รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of Media and innovation for parents to enhance EF brain skills of early childhood in Child Development Center under the Local Administrative Organizations of Krok Phra District, Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
2 มีนาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
31 พฤษภาคม 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การพัฒนาศักยภาพของเด็กรุ่นใหม่ จำเป็นต้องมีการพัฒนาความสามารถที่หลากหลาย ที่ไม่ใช่เพียงความสามารถทางสติปัญญา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ แต่ในปัจจุบันนักจิตวิทยา นักสรีรวิทยา และแพทย์ ได้ทำการศึกษาสมองและหาความสัมพันธ์ของสมองและพฤติกรรมในศาสตร์ที่เรียกว่า “ประสาทวิทยาและจิตวิทยา” พบว่า ความสำเร็จด้านการเรียนของเด็กนั้นไม่ได้อาศัยเพียงแค่พัฒนาการด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยทักษะด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย (อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. 2555 : 46) ทักษะด้านหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง คือ ทักษะ EF (Executive Functions) เป็นความสามารถระดับสูงของสมองในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย EF ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ 9 ประการ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะคนไทย 4.0 ได้แก่ 1) ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 2) ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3) ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 4) ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 5) การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 6) การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 7) การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 8)การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) และ 9) การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) จึงกล่าวได้ว่าทักษะสมอง EF จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่า IQ หรือ EQ ของเด็กปฐมวัย ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูและผู้ปกครองควรทำความเข้าใจและส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กอายุระหว่าง 3 – 5 ปี พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีความพร้อมเหมาะสมกับวัย ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย โดยมุ่งหวังที่จะให้บริการเลี้ยงดูเด็ก จึงได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นมาตามความต้องการจำเป็นของแต่ละชุมชน สำหรับในอำเภอโกรกพระจังหวัดนครสวรรค์มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 9 ศูนย์ มีเด็กปฐมวัยจำนวน 336 คน ซึ่งหากผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนี้ ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้าใจต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการจะทำให้เด็กปฐมวัยนี้พัฒนาเป็นทรัพยากรที่สำคัญของท้องถิ่นและประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function)ดังนี้ 1.1 ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 1.2 ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 1.3 ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 1.4 ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 1.5 ทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 1.6 ทักษะการประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 1.7 ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 1.8 ทักษะการวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) 1.9 ทักษะการมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อประเมินคุณภาพสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ขอบเขตของโครงการ :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. ศึกษาเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Function) และการออกแบบสื่อและนวัตกรรมระดับปฐมวัย 2. ศึกษาสำรวจสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นร่วมกับผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และ อบต. และศึกษาแนวคิดการส่งเสริมทักษะสมอง EF เพื่อออกแบบสื่อและนวัตกรรมจำนวน 23 คน ประกอบด้วย 2.1 ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 5 คน 2.2 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 16 คน 2.3 ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 คน 2.4 อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในระดับอุดมศึกษาจำนวน 1 คน ขอบเขตด้านระยะเวลา ดำเนินการใช้เวลา 15 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยนี้มุ่งพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการใช้สื่อและนวัตกรรม, สื่อและนวัตกรรมส่งเสริมทักษะสมอง EF ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จำนวน 12 คน ดังนี้ - ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระจำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ - ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จำนวน 12 คน ได้มาโดยคัดเลือกกลุ่มที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ (Voluntary Sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างต้องมีความสนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจและร่วมกิจกรรมการอบรมตามที่ผู้วิจัยกำหนด - ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จำนวน 5 คน โดยศึกษาจากครูทุกคนที่ทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตตัวแปร คุณภาพสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) ด้านความถูกต้อง ความคงทน ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในสภาพจริง ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 12 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลการทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function)ของเด็กปฐมวัย เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเบื้องต้นของสื่อและนวัตกรรมด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) และนำหลักสูตรไปทดลองใช้ (Pilot study) เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทของผู้ปกครอง ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง - ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ซึ่งเป็นบุคคลที่ผ่านการทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษา คือ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ขอบเขตด้านระยะเวลา ดำเนินการภายหลังจากเสร็จสิ้นการทดลอง 1 สัปดาห์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ศูนย์พัฒนาเด็ก อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์จะนำรูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กไปใช้ในการพัฒนาผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจะทำให้เด็กปฐมวัยในเขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะทางสมองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีลักษณะการเป็นคนไทย 4.0 ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น และสังคมประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย วิธีดำเนินการวิจัย การดำเนินการในขั้นตอนนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ดำเนินการดังนี้ 1. วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ตำรา บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎี สภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมและทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย 2. ศึกษาสำรวจสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น และสัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในระดับอุดมศึกษา 3. นำข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์ จัดทำกรอบในการร่างรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความเป็นมา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล 4. ออกแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย สำหรับใช้ในการทดลองรูปแบบพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ชุด ดังนี้ 1 จิ๊กซอว์แสนสนุก ทักษะ EFที่ได้รับ -ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย 2 เหรียญส่งเสริมทักษะภาษา ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ – การมุ่งเป้าหมาย 3 คู่ของฉันอยู่ไหนเอ่ย? ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 4 ลวดลายหรรษา ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 5 เรขาคณิตสร้างสรรค์ ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 6 นิทาน หนูจ๋าเสียงใคร (เกมจับคู่ภาพเงา) ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 7 นิทาน บ้านนี้มีเด็กขี้โมโห(เกมจัดกลุ่มอารมณ์)ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 8 นิทานป๋องแป้งไม่อยากกิน(กินอะไรดีเอ่ย ! )ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 9บทบาทสมมติ “อาหารจานโปรด” ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 10 ภาพมหัศจรรย์ ทักษะ EFที่ได้รับ - ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง - การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย - การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 5. นำร่างรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมของสื่อ 6. ปรับปรุงแก้ไขรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยให้สมบูรณ์ ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ แหล่งข้อมูล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ 1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในระดับอุดมศึกษา ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 100 คน 2. ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน (ภาคผนวก ก) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ เพื่อสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย และ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การสร้างแบบสัมภาษณ์ มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 1. ศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย 2. ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ โดยเฉพาะแบบสัมภาษณ์และกำหนดกรอบเนื้อหาของการสัมภาษณ์ 3. กำหนดประเด็นสัมภาษณ์โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาที่กำหนด การสร้างแบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 1. ศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย 2. ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3. กำหนดประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 4. สร้างประเมินคุณภาพสื่อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และกำหนดประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 5. นำแบบประเมินคุณภาพสื่อที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของประเมินคุณภาพสื่อ 6. วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของประเมินคุณภาพสื่อและพิจารณาการผ่านเกณฑ์ต้องมีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป 7. ปรับปรุงประเมินคุณภาพสื่อตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และจัดทำแบบประเมินคุณภาพสื่อฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ผู้วิจัยติดต่อเพื่อขอความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน เพื่อนัดหมายกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อทำการสัมภาษณ์ จากนั้นผู้วิจัยติดต่อผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน เพื่อขอความร่วมมือในการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย 2. นำผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ พิจารณาค่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์นำมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอผลการวิเคราะห์โดยการบรรยาย 2. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพสื่อ ใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแปลผลตามเกณฑ์ดังนี้ (รัตนะ บัวสนธ์, 2551 : 45) ดังนี้ 4.50-5.00 หมายถึง มีคุณภาพในระดับมากที่สุด 3.50-4.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับมาก 2.50-3.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับปานกลาง 1.50-2.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับน้อย 1.00-1.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับน้อยที่สุด ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะส
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
งานวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาผู้ปกครองในด้านการส่งเสริมทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยใช้แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory action research) ประกอบไปด้วยการพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง การพัฒนาและศึกษาผลการใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย การพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย และการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคชุมชนเรียนรู้ (PLC) สำหรับผู้ปกครองและครูที่สอดคล้องกับบริบทและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในยุค 4.0 สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนงค์นารถ ยิ้มช้าง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นางสาวสุชานาฏ ไชยวรรณะ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย