รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
English-Thai Online Learning Media Development for Promoting and Boosting the Sustainable Community Tourism at Khlong Khang Village
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 ธันวาคม 2563
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ที่ทำการวิจัย ศตวรรษที่21 เป็นยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และมีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมาย เช่น โรบอตRobotTechnology) และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการ ในหลายๆด้าน รวมทั้งการเรียนการสอนให้กับครูและผู้เรียนในห้องเรียนดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 จึงปรับเปลี่ยนบทบาทจาก ครู 1.0 ครู 2.0 และ 3.0ให้เป็นครู 4.0 เพื่อสร้างให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนตนเองเป็นผู้เรียนในยุค 4.0เช่นกัน และผู้เรียนสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การมีภาวะผู้นำ การสื่อสารการใช้ข้อมูลและสารสนเทศการติดต่อสื่อสารทางไกลการใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ การคิดคำนวณ การสร้างอาชีพและการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือที่เรียกว่า "7Cs" (กระทรวงศึกษาธิการ,2559)จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การสร้างนวัตกรรมการติดต่อสื่อสารทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่21 ส่งผลให้ใน ปัจจุบันครูผู้สอนได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษซึ่งนับว่าเป็นการสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดแค่เพียงในห้องเรียนแต่อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนภาษาผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของรูปแบบเทคโนโลยีที่เลือกนำมาใช้ เพื่อพัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ธูปทอง,2557)อย่างไรก็ตามหากครูผู้สอนพัฒนาผู้เรียนจนเป็นผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แล้ว แต่ผู้เรียนยังไม่สามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนได้ อาจสื่อได้ว่าผู้เรียนไม่มีทักษะการเรียนรู้อย่างต่เนื่อง(LifelongLearning)การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษภายนอกห้องเรียนได้จริงนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในศตวรรษที่21 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและมีจุดเน้นสถาบันการศึกษาและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศจากประเด็นยุทธศาตร์ดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์อาจเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาผู้เรียนภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนและเพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องทั้งนี้การเน้นให้ผู้เรียนได้ลงพื้นที่จริงเช่นชุมชนของตนเองจึงนับว่าเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ลองใช้ทักษะภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงอีกด้วยและเนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนจำเป็นต้องมีมัคคุเทศก์ในการนำเที่ยว ในปัจจุบันรัฐบาลมองเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของมัคคุเทศก์ที่มีต่อระบบการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3ของประเทศไทยที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวสูงขึ้น การฝึกผู้เรียนให้สามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนได้จึงนับว่าเป็นการต่อยอดให้ชุมชนนั้นเข้มแข็งมากขึ้น ชุมชนวัดคลองคางตั้งอยู่หมู่ที่ 3ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ทิศเหนือติดต่อกับบึงเสนาททิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำปิงพื้นที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิง สำหรับตำบลเสนาทเป็นที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ราบลุ่ม มีบึงอยู่กลางเป็นที่เก็บน้ำไว้ให้ประชาชน ชาวชุมชนมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายโดยส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่หมู่ที่ 3ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านคลองคางมีสถานที่สำคัญทางศาสนาคือวัดคลองคาง วัดคลองคางได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับแต่เมษายน พ.ศ. 2450 เดิมเรียกว่าวัดบึงเสนาทราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งที่วัดคลองคาง ได้มีพระสุทัศน์ ธรรมะธีโป รองเจ้าอาวาสผู้ริเริ่มนำแพทย์แผนไทยมาให้บริการในวัดด้วยเห็นว่าพระส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดีพระมีภาวะเจ็บป่วยบ่อย ท่านจึงไปดูต้นแบบการให้บริการด้านแพทย์แผนไทยที่วัดหนองหญ้านางจังหวัดอุทัยธานีจึงได้เริ่มทำห้องอบสมุนไพรขึ้นเพื่อให้พระในวัดได้อบสมุนไพรปัจจุบันเปิดให้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้ามาใช้บริการอบสมุนไพร และนอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยเปิดให้บริการซึ่งมีผู้สนใจจำนวนมากนอกจากนี้แล้วในพื้นที่ชุมชนยังได้มีตลาดท่าเรือคลองคาง อยู่บนพื้นที่ตำบลบึงเสนาทอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ท่าเรือเก่าหลังวัดคลองคาง เป็นตลาดวิถีชุมชนชาวบ้านที่มุ่งให้มีบรรยากาศที่มีความเป็นกันเองเย็นสบายๆนั่งชิมอาหารรับลมริมแม่น้ำปิงซึ่งตลาดดังกล่าวได้รับความนิยมมาก ดังจะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านคลองคางตำบลเสนาทมีพื้นที่และวิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เป็นศักยภาพด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์และเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวชุมชนจากวิถีชีวิตของท้องถิ่นแต่อย่างไรก็ตามการมีผู้นำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์จะช่วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาให้เด็กๆในท้องถิ่นให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำเที่ยวหรือเรียกว่ายุวชนมัคคุเทศก์นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้วแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไปคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนจังหวัดนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองคางจังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 3เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง
ขอบเขตของโครงการ :
1.การวิจัยนี้มุ่งบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนในประเด็นดังนี้ 1.แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านคลอง2.การท่องเที่ยววัฒนธรรมและประเพณีบ้านคลองคาง3.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ4.การท่องเที่ยววิถีชีวิตบ้านคลองคาง และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนา 2.การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนครอบคลุมเนื้อหาในด้านหลักการวัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 3.กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและทดลองใช้สื่อออนไลน์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนการพัฒนาสื่อออนไลน์ ได้แก่ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนบ้านคลองคาง กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของสื่อออนไลน์คือ ยุวชนในชุมชนบ้านคลองคาง ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในท้องถิ่นที่ใช้ในการส่งเสริมท้องถิ่นมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ผลการวิจัยครั้งนี้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษารวมทั้งผู้ปกครองต่าง ๆ สามารถนำบทเรียนออนไลน์สองภาษาไปใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ผลการวิจัยในครั้งนี้จะทำให้ได้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาจำนวน 1เรื่องที่เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนของบ้านคลองคาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวที่มี ศักยภาพให้ เติบโตและสนับสนุนภาคการผลิตเน้นการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนใน 4 ประเด็นดังนี้1.แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านคลอง2.การท่องเที่ยววัฒนธรรมและประเพณีบ้านคลองคาง3.การท่องเที่ยวเชิง4.การท่องเที่ยววิถีชีวิตบ้านคลองคางและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาโดยการลงพื้นที่เพื่อการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านคลองคาง จำนวน 20 คนจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ 2.ยกร่างบทเรียนออนไลน์โดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์การส่งเสริมสมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ของยุวชนท้องถิ่นโดยการประชุมกลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) จำนวน 12 คน จากนั้นปรับปรุงหลักสูตรตามข้อแนะนำและจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ 3.นำบทเรียนออนไลน์ไปทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรโดยกลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์ ในจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ 4.นำเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์เผยแพร่ทางเว็บไซต์โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) 5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อทบทวน เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และฝึกพูดภาษาอังกฤษผ่านบทบาทจำลองหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ ที่ได้ทำการประเมินคุณภาพแล้ว ฝึกการเป็นมัคคุเทศก์ในสถานที่จริงภายหลังจากการเรียนบทเรียนออนไลน์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์เป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน และเพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 3)เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล)กลุ่มตัวอย่างเป็นครู ผู้ที่่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองคาง จำนวน 32 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล)จำนวน 30 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ดังนี้ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า5 ระดับ (Rating Scale) และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวศราธรณ์ หมั่นปรุ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายเอกวิทย์ สิทธิวะ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย