รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การสร้างสรรค์การ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่องานประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Cartoon animation creation for public relations for the local development project of Nakhon Sawan Rajabhat University.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การ์ตูนแอนิเมชัน คือการทําให้ภาพนิ่งเกิดการเคลื่อนไหว มีการใส่เสียงประกอบ และมีสีสันสดใส จึงทําให้งานที่พัฒนาเป็นแอนิเมชันมีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์เรามักเลือกที่จะมองรูปภาพ หรืออะไรที่มีสีสันก่อนมองเนื้อหาเสมอ ปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากจึงทําให้เกิดเครื่องมือสําหรับสร้างงานกราฟิกและแอนิเมชันที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานแอนิเมชันและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความนิยมใช้งานแอนิเมชันช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท ทําให้แอนิเมชันได้เข้ามามีบทบาทกับงานหลาย ๆ ด้าน การสร้างงานแอนิเมชันจะช่วยทําให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นแอนิเมชันยังเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยมทำให้สามารถใช้จินตการได้อย่างไม่มีขอบเขตและสามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีภารกิจและพันธกิจสำคัญนอกเหนือจากการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ก็คือการบริการวิชาการและการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และด้วยสถานภาพของ “มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น” ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของประเด็นและได้ดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมาจากต่อเนื่อง และทำให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรก็ตามแม้ว่าการจัดทำโครงการจะสำเร็จลุล่วงได้ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ก็ยังขาดการประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมการดำเนินการดังกล่าวให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างแพร่หลายในวงกว้าง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงแนวคิดที่จะนำศึกษาและคัดสรรโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จำนวน 5 พื้นที่เพื่อนำมาสร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงและผลิตเป็นการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่องานประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อสร้างการรับรู้โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อย่างแพร่หลาย
ขอบเขตของโครงการ :
สร้างการ์ตูนอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่องานประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. มหาวิทยาลัยได้การ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 ตอน 2. ผู้ชมเกิดการรับรู้รับทราบโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1.ศึกษาข้อมูลโครงการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และคัดสรรพื้นที่ที่มีการจัดโครงการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2.ศึกษาการเขียนบทแอนิเมชันและการสร้างแอนิเมชัน 3.วางโครงเรื่องบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น 4.เขียนบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น 5.สร้างแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
คณะผู้วิจัยนำแนวคิดที่จะนำศึกษาและคัดสรรโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 พื้นที เพื่อนำมาสร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงและผลิตเป็นแอนิเมชันเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางวัฒนาพร วัฒนชัยธรรม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%
2 นายธนพัฒน์ วัฒนชัยธรรม นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%
3 นายเอกวิทย์ สิทธิวะ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย