มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The adsorption efficiency of the incinerator. Of agricultural residues
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
12 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
กลุ่มอาชีพของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ มีมากมายหลายสาขาอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามภูมิศาสตร์ของจังหวัด ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและบริการการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้น คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และที่สำคัญการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์โดยเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การกระจายรายได้ลงไปในเขตชุมชนมากขึ้น มีการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน การผลิตถ่านไม้เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นมาช้านาน มีรูปแบบการเผาที่แตกต่างมากมาย ถ่านไม่ที่ได้ก็มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ไปตามความสามารถของการเผา รูปแบบของเตา และทักษะ ภูมิปัญญาของแต่ละที่ การผลิตถ่านกัมมันต์ เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ และมีผู้ที่พยามยามผลิตด้วยวิธีใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการลักจำ ทำให้ได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ และปริมาณไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะขั้นตอนในการผลิตถ่านกัมมันต์ เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีนั้นจะต้องใช้เตาที่สามารถสร้างอุณภูมิ ภายในเตาได้สูง 600- 1200 องศาเซลเซียส การพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงเป็นแนวคิดของคณะผู้วิจัยที่จะพัฒนาการเผาถ่านกัมมันต์ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และยังสามารถที่จะควบคุมมาตราฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการได้ ในปัจจุบันถ่านกัมมันต์ เป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งสามารถสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และสร้างกลุ่มอาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ตามแนวยุทธศาสตร์ของจังหวัดอีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาเตาเผาถ่านกัมมันต์ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของเตาเผาถ่านกัมมันต์ 3. เพื่อทดสอบถ่านกัมมันต์ที่เผาจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ขอบเขตของโครงการ :
ในการศึกษาวิจัย การศึกษาและออกแบบเตาเผาถ่านกัมมันต์ มีขอบเขตการวิจัยดังต่อไปนี้ ขอบเขตเนื้อหา 1. วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 1.1 ชนิดของวัสดุ 1.2 รูปแบบการทดสอบ 2. รูปแบบการเผาถ่านกัมมันต์ 2.1 ส่วนของนักวิชาการ - ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเผาถ่านกัมมันต์ 2.2 ส่วนของเกษตรกรหรือผู้สนใจทั่วไป - รู้จักคุณสมบัติของถ่านกัมมันต์ - รู้จักกระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์ 2.3 ส่วนของผู้พัฒนาระบบ - พัฒนาและปรับปรุงระบบการเผาถ่านกัมมันต์ เพื่อเพิ่มผลผลิต ขอบเขตพื้นที่ พื้นที่บ้านบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตเวลา ช่วงเวลาที่ดำเนินการวิจัยปี 2557 เป็นระยะเวลา 1 ปี ขอบเขตประชากร เกษตรกรผู้ผลิตถ่านกัมมันต์ ถ่านคาร์บอน เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานในพื้นที่หมู่บ้านบางม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์และพื้นที่ใกล้เคียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้พัฒนารูปแบบเตาเผาถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2. ได้ถ่านกัมมันต์ที่มีคุณภาพ 3 ได้รับการรับรองสิทธิเตากระตุ้นถ่านกัมมันต์ 4. ลดต้นทุนในการผลิตถ่านกัมมันต์ของเกษตรกรทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ทำให้ชีวิตความ เป็นอยู่ดีขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบริบทชุมชนและความต้องการของกลุ่มอาชีพ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. สำรวจข้อมูลเบื้องต้น ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนา สำรวจข้อมูลศึกษาเบื้องต้น ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาฯ โดย คณะผู้วิจัยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งวัตถุดิบ จำนวนของวัตถุดิบ รวมถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการออกแบบเตาเผาถ่าน แต่ละชนิด และการวิเคราะห์ทางสถิติวิธีต่างๆ ที่นักวิจัยจะนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและการพัฒนาเตาเผาถ่านกัมมันต์ ขั้นตอนที่ 2. พัฒนารูปแบบเตาเผาถ่านกัมมันต์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีขั้นตอน ดังนี้ 2.1 วิเคราะห์และออกแบบอุปกรณ์สำหรับการพัฒนาเตาเผาถ่านกัมมันต์ ระบบควบคุมอุณหภูมิ 2.2 วิเคราะห์โครงสร้างและระบบการทำงานภายในเตาเผาถ่านกัมมันต์ 2.3 ออกแบบโครงสร้างและระบบการทำงานภายในระบบฯ ให้เป็นไปตามแผนภาพ บล็อกไดอะแกรม ดังนี้ ภาพที่ 8 บล็อกไดอะแกรมขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3. พัฒนาระบบควบคุมอุณภูมิภายในเตา พัฒนาระบบฯหลังจากที่ได้ทำการออกแบบไว้ โดยการนำเอาความสามารถของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้ทำการศึกษามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้อุณภูมิ มีความเหมาะสมกับการกระตุ้นเพื่อให้เกิดถ่านกัมมันต์ ที่มีคุณภาพ ขั้นตอนที่ 3. ทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาถ่านกัมมันต์ 3.1 ขั้นตอนทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาถ่านกัมมันต์ แบ่งเป็นการทดสอบในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การประเมินทางกายภาพของเตา เช่น ความคงทนแข็งแรง รูปลักษณ์ ความปลอดภัยจากการใช้งาน 2. การประเมินจากการใช้งาน ด้วยวิธีวัดปริมาณของผลผลิตต่อหน่วยเวลา การควบคุมอุณหภูมิภายใน และคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ 3.2 หาคุณภาพของถ่านกัมมันต์ จะแบ่งตามวัตถุดิบต่างชนิดที่นำมาเผาได้แก่ เศษไม้ กะลามะพร้าว และไม้ไผ่ จากเตาเดียวกัน ด้วยวิธีการวัดหาความพรุน ความแข็ง การดูดซับ และค่าความต้านทานทางไฟฟ้า ของถ่านกัมมันต์ ขั้นตอนที่ 4. ด้านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติด้านการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมสู่การปฏิบัติจริงอย่างยั่งยืน มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 4.1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้ 2 รุ่นๆละ 30 คน รวม 60 คน 4.2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประโยชน์และการใช้งาน เตาเผาถ่านกัมมันต์ ในรูปของแผ่นพับ(สำหรับประชาชนที่สนใจทั่วไป) ป้ายประกาศ และบนเว็บไซด์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายอนุสรณ์ สินสะอาด
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
50%
2
นายชัชชัย เขื่อนธรรม
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
50%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru