มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Factors affecting the consumers' purchase decisions with electronic commerce in Nakhon Sawan Province from the spread of COVID-19 virus
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเชิงสำรวจ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
จากการศึกษาข้อมูลจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ประจำปี 2563 พบว่า กิจกรรมด้านการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในประเทศไทยมีอัตราการซื้ออยู่ที่ ร้อยละ 67.3 โดยการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการซื้อสินค้า ซึ่งจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนี้เป็นสาเหตุทำให้การค้าระหว่างผู้ค้ากลับกลุ่มลูกค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการขายสินค้าที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และการขายสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้า ซึ่งจากกระบวนการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริโภคยังไม่เห็นสินค้าจริง ไม่เห็นคุณภาพของสินค้าที่แท้จริง และไม่สามารถต่อรองราคาสินค้าได้ แต่เหตุผลใดที่ผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการขายสินค้าออนไลน์นั้นได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในเชิงมูลค่าและตัวเลขจำนวนผู้ใช้ ส่งผลให้ตลาดนี้เป็นที่สนใจของธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องการเข้ามาเพิ่มช่องทางในการขายสินและสร้างฐานลูกค้าให้แก่ธุรกิจของตน การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์นั้นผู้บริโภคต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญในการเปรียบเทียบกับการซื้อในช่องทางปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทำการศึกษาเพื่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ในสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์สามารถรับรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคและการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคสูงสุด
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ในสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)
ขอบเขตของโครงการ :
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบสถิติ ซึ่งเป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรในการวิจัย กลุ่มประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งไม่สามารถนับจำนวนได้ 7.1.2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ จำนวน 400 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมด ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะผู้ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และแอปพลิเคชันขายสินค้า เป็นต้น โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา 2.1 ตัวแปรต้น ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ (Place) การส่งเสริมการขาย (Promotion) การให้บริการส่วนบุคคล (Personalization) และการรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) (วิเชียร วงศ์ณิชชากุล และคณะ, 2550) 2.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย การตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงปัญหาและความต้องการ ด้านการหาข้อมูลของผู้บริโภค ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตัดสินใจซื้อและด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2552)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้ทราบถึงปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ทราบถึงปัจจัยด้านบุคคลมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 3. ได้ทราบถึงการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครสวรรค์ 4. ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยไปปรับปรุงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และวิเคราะห์ปัจจัยด้านบุคคลของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นเป็นการช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวจิตาพัชญ์ ใยเทศ
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
50%
2
นางลฎาภา ร่มภูชัยพฤกษ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
50%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru