มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดเเละยั่งยืน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Promoting organic farming in Bung Boraphet wetlands for smart and sustainable use
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
17 ตุลาคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 ตุลาคม 2566
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
เนื่องจากบึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นมีการแบ่งการใช้ประโยชน์ ออกเป็นพื้นที่พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และพื้นที่ที่ให้ประชาชนทำการเกษตร ด้านการทำประมงจับสัตว์น้ำในพื้นที่อนุญาตให้ทำการจับสัตว์น้ำ ซึ่งสามารถใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ด และบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด นั้นล้วนแต่ใช้ประโยชน์จากบึงบอระเพ็ดในการอุปโภค บริโภค ทำการเกษตร ทำประมง และใช้น้ำจากบึงบอระเพ็ดทำการเกษตร เพราะบึงบอระเพ็ดมีการทำระบบชลประทานให้ประชาชนพื้นที่อาศัยอยู่โดยรอบบึงบอระเพ็ด นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้จัดพิธีมอบสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุตามโครงการ "ธนารักษ์ประชารัฐ" โดยได้นำที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นว 339 มาจัดสรรที่ดินให้กับประชาชนในพื้นที่ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,078 ราย คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 2,071 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาการเข้าครอบครองที่ดินในพื้นที่ราชพัสดุให้ถูกต้องตามกฎหมาย ขณะเดียวกันเอกสารสิทธิ์ยังสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อเพื่อการเกษตรกับสถาบันการเงินต่อไปได้ โดยพื้นที่ทั้งหมดของบึงบอระเพ็ดกว่า 130,000 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนของบ่อเก็บน้ำที่มีพื้นที่กว่า 50,000 ไร่ พื้นที่หวงห้าม เพื่อใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ที่ห้ามประชาชนบุกรุก และอีกส่วนก็ได้จัดให้เป็นพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยสำหรับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่มาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากเข้าไปถือครองที่ดิน โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของกรมธนารักษ์เป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้กรมธนารักษ์ได้เข้าไปดำเนินการเจรจาแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และได้ข้อยุติในปี 2562 ที่ประชาชนยอมรับเงื่อนไขในการเช่าที่ทำกินบนพื้นที่ราชพัสดุ (รายงานการประชุมของธนารักษ์จังหวัดนครสวรรค์,2564) จากแนวนโยบายรัฐการจัดสรรที่ดินในบริเวณบึงบอระเพ็ดให้ประชาชนมาเช่าทำประโยชน์บนที่ดินราชพัสดุของบึงบอระเพ็ดซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำของกรมประมง เป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำ และมีหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ มีความต้องการพัฒนาและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกๆด้าน ในการแก้ปัญหา การบุกรุกที่ดินภายในบริเวณบึงบอระเพ็ด การลักลอบสูบน้ำเพื่อทำการเกษตร การลักลอบสัตว์น้ำ ฯลฯ พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่อการนำไปใช้ประโยชน์ที่สำคัญคือเป็นแหล่งอาหารของประชาชนที่อยู่รอบ ๆ พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยว และเป็นแหล่งพักพิงอาศัยชั่วคราวของนกน้ำที่อพยพย้ายจากถิ่นที่อยู่อาศัยเพื่อหาที่อยู่ชั่วคราวในช่วงฤดูหนาว พื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีความสำคัญสำหรับนกน้ำที่ในทางระหว่างประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการคุ้มครองเพื่อให้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ดังนั้นการบริหารจัดการที่ถูกต้องจึงเป็นความสำคัญซึ่งมีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำโดยกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญา ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ค.ศ. 1975 (Convention on Wetlands,1975) โดยมุ่งเน้นให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำหรับนกน้ำ ด้วยการใช้วิธีการบริหารจัดการของประเทศภาคีที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ซึ่งก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น กระบวนการจัดการตามแนวทางการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศ ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศตามอนุสัญญาแรมซาร์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำ ดังนั้นพื้นที่บึงบอระเพ็ดบริเวณที่แบ่งให้เช่าที่ดินราชพัสดุนั้นให้ประชาชนอยู่อาศัยและทำมาหากินนั้น วิถีชีวิตของคนที่อาศัยบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งทำมาหากิน และเป็นที่อยู่อาศัยทำกินหาเลี้ยงครอบครัวกับทรัพยากรทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด โดยประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรโดยใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี เกิดสารเคมีตกค้างในอาหารและพืชผลทางการเกษตร และลงสู่ดิน ปนเปื้อนในน้ำไหลเข้าสู่บึง ดังนั้น หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่บึงบอระเพ็ดทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นการป้องกันสารเคมีตกค้างในดิน และในน้ำ เนื่องจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในการทำการเกษตรนั้นตกค้างจากที่ดินบึงบอระเพ็ดบริเวณสันดอน ไหลลงมาสู่บริเวณพื้นน้ำของบึงบอระเพ็ด ส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาของบึงบอระเพ็ด เช่น สัตว์น้ำ พืชน้ำ และที่สำคัญบึงบอระเพ็ดเป็นที่อยู่ของนกอพยพย้ายถิ่นจากประเทศอื่นๆ มาอาศัยในบึงบอระเพ็ด จะส่งผลกระทบเป็นห่วงโซต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด การที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เช่าราชพัสดุของบึงบอระเพ็ดนั้น วิถีชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ด ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติของบึงบอระเพ็ด ไม่ว่าจะใช้พื้นที่บึงทำการเกษตร หรือทำการประมงพื้นบ้าน จับสัตว์น้ำ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่เริ่มปลูกพืช เลี้ยงปลาแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นการส่งเสริมให้สามารถทำผลิตผลทางการเกษตรออกจากหน่าย ที่มีคุณภาพ และปลอดสารพิษ เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร และบริโภคในครัวเรือนส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย มีการผลักดันในสินค้าเกษตรของบึงบอระเพ็ดเป็นสินค้าโอท็อปเป็นการสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพราะเนื่องจาก มีการทำนาข้าว นาบัว การเลี้ยงปลา ซึ่งสามารถผลิตสินค้าโอท็อปที่มีคุณภาพได้และเพิ่มรายได้แก่ชุมชน และครอบครัว และส่งผลดีต่อระบบนิเวศของบึงบอระเพ็ด ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ และฟื้นฟู และเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและยังยืน และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติ และยังเป็นรูปแบบแนวทางให้บึงบอระเพ็ดขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุมน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ เพราะว่าพื้นที่ชุ่มน้ำตามความหมายของอนุสัญญาแรมซาร์นั้น ต้องเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางธรรมชาติ และให้ประชาชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู คุ้มครองและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางธรรมชาติได้ แต่ต้องใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาเเละวิเคราะห์กฎหมายไทย เเละกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ 2. เพื่อหาเเนวทางการมีส่วนร่วมในการทำการเกษตรอินทรีย์ของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดร่วมกันระหว่าง ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ เเละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. Model Law รูปแบบการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดเเเละจัดทำคู่มือการเเพร่เเผยการทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา หลักการ แนวคิด และทฤษฎี แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) 2) ทฤษฎีกายา (Gaia Theory) ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ 1) หลักการเกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) 2) หลักการเกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture) ด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ 1) แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) แนวคิดการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อม 3) แนวคิดมูลค่าเศรษฐกิจและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมาย ได้แก่ 1) หลักการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม 2) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation Principle) 3) หลักสิทธิในสิ่งแวดล้อม 4) หลักความได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) 5) แนวคิดพหุนิยมทางกฎหมาย (Legal Pluralism) 6) ทฤษฎีสิทธิชุมชน (Community Rights) กฎหมายไทย 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2522 3) พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 4) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 5) พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 6) พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 7) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2535 8) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2552 9) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2563 แก้ไขเพิ่มเติม 2564 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 –2๕๘0 - แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 25๖๕ - ยุทธศาสตร์จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 25๖๕ กฎหมายต่างประเทศ 1) USA Organic Foods Production Act 1990-2005 (พ.ศ.2548) 2) USDA Organic Regulation 7 3) USDA, NRC Conservation Crop rotation (Ac.) CODE 328 4) US Soil Conservation Act 1937 (พ.ศ. 2480) 5) EU Organic Regulation 834/2007 (พ.ศ.2550) 6) Canada Agricultural Products Act 1985 (พ.ศ.2528) 7) Canada Agricultural Crop Rotation Act 2001 (พ.ศ.2544) กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 1) Agenda 21 2) Rio Declaration 1992 (พ.ศ. 2535) 3) United Nations Convention to Combat Desertification 1994 (พ.ศ.2537) 4) The Codex Alimentarius Guidelines 5) IFOAM standards 6) WTO Agreement on Agriculture
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1 ผลการวิจัยครั้งนี้ Model Law รูปแบบการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดและการจัดทำคู่มือการเผยแพร่การทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด 2 ผลการวิจัยครั้งนี้ได้รูปเเบบการมีส่วนร่วมการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดระหว่าง ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยเเพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง 4 ผลการวิจัยครั้งนี้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างชาญฉลาดเเละยั่งยืน 5 ผลการวิจัยครั้งนี้ได้เเนวทางการรองรับการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดตามอนุสัญญาเเรมซาร์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การวิจัยกำหนดกลุ่มประชากรที่ศึกษาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีวิทยาการวิจัยที่กำหนดเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการบึงบอระเพ็ด ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจแพปลา เกษตรกรผู้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด ประชาชนในพื้นที่ภายในบริเวณเขตบึงบอระเพ็ดและบริเวณรอบบึงบอระเพ็ด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วย 1) ประชากรสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) จำนวน 30 คน ประกอบด้วย (1) ประมงจังหวัดนครสวรรค์ (2) ธนารักษ์พื้นที่นครสวรรค์ (3) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์ (4) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครสวรรค์ (5) หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด (6) หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด (7) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ (8) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน (9) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่ (10) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร (11) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ (12) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช (13) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังมหากร (14) ประชาชนที่เช่าพื้นที่บึงบอระเพ็ด (15) ประชาชนที่อาศัยโดยรอบบึงบอระเพ็ด (16) เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ (17) ปราชญ์ชาวบ้าน 2. การสนทนากลุ่ม (Focus group) มีผู้เกี่ยวข้องในการหาคำตอบแนวทางการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด ตามหลักเกณฑ์ อนุสัญญาแรมซาร์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับบึงบอระเพ็ดตามขอบเขตแห่งอำนาจตามกฎหมาย ประชาชนผู้เช่าพื้นที่บึงบอระเพ็ดทำการเกษตร และเกษตรกรโดยรอบบึงบอระเพ็ด นักกฎหมาย และนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวนทั้งหมด 30 คน ออกแบบร่วมกันเพื่อหาแนวทาง 3.3 ขอบเขตด้านพื้นที่การศึกษา พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นพื้นที่ในเขตบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตบึงบอระเพ็ดและเป็นพื้นที่ที่ใช้ประชากรในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และประชากรสนทนากลุ่ม (Focus group)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru