รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาศักยภาพยุวชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลอง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development of Local Youth ’s Potential to Promote Sustainable Community- Lifestyle Tourism in Klongkang Villlage
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 ธันวาคม 2563
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การท่องเที่ยวมีองค์ประกอบที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือมัคคุเทศก์ ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลมองเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของมัคคุเทศก์ที่มีต่อระบบการท่องเที่ยว จึงได้มีการออกกฎหมายพระราชบัญญัติมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 และในทางปฏิบัติ มัคคุเทศก์เป็นผู้ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวมากที่สุด และเป็นผู้นักท่องเที่ยวให้ความไวว้างใจซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจหรือความไม่ประทับใจต่อการท่องเที่ยวได้ทั้งยังเป็นตัวแทนของประเทศ ดังนั้นหากมีมัคคุเทศก์ดีมีจรรยาบรรณ มี มารยาทและมีคุณธรรม การท่องเที่ยวของประเทศก็ย่อมดีด้วย เพราะนักท่องเที่ยวมีความรู้สึกประทับใจและมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆนั้นและเกิดภาพพจน์ที่มีต่อประเทศที่เดินทางไปเยือน ฉะนั้น มัคคุเทศก์จึงมีหลายบทบาทในคนเดี่ยวกัน ตั้งแต่เป็นครูนักจิตวิทยา นักแสดง รวมทั้งนักการทูตด้วย มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจบริการท่องเที่ยว และจาก ประวัติศาสตร์ที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าก็อาจกล่าวได้ว่า “มัคคุเทศก์” เป็นอาชีพหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดา อาชีพเก่า ๆ ของโลก เพราะมนุษย์เริ่มมีการท่องเที่ยวหรือการเดินทางมาเป็นเวลาช้านานแล้ว จะเห็นได้ว่าในสมัยแรกเริ่มมีผู้กล่าวถึงมัคคุเทศก์ในการเป็นผู้นำเที่ยว หรือผู้นำทาง ได้แก่ “ผู้เบิกทาง” (Pathfinders) “คนนำเที่ยว” (Bear leaders) “ตัวแทน” (Proxemos) และคนนำทางนักท่องเที่ยว ( Cicerones) ชุมชนวัดคลองคางตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ทิศเหนือติดต่อกับบึงเสนาททิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำปิง พื้นที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิง สำหรับตำบลเสนาทเป็นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบลุ่ม มีบึงอยู่กลางเป็นที่เก็บน้ำไว้ให้ประชาชน ชาวชุมชนมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ปลูกผัก ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านคลองคางมีสถานที่สำคัญทางศาสนาคือวัดคลองคาง วัดคลองคางได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2450 เดิมเรียกว่า วัดบึงเสนาทราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งที่วัดคลองคาง ได้มีพระสุทัศน์ ธรรมะธีโป รองเจ้าอาวาส ผู้ริเริ่มนำแพทย์แผนไทยมาให้บริการในวัดด้วยเห็นว่าพระส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดี พระมีภาวะเจ็บป่วยบ่อย ท่านจึงไปดูต้นแบบการให้บริการด้านแพทย์แผนไทยที่วัดหนองหญ้านาง จังหวัดอุทัยธานี จึงได้เริ่มทำห้องอบสมุนไพรขึ้น เพื่อให้พระในวัดได้อบสมุนไพร ปัจจุบันเปิดให้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้ามาใช้บริการ อบสมุนไพร และนอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มอาชีพนวดแผนไทย เปิดให้บริการซึ่งมีผู้สนใจจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ชุมชนยังได้มีตลาดท่าเรือคลองคางอยู่บนพื้นที่ตำบลบึงเสนาทอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ท่าเรือเก่าหลังวัดคลองคาง เป็นตลาดวิถีชุมชนชาวบ้าน ที่มุ่งให้มีบรรยากาศที่มีความเป็นกันเองเย็นสบายๆนั่งชิมอาหารรับลมริมแม่น้ำปิงซึ่งตลาดดังกล่าวได้รับความนิยมมากดังจะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านคลองคาง ตำบลเสนาทมีพื้นที่และวิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เป็นศักยภาพด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวชุมชนจากวิถีชีวิตของท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามการมีผู้นำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์จะช่วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาให้เด็กๆในท้องถิ่นให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำเที่ยว หรือเรียกว่ายุวชนมัคคุเทศก์ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้วแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไปคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาศักยภาพยุวชนท้องถิ่นในด้านการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมัคคุเทศก์ สมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 3. เพื่อพัฒนาสมรรถนะยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง อย่างยั่งยืน 4. เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัย 3 ประเด็นได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 2) การพัฒนาสมรรถนะยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน และ3) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการวิจัย ครั้งนี้กำหนดขอบเขตด้านพื้นที่ในชุมชนบ้านคลองคาง หมู่ที่ 3 ตำบลเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ประชากรยุวชนในชุมชนบ้านคลองคาง หมู่ที่ 3 ตำบลเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.การวิจัยครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการสร้างรายได้ ให้ชุมชนบ้านคลองคงจากการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยังช่วยให้ยุวชนในท้องถิ่นบ้านคลองคางมีรายได้จากการเป็นมัคคุเทศก์ 2.การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรการฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ไปใช้ในการพัฒนายุวชนในท้องถิ่นด้านการนำเที่ยวและการพัฒนาภาษาอังกฤษ 3.การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในการนำสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว 4. การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำการท่องเที่ยวของยุวชนในท้องถิ่น และการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนซึ่งเป็นทักษะการสื่อสารที่จำเป็นในสังคมปัจจุบัน 5. ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติ (TCI กลุ่ม 1) หรือนานาชาติ ได้อย่างน้อย 4 บทความ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ศึกษาข้อมูลบริบทและศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านคลองคางจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง 2. ยกร่างหลักสูตรฝึกอบรมโดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น ประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์ การส่งเสริมสมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ของยุวชนท้องถิ่นโดยการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) จำนวน 12 คน จากนั้นปรับปรุงหลักสูตรตามข้อแนะนำ และจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ จากนั้นนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม 3. พัฒนาสมรรถนะยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนโดยการฝึกอบรมหลักสูตรยุวชนมัคคุเทศก์ให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 25 คน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริง และฝึกปฏิบัติการเป็นผู้นำการท่องเที่ยว จากนั้นประเมินความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการนำการท่องเที่ยว และประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและชาวชุมชนบ้านคลองคางที่มีต่อการพัฒนายุวชนมัคคุเทศก์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนา 4. พัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนโดยการออกแบบและสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน 5 ชุด และทำการประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้สื่อกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 25 คนเพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อ และเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในสื่อสังคมออนไลน์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
ชุดโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง และเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว การดำเนินงานวิจัยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลบริบทและศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านคลองคางจากการสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นโดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น ประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3) พัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนโดยการออกแบบและสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ และทำการประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้สื่อกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ที่สมัครใจเข้
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวธิดากุล บุญรักษา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 30%
2 นางสาวศราธรณ์ หมั่นปรุ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
3 นางสาวพรพรรณ โพธิสุวรรณ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
4 นายเอกวิทย์ สิทธิวะ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย