รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
สรรค์สร้างเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Economy is made up of Products at Sa-Thale Subdistrict, Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การสร้างสรรค์งานออกแบบผลิตภัณฑ์ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา กับความคิดเชิงสร้างสรรค์ทางการออกแบบและ กระบวนการ เพื่อก่อเกิดแบบอัตลักษณ์ของชุมชนที่มีความร่วมสมัย เหมาะสม กับรูปแบบวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ตอบความต้องการใช้สอยของ มนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ คือมีประโยชน์และความงามทางศิลปะเพื่อยกระดับจิตใจ ของมนุษย์ โดยการพัฒนาคุณภาพ ให้ได้มาตรฐานที่ดี จึงควรคิดค้นพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้การใช้ วัสดุและใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาบริบททางวัฒนธรรมชุมชน ต.สระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2. ออกแบบผลิตภัณฑ์ ต.สระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3.เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านพื้นที่ บ้านสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านข้อมูล 1. ข้อมูลบริบทชุมชนสระทะเล 2.ข้อมูลความต้องการของชุมชนและผู้บริโภค 3. ข้อมูลด้านการออกแบบ เทรนด์การออกแบบ เทรนด์ด้านการตลาดในปัจจุบันและอนาคต 4.การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางดานวัฒนธรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ข้อมูลเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้สำหรับสร้างสื่อเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 2. ได้ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 3. ได้กลุ่มสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวและจำหน่ายของที่ระลึก 4. ได้เครือข่ายกลุ่มชุมชนบ้านสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 5.ส่งผลทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ทำรายได้ให้คนในท้องถิ่นมากขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำความเข้าใจ และรับฟังปัญหาด้านต่างๆ 2. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนาม ปราชญ์ชาวบ้าน และวิเคราะห์ข้อมูลความเป็นอัตลักษณ์ในท้องถิ่น 3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการออกแบบสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ให้เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนของสาขาวิชาการออกแบบ 4.พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เต้นกำรำเคียว4.1 นำข้อมูลที่เก็บจากข้อมูลภาคสนาม นำมาวิเคราะห์และออกแบบ 4.2 สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 4.3 นำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกไปทดลองจำหน่าย โดยสอบถามผู้บริโภค 4.4 ปรับปรุงและแก้ไข 4.5 ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เต้นกำรำเคียว 5.สรุปงานวิจัย และจัดทำเอกสาร
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายพรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 20%
2 นายธีรพร พรหมมาศ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
3 นางสาวเพียงพิศ ชะโกทอง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
4 นางสาวทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%
5 นางสาวชุณษิตา นาคภพ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 20%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย