รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การให้บริการขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Geographic Information System for Public Transportation Service in Nakhon Sawan Municipality, THAILAND
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ระหว่างเขตภาคเหนือและภาคกลาง เป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างสองภูมิภาค จึงมีผู้สัญจรผ่านไปมาจำนวนมาก กลายเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง คมนาคม การค้า การศึกษา และการเกษตร นอกจากนี้จังหวัดนครสวรรค์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางให้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากการเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมของภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์จึงมีระบบการขนส่งสาธารณะให้บริการอย่างหลากหลาย ทั้งระบบราง การให้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด รถโดยสารประจำทางภายในจังหวัด รถโดยสารประจำทางขนาดเล็ก (รถสองแถว) ในเขตเทศบาลนครสวรรค์ และรถโดยสารไม่ประจำทาง รวมไปถึงการให้บริการเรือข้ามฟากแต่ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดนครสวรรค์กลับยังไม่เห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการระบบการขนส่งสาธารณะเท่าที่ควร ขาดการ เผยแพร่ข้อมูลของแต่ละระบบ เช่น เส้นทางการให้บริการ เวลาในการให้บริการ อัตราการให้บริการ ฯลฯ และขาดการรวบรวมข้อมูลระหว่างระบบ ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจาย ข้อมูลจัดเก็บด้วยมาตรฐานต่างกัน ทำให้การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ผู้คนส่วนใหญ่จึงเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลมากกว่าขนส่งสาธารณะ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลการขนส่งสาธารณะในระบบต่างๆในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ในปัจจุบัน 2.เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลการขนส่งสาธารณะอย่างมีระบบ 3.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่จัดเก็บทั้งในรูปแบบของแผนที่กระดาษ (Paper Map) และแผนที่ทางอินเทอร์เน็ต(Inter Map) 4. เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตของเนื้อหาของโครงการวิจัย ข้อมูลที่ทำการรวบรวมและจัดเก็บในฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้ 1.ข้อมูลการขนส่งสาธารณะระบบต่างๆทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งประกอบด้วยการขนส่งทางถนนทางรางและทางน้ำ โดย จะรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นเช่นเส้นทางการเดินรถเส้นทางการให้บริการอัตราค่าบริการระยะเวลาในการให้บริการ ฯลฯ 2.ข้อมูลสถานที่สำคัญ เช่น หน่วยงานราชการโรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย วัด สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ 3.ข้อมูลจุดขึ้นลงรถ เช่น สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง ท่ารถ ท่าเรือ ฯลฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของเส้นทางการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางการให้บริการ สถานที่สำคัญ จุดรับส่งผู้โดยสาร ฯลฯ 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลและแผนที่ที่ได้จากการวิจัยไปใช้พัฒนาต่อยอด นำไปเผยแพร่หรือแนะนำการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการบริการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรในช่วงเวลาดังกล่าว 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการบริการจัดการให้บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่และง่ายต่อการเข้าถึง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ศึกษาและรวบรวมข้อมูลการให้บริการขนส่งสาธารณะระบบต่างๆ 2.ออกแบบฐานข้อมูล 3.จัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล 4.จัดทำแผนที่ 5.ทดลองใช้งานแผนที่กระดาษกับผู้โดยสารบริการสาธารณะตามจุดรับส่งผุ้โดยสาร จำนวน 50 คน และทดลองใช้งานแผนที่ทางอินเทอร์เน็ตกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต จำนวน 50 คน 6.ปรับปรุงแผนที่ตามข้อเสนอแนะ 7.วิเคราะห์สรุปผลและจัดทำรายงาน 8.เผยแพร่แผนที่จากการวิจัยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวพุทธพร ไสว นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย