองว่าจะเป็นความล้าหลังทางวัฒนธรรมก็ตามดังจะเห็นได้ว่าชาวตลาดในจังหวัดอุทัยธานียังคงพอใจที่จะอยู่ห้องแถวไม้สองชั้นเก่าๆ ไม่นิยมที่จะปลูกตึกสูงใหญ่โต แต่จะไปซื้อบ้านตึก หรือคอนโดหรูหราอยู่ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ ไว้เป็นที่พักชั่วคราวแทน ซึ่งก็นับว่าเป็นความโชคดีของชนรุ่นหลังที่ได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเดิมของชาวอุทัยธานีได้ในสมัยปัจจุบัน นอกจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวอุทัยแล้ว จังหวัดอุทัยธานียังมีโบราญสถาน โบราณวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค้าอีกหลายสิ่งดังนี้ โบราณวัตถุ เครื่องมือหิน เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา อาวุธที่ทำจากโลหะ โบราณสถาน แหล่งโบราณคดีภูปลาร้าหรือเขาปลาร้า แหล่งโบราณคดีบ้านหลุมเข้า โบราณสถานสมัยประวัติศาสตร์ วัดอุโบสถาราม วัดอมฤตวารี วัดพิชัยปุรณาราม วัดหนองพลวง วัดจันทาราม ฮกแซตึ้ง เมืองโบราณการุ้ง เมืองโบราณบึงคอกช้าง เมืองโบราญคูเมือง เมืองโบราญบ้านด้าย ย่านประวัติศาสตร์ ชุมชนชาวจีนบ้านสะแกกรัง แหล่งอุตสาหกรรมบ้านท่าซุง สถาปัตยกรรมดีเด่น มณฑปแปดเหลี่ยม วัดอุโบสถาราม วิหารวัดพิชัย วิหารวัดพิชัยปุรณาราม รูปปั้นอนุสาวรี อนุสาวรีสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองศาลหลักเมือง มณฑปยอดเขาสระแกกรัง โบราญวัตถุคู่บ้านคู่เมือง พระพุทธรูปมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระแสงราชศัสตรา สิ่งของที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศิลปหัตถกรรมและงานช่างท้องถิ่น ประติมากรรม จิตรกรรม สถาปัตยกรรม งานจักสาน งานทอผ้า ภาษาและวรรณกรรม จารึก ตำนาน ตำราต่างๆ การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ ศาสนาความเชื่อพิธีกรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น (วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุทัยธานี กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่ 1 , 2554) ดังนั้นการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยจะทำการศึกษาการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานีนับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ต่อการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลในด้านต่างๆ และในปัจจุบันยังคงปรากฏหลักฐานมากมายให้ศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และการส่งเสริม การอนุรักษ์อย่างถูกวิธีเพื่อเป็นมรดกให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป การวิจัยในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษามรดกทางวัฒนธรรมและกระบวนการการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี ศึกษาแนวทางองค์ความรู้ไปพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี เพื่อให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์สืบต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 เพื่อศึกษามรดกทางวัฒนธรรมและกระบวนการการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี 6.2 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี 6.3 เพื่อศึกษาแนวทางองค์ความรู้ไปพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตของการวิจัย ขอบเขตด้านแนวคิด ทฤษฎี แนวคิดที่นำมาศึกษาเป็นแนวคิดทฤษฎี ผลการวิจัย จากผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนผู้ที่มีประสบการณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. แนวคิดการจัดการความรู้ 2. แนวคิดเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาการจัดการความรู้ มรดกทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี โดยการวิจัยครั้งนี้จะศึกษาครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. มรดกทางด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี 1.1 บริบททั่วไปของมรดกทางด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานีโดยสังเขป 1.1.1 โบราญวัตถุ / โบราญสถาน / สิ่งสำคัญคู่บ้านเมือง 1.1.2 ศิลปหัตถกรรมและงานท้องถิ่น 1.1.3 ภาษาและวรรณกรรม 1.1.4 การละเล่นพื้นบ้าน 1.1.5 ศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม 1.1.6 ขนบ ทำเนียม จารีต ประเพณีท้องถิ่น 1.1.8 นโยบาย / กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. กระบวนการการจัดการความรู้ 2.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการการจัดการความรู้ ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ประชาชนใน จังหวัดอุทัยธานี ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ที่ทำการวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดอุทัยธานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
P ผลสำเร็จเบื้องต้น (preliminary results) - ได้ทราบมรดกทางวัฒนธรรมและกระบวนการการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี - ได้ทราบสภาพปัญหาและอุปสรรคของจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี I ผลสำเร็จปานกลาง (intermediate results) - นำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนำไปพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี โดยมีมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี G ผลสำเร็จเป้าประสงค์ (goal results) เมื่อทราบมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานีแล้วนั้น ภาครัฐและประชาชนได้มีการจัดการความรู้ในรูปแบบต่างๆ ภาครัฐ ประชาชน ได้ส่งเสริมความรู้ จัดเก็บความรู้ แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้ พร้อมกับมีการอนุรักษ์ พัฒนาองค์ความรู้เหล่านั้นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจังหวัดอุทัยธานีให้เข้มแข็งต่อไป ในเรื่องของผลกระทบ (MY pact) หรือผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการวิจัยนี้จะทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ 9 ข้อ หรือไม่อย่างไร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการจัดการความรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี มีวิธีดำเนินการดังนี้ 1. การวิจัยเอกสาร เช่น จากแนวคิดทฤษฎี วารสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และผลจากการวิจัย 2. การวิจัยภาคสนามประกอบด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้ 2.1 การสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ 1. เจ้าหน้าที่รัฐ วัฒนธรรมจังหวัด 1 ท่าน, วัฒนธรรมอำเภอ 5 ท่าน, นายกอบจ. 1 ท่าน, นายกเทศมนตรี 6 ทาน, นายกอบต 5 ท่าน. 2.ปราชญ์ชาวบ้าน 6 ท่าน 3. ประชาชน จำนวน 10 ท่าน 2.2 การสังเกต ได้แก่ 1. เจ้าหน้าที่รัฐ วัฒนธรรมจังหวัด 1 ท่าน, วัฒนธรรมอำเภอ 5 ท่าน, นายกอบจ. 1 ท่าน, นายกเทศมนตรี 6 ทาน, นายกอบต 5 ท่าน. 2.ปราชญ์ชาวบ้าน 6 ท่าน 3. ประชาชน จำนวน 10 ท่าน 2.3 การบันทึกย่อ ได้แก่ 1. เจ้าหน้าที่รัฐ วัฒนธรรมจังหวัด 1 ท่าน, วัฒนธรรมอำเภอ 5 ท่าน, นายกอบจ. 1 ท่าน, นายกเทศมนตรี 6 ทาน, นายกอบต 5 ท่าน. 2.ปราชญ์ชาวบ้าน 6 ท่าน 3. ประชาชน จำนวน 10 ท่าน 2.4 Focus Group ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน 6 ท่าน การวิจัยภาคสนามใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีศึกษา ด้วยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม แบบบันทึกย่อ และด้วยแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In depth Interview) การทำ Focus Group และความคิดเห็น จำนวนประชากร 34 คน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายไพศาล สรรสรวิสุทธิ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru