รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
กระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่ เพื่อพัฒนาสู่การออกแบบบริการ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The process of learning and propagate the knowledge of banana to improve Service design
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
10 พฤศจิกายน 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
20 มิถุนายน 2565
ประเภทของการวิจัย :
ไม่ระบุ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         บ้านบางมะฝ่อ ตั้งอยู่ตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะภูมิประเทศที่ลาบลุ่ม เหมาะกับการทำเกษตรกรรม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ คนในชุมชนมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ในพื้นที่บ้านบางมะฝ่อ มีการภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่ที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ที่ตลาดต้องการ กล้วยไข่ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง มีลำต้นสูงประมาณ 2.5 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-20 เซนติเมตร ใบรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม มีร่องกว้าง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง โคนก้านมีปีกสีชมพู บริเวณช่อดอกมีขนอ่อน ส่วนผล 1 เครือ มีประมาณ 6-7 หวี ใน 1 หวีมีประมาณ 12-14 ผล เป็นผลที่ค่อนข้างเล็ก เปลือกบาง ผลสุกสีเหลือง รสชาติหวานอร่อย กล้วยไข่เป็นพืชเขตร้อน ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย และถือได้ว่า กล้วยไข่เป็นพืชเศรษกิจของที่สำคัญนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ในการผลิตกล้วยมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกถึงการส่งผลิตผลไปยังผู้บริโภค พบว่าทุกขั้นตอนจะเกิดการสูญเสียได้ จากการสำรวจและวัดปริมาณการสูญเสีย ในการเก็บเกี่ยว พบว่า การสูญเสียด้านคุณภาพของกล้วยที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปลูก คิดเป็น 47 เปอร์เซ็นต์ อาจเนื่องมาจากการจัดการที่ไม่เหมาะสมในการปลูก ทำให้ได้ผลที่ไม่ได้ขนาด หรือผลมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ผลมีรอยตำหนิ จากโรคหรือแมลง ทั้งยังพบว่า การสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว ประมาณ 1.30 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยว ประมาณ 10.16 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนการเก็บรักษา คิดเป็น 3.19 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ว่าความเสียหายเกิดในขั้นตอนหลังเก็บเกี่ยวค่อนข้างสูง อาจเป็นเพราะขั้นตอนหลังการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอน การปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดการกระแทกง่าย มีผลทำให้ผลช้ำจากการขนย้าย หรือการโยนผลิตผล รอยมีด จากการตัดแต่ง ซึ่งพบว่ามีปริมาณการสูญเสียสูง ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ของคนในชุมชน สู่การออกแบบบริการที่ตอบสนองการป้องกันการสูญเสียทั้งในขั้นตอนการปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการขนส่งกล้วยไข่ และยังมีความสอดคล้องยุทศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบาลตำบลบางมะฝ่อ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความผาสุก ศิลปวัฒธรรม และประเพณีอันดีงามในท้องถิ่น เป้าประสงค์ที่ 1 ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสานให้คงอยู่ ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 2. เพื่อออกแบบสื่อกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดของชุมชนด้านการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 3. หาแนวทางการสร้างนวัตกรรมกระบวนการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพร จ.นครสวรรค์ เพื่อพัฒนาสู่การออกแบบบริการ
ขอบเขตของโครงการ :
1. ศึกษาและเก็บรวมรวมข้อมูลคุณสมบัติ ของกล้วยไข่จาก งานวิจัยและ Internet 2. การสัมภาษณ์คนในชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับบริบทชุมชน ทรัพยากรในท้องถิ่น สิ่งประดิษฐ์หัตถกรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ที่ผลิตและพัฒนาในอดีต และที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 3. สัมภาษณ์ผู้ที่ผลิตในปัจจุบัน เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาผลิต วิธีการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยไข่ 4. การสื่อกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดของชุมชนด้านการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 1 รูปแบบ และ การออกแบบบริการสำหรับลดการสูญเสียในกระบวนการปลูกกล่วยไข่ 1 รูปแบบ 5. กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 1.3.5.1 ผู้ปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 1.3.5.2 ผู้สนใจกล้วยไข่ บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ชุมชนมีสื่อนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดของชุมชนด้านภูมิปัญญาการทำการปลูกกล้วยไข่ 2.แนวทางการออกแบบนวัตกรรมกระบวนการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ เพื่อพัฒนาสู่การออกแบบบริการ 3. นักศึกษามีความรู้ภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 4.นักศึกษาได้การออกแบบสื่อกระบวนการเรียนรู้ ภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ขั้นตอนศึกษาภูมิปัญญาการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม สัมภาษณ์ ร่วมกับการสังเกต และศึกษาข้อมูลทางเอกสาร ประกอบไปด้วยข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุตินภูมิ โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย 2. ออกแบบสื่อกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดของชุมชนด้านการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ตามขั้นตอนดังนี้ 1. การวิเคราะห์ 2. การออกแบบ (design) 3.การพัฒนา (development) 4. การนำไปใช้ 5. การประเมินผล 3. หาแนวทางการสร้างนวัตกรรมกระบวนการปลูกกล้วยไข่บ้านบางมะฝ่อ อ.โกรกพระจ.นครสวรรค์ เพื่อพัฒนาสู่การออกแบบบริการ 3.1 การสร้างนวัตกรรม 1.การคิดค้น (Invention) 2.การพัฒนา (Development) 3.ขั้นนำไปใช้จริง (Implement) 4.ขั้นเผยแพร่ (Promotion) 3.2 การออกแบบบริการ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวเพียงพิศ ชะโกทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
2 นางยุวดี ทองอ่อน นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นางสาวเพ็ญนภา มณีอุด นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
4 นายจิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย