มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อลดการปนพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์ข้าว เนื่องจากข้าวเรื้อ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Application of bio-fermented water for reduce seed contamination due to volunteer rice plant
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
10 พฤศจิกายน 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
20 พฤศจิกายน 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
การผลิตข้าวมักประสบปัญหาการปนของข้าวจากการร่วงหล่นของข้าวในฤดูก่อน หรือที่เกษตรกรเรียกกันว่าข้าวเรื้อ (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2560) ซึ่งการร่วงหล่นเกิดได้ตามธรรมชาติของข้าวในช่วงใกล้การเก็บเกี่ยวและการใช้เครื่องจักรในการเกี่ยวมีผลต่อการร่วงหล่นของข้าวในแปลงนามากขึ้น โดยมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธ์ข้าว สามารถให้ข้าวพันธุ์อื่นปนได้ไม่เกิน 15 เมล็ดใน 500 กรัม ในชั้นเมล็ดพันธุ์จำหน่าย (กรมการข้าว, 2557) ซึ่งในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าวจึงแนะนำนตอนในการกำจัดข้าวพันธุ์ปนไว้ถึง 5 ระยะได้แก่ ระยะกล้า แตกกอ ออกดอก โน้มรวงและก่อนเก็บเกี่ยว ในแต่ละระยะต้องใช้เวลาและแรงงานมาก และในการเตรียมดินก่อนปลูกก็เป็นวิธีที่สามารถลดปัญหาข้าวเรื้อ โดยทำการเตรียมดินไถกลบหลังจากข้าวเรื้องอก แต่การไถกลบต้องอาศัยเวลาเนื่องจากปกติข้าวจะมีความลักษณะในการพักตัว 2-8 สัปดาห์ขึ้นกับสายพันธุ์ ดังนั้นในการกระตุ้นให้ข้าวงอกและไถกลบจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตามการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวมีหลายวิธีได้แก่ การใช้ความร้อน ใช้สารเคมีกระต้น และการใช้กรด แต่วิธีการใช้กรดน่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัยกับเกษตรกร โดยกระบวนการหมักสามารถทำให้เกิดกรดตามธรรมชาติได้ ซึ่งลักษณะการทำนาในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง สามารถผลิตข้าวได้ปีละ 2-3 ครั้ง ทำให้เกิดปัญหาการปนพันธุ์จากการร่วงหล่นของข้าวในฤดูก่อนมาก ส่งผลต่อคุณภาพข้าวลดลงทั้งการผลิตเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรและวิธีใช้น้ำหมักชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ข้าว รวมถึงการพัฒนารูปแบบในการกำจัดข้าวเรื้อในแปลงนา เพื่อลดปัญหาการปนของข้าวสายพันธุ์อื่น ซึ่งสามารถระยะเวลาและแรงงานในการกำจัดข้าวพันธุ์ปนได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพในการกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าว 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้น้ำหมักชีวภาพในการกำจัดข้าวเรื้อในแปลงเกษตรกร
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตด้านเนื้อหา แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระดับคือ 1) ระดับห้องปฏิบัติการ - ติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด ด่างของน้ำหมักชีวภาพทั้ง 3 สูตรคือ หมักสูตรมะละกอดิบ น้ำหมักจากสับปะรด และหมักสูตรมะละกอดิบกับสับปะรด - ทดสอบประสิทธิภาพน้ำหมักชีวภาพ3 สูตร ที่มีผลต่อการแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยวิธีการ Top of paper (TP) 2) ระดับโรงเรือน ศึกษาวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพทั้ง 3 สูตรในการแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยวิธี Soil test 3) ระดับแปลงเกษตรกร พัฒนารูปแบบการใช้น้ำหมักชีวภาพในการแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ในระดับแปลงเกษตรกร สภาพน้ำสมบูรณ์ (irrigated lowland condition)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้สูตรและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพในการกำจัดข้าวเรื้อ 2. ได้รูปแบบการใช้น้ำหมักชีวภาพในการกำจัดข้าวเรื้อในแปลงนา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
ขั้นตอนที่1 การทำน้ำหมักชีวภาพ 1) สูตรน้ำหมักจากมะละกอดิบกับสับประรด (ยังไม่สามารถเปิดเผยสัดส่วนได้) 2) สูตรน้ำหมักจากมะละกอดิบ 3) สูตรน้ำหมักจากสับประรด วิธีทำ ใส่ผลไม้ลงในภาชนะทึบแสงมีฝาปิด ละลายน้ำและกากน้ำตาลให้เข้ากันและเติมลงในภาชนะใส่ผลไม้ที่เตรียมไว้คลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมพด.2 คนให้ทั่ว ปิดฝาให้สนิทเก็บให้มิดชิดในที่ร่มทิ้งไว้ 1 เดือน และควรเปิดเติมกากน้ำตาลทุกอาทิตย์ ทิ้งไว้1เดือนจึงจะสามารถนำน้ำหมักมาทดสอบการงอก ขั้นตอนที่2 การทดสอบประสิทธิภาพของน้ำต่อการงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยวิธี top of paper วางแผนในการทดสอบจำนวน 6 สิ่งทดลองได้แก่ สิ่งทดลองที่ 1 แช่ในน้ำหมักจากมะละกอดิบกับสับประรด สิ่งทดลองที่ 2 แช่ในน้ำหมักชีวภาพจากมะละกอดิบ สิ่งทดลองที่ 3 แช่ในน้ำหมักชีวภาพจากสับประรด สิ่งทดลองที่ 4 แช่ในน้ำส้มควันไม้ (ตัวแปรควบคุมที่ 1) สิ่งทดลองที่ 5 การอบลมร้อน (ตัวแปรควบคุมที่ 2) สิ่งทดลองที่ 6 เมล็ดพันธุ์ข้าวแห้ง (ตัวแปรควบคุมที่ 3) 1) ทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ เพื่อนำสิ่งเจือปนออก เช่นฟางข้าว วัชพืช เมล็ดลีบ แล้วทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการลอยน้ำเกลือ และการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการลอยน้ำเกลือ ทดสอบการลอยน้ำโดยให้ไข่ไก่ลอยพ้นน้ำเท่าขนาดของเหรียญ 10 บาท เพื่อหาเมล็ดที่สมบูรณ์ จากนั้นเทข้าวลงไปในน้ำเกลือ ตักส่วนที่ลอยน้ำขึ้นมาส่วนที่จมน้ำนำไปล้างน้ำเปล่า และนำไปผึ่งให้แห้งประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นนำมาคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ เพื่อนำไปแช่น้ำชนิดต่างๆต่อไป 2) แก้การพักตัวด้วยวิธีการอบความร้อน โดยการคัดเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วใส่ในถุงกระดาษ นำไปอบในตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน 3)ปรับค่าความเป็นกรดด่างของน้ำหมักชีวภาพทั้ง 3 สูตรให้มีค่าเท่ากับน้ำส้มควันไม้ต่อน้ำเปล่าที่ความเข้มข้น 1:300 4) ทดสอบความงอกและความแข็งแรง โดยนำเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งทำการเก็บเกี่ยวไปแช่น้ำในน้ำหมักชีวภาพแต่ละสูตร และน้ำส้มควันไม้ที่เตรียมไว้ เวลาในการแช่ 24 ชั่วโมง นำเมล็ดที่ผ่านกระบวนการทั้ง 6 ทรีตเมนต์ ทดสอบความงอกด้วยวิธีการ Top of Paper จำนวน 4 ซ้ำๆละ100 เมล็ด 5) ทำการจดบันทึกการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าววันที่ 7, 10 และ 14 วันหลังเพาะ โดยตรวจนับจำนวนต้นกล้างอกปกติ ต้นกล้าผิดปกติ เมล็ดแข็ง เมล็ดตาย กรณีเมล็ดแข็ง จะนำไปแก้การพักตัวด้วยความร้อนและทำการทดสอบอีกครั้ง 6) บันทึกความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยหลังการเพาะ1 วัน ทำการนับเมล็ดข้าวที่งอกทุกวัน จนกระทั้งงอกทั้งหมด นำมาคำนวณดัชนีความงอกของเมล็ด ขั้นตอนที่3 การทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ในสภาพโรงเรือน โดยวิธี Soil test ทำเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 2 แต่ในส่วนข้อ 4 ไม่นำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแช่ในน้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มควันไม้แต่นำเมล็ดพันธุ์มาทดสอบความงอกโดยวิธี soil test จำนวน 4 ซ้ำๆละ 100 เมล็ด สำหรับสิ่งทดลองที่1-4 ให้เทน้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มควันไม้ในถาดเพาะ ในความชื้นระดับจุดอิ่มตัว และทำการจดบันทึกการงอกตามจำนวนลักษณะที่โผล่พ้นผิวดินเมื่อ 7, 10 และ 14 วันหลังเพาะ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนารูปแบบการใช้น้ำหมักชีวภาพในการแก้การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ในระดับแปลงเกษตรกร โดยการเลือกสูตรน้ำหมักชีวภาพที่ได้ผลดีที่สุด นำไปทดสอบในแปลงเกษตรกรโดยเปรียบวิธีการปฏิบัติของเกษตรกรกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยการวิเคราะห์แบบ T-test 1) สุ่มเก็บตัวอย่างดิน ตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีดิน 2) ทำการจัดทำแปลงสาธิตเปรียบเทียบกรรมวิธี 3) การเก็บข้อมูล: วัดค่าความเป็นกรดด่างของดินทุกวันเป็นระยะเวลา 14 วัน 4) เก็บตัวอย่างการงอกของข้าวเมื่ออายุ 7 และ 14 วัน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวสุกัญญา สุจริยา
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru