รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้หลักภาษาและการใช้ภาษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of board games as instructional media to facilitate the junior high school students’s capabilities in fundamentals of Thai language learning
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :
16 มกราคม 2566
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยพื้นฐาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์เพื่อสร้างมาตรฐานเพื่อให้เป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน เราทุกคนจึงควรจะต้องเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการใช้ภาษา และมีความภาคภูมิใจในภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติ การจัดกระบวนการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความสำคัญต่อระบบการสื่อสารหรือสื่อความหมายในชีวิตจริง เริ่มด้วยการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงทักษะ ความจำเป็นของธรรมชาติสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คือ ทักษะการฟัง ทักษะการดู ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะการพูด การจัดกระบวนการเรียนรู้ จึงมีความจำเป็นมากที่จะให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล การจัดการศึกษาโดยใช้สื่อการเรียนรู้จัดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสื่อการเรียนรู้ให้เป็นสื่อการเรียนรู้ใหม่แตกต่าง และน่าสนใจกว่าสื่อการเรียนรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และความสนใจ (กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล, 2562) บอร์ดเกมหรือเกมกระดานเป็นสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ เนื่องจากบอร์ดเกมเป็นสื่อที่มีหลายประเภท หลายรูปแบบ เป็นเกมที่ใช้การ์ด หรือใช้ชิ้นส่วน หรือตัวหมากวางไว้บนพื้นที่เล่น เคลื่อนที่บนพื้นที่เล่น มีทั้งแบบที่มีกติกาง่าย ๆ จนถึงเกมที่มีกติกาซับซ้อน ต้องใช้แผนการหรือยุทธวิธีเข้าช่วยจึงจะบรรลุจุดประสงค์ของการเล่นนั้น (ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, 2555) ฉะนั้นบอร์ดเกมจึงหมายถึง เกมประเภทหนึ่งที่ใช้ตัวหมาก การ์ด หรือโมเดลต่าง ๆ นำมาเล่นบนกระดานซึ่งจะมีผิวหน้าหรือรูปภาพเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อเล่นเกมนั้น ๆ ทั้งนี้ในการเล่นบอร์ดเกมนอกจากผู้เล่นจะได้รับความสนุกสนานและความบันเทิงแล้ว ผู้เล่นยังได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การตัดสินใจ ปัจจุบันได้มีการนำบอร์ดเกมมาใช้ในระบบการศึกษามากขึ้น ด้วยการนำแนวคิดของบอร์ดเกมแต่ละเกมมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา หรือญี่ปุ่น ได้นำแนวคิดของเกมเศรษฐี (Monopoly) เข้ามาใช้ในการจัดบูรณาการการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์ในหลายวิชาดังกล่าว (Hinebaugh, 2009) ดังที่ Crews (2011) ได้กล่าวว่า หากผู้สอนนำแนวคิดของบอร์ดเกมมาประยุกต์ใช้เข้ากับเนื้อหารายวิชา จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้แนวคิดของรายวิชานั้นผ่านการเล่นเกมด้วยความสนุกสนานอันช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนในแต่ละครั้งได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้หลักภาษาและการใช้ภาษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ขอบเขตของโครงการ :
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดหลักภาษาและการใช้ภาษา จำนวน 1 ชุด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ จากการศึกษาเนื้อหาและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 3 การเชื่อมโยงเนื้อหาสู่บอร์ดเกมการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 4 การสร้างบอร์ดเกมต้นแบบการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 5 การพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 6 การกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางชนิกา พรหมมาศ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย