รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแป้งกล้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
10 พฤศจิกายน 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
20 มิถุนายน 2565
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากการลงพื้นที่สำรวจการผลิตสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ นั้นพบว่าผลผลิตสินค้าของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่น่าสนใจ คือ การผลิตแป้งกล้วย เนื่องจากมีความต้องการของลูกค้ากลุ่มแปรรูปอาหารจำนวนมาก โดยแป้งกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกล้วยดิบมาแปรรูปเป็นแป้ง เพื่อเป็นการถนอมอาหารและสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น ขนมอบ และขนมไทย มีคุณค่าทางโภชนาการในระดับสูง เช่น แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน และอื่นๆ อีกมากมาย มีการนำกล้วยดิบมาใช้เป็นยาโดยทําให้แห้งแล้วบดผสมกับน้ำหรือน้ำผึ้ง เพื่อป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย ซึ่งคุณภาพของแป้งกล้วยจะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ความสะอาด และความสุกของกล้วย เป็นต้น ปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มการผลิตแป้งกล้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าและเป็นสินค้าหนึ่งที่น่าสนใจเนื่องจากลูกค้ามีความต้องการจำนวนมาก แต่ติดปัญหาด้านการขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์การบดแป้งกล้วยที่สามารถผลิตแป้งกล้วยได้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า เนื่องจากผู้ผลิตได้ดำเนินการบดแป้งกล้วยด้วยเครื่องจักรขนาดเล็กและขาดทักษะการผลิตแป้งกล้วยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดด้อยของศักยภาพการผลิตแป้งกล้วยเพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามในกระบวนการบดแป้งกล้วยส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน และยังไม่สามารถผลิตได้เท่ากับที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตแป้งกล้วย ลดการใช้แรงงานคน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแป้งกล้วยให้ได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
2.1 เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการผลิตแป้งกล้วยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน 2.2 เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องบดแป้งกล้วยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน 2.3 เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการพัฒนาเครื่องบดแป้งกล้วยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน
ขอบเขตของโครงการ :
1. ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของกิจกรรมการผลิตแป้งกล้วย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน 2. เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ (อ.เก้าเลี้ยว) 3. ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแป้งกล้วยที่เพียงพอต่อระดับความต้องการสินค้า 4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตแป้งกล้วย 5.ได้เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแป้งกล้วย 6. เกษตรกรสามารถดำเนินการผลิตแป้งกล้วยได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้เครื่องบดแป้งกล้วยจำนวน 1 เครื่อง 2. ได้เรียนรู้ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องจักร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 20 ท่าน โดยผูวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การวางแผน 2. การออกแบบเทคโนโลยีและเครื่องจักร โดยดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผนในการแก้ปัญหาโดยการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องจักรที่เหมาะสมกับกิจกรรมการผลิตแป้งกล้วย 3. การทดลองและวิเคราะห์ผล ดำเนินการตามแผนโดยนำเทคโนโลยีที่ออกแบบได้นำมาทดลองและวิคราะห์ผล 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการถ่ายทอดการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรเกี่ยวกับการบดแป้งกล้วย ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 5. การสรุปผลโครงการ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายสว่าง แป้นจันทร์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 25%
2 นายวัชระ ชัยสงคราม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย รองหัวหน้าโครงการวิจัย 20%
3 นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 14%
4 นางสาวกรรณิการ์ มิ่งเมือง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 14%
5 นางมาศสกุล ภักดีอาษา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 14%
6 นางสาวภริตา พิมพันธุ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 13%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย