รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษารูปแบบการเลี้ยงและวิถีการตลาดหนูพุกเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Evaluation of Commercial Raising Bandicoot Rats System and Marketing Channal : A Case Study in Uthai Thani
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เมื่อปลายปี 2562 นับเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วทั้งโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งการทำกิจกรรมต่าง ๆ และวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระต่อต่อเศรษฐกิจและสังคมหลายธุรกิจกิจประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจภาคบริการ บางกิจการได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวไป วิกฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระทบในวงกว้างไปยังภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตและการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องเสี่ยงต่อการปิดกิจการ ทำให้แรงงานจำนวนมากเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง ตลอดจนประชาชนทั่วไปไม่สามารถประกอบอาชีพหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ทำให้ขาดรายได้ไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ดังจะเป็นจากการรายงานข้อมูลภาคการผลิตช่วงเดือน เมษายน พ.ศ. 2563 มีการจ้างงานลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563) จากการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย นอกจากจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักแล้วยังส่งผลกระทบไปยังธุรกิจขนาดใหญ่ที่เปรียบเสมือนต้นน้ำไปจนถึงผู้ผลิตและแรงงานที่ปลายน้ำอีกด้วย ไม่จะเป็นหน่วยเศรษฐกิจรายย่อย SME ผู้ใช้แรงงานหรือเกษตรกร หลายคนมองว่าภาคเกษตรยังมีศักยภาพในการรองรับการจ้างแรงงานสำหรับแรงงานที่กลับไปภูมิลำเนาของตนเองได้ แต่ปัญหาภัยแล้งและปัญหาเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ของภาคเกษตรไทยในปัจจุบันอาจทำให้เป็นไปได้ยากขึ้น (Attavanich et al, 2019) นอกจากนี้ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลโดยตรงต่อรายได้เกษตรกรที่พึ่งพิงรายได้จากการรับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการทำการเกษตรคิดเป็นรายได้ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมด ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 มาจากการรับจ้างนอกภาคเกษตร และร้อยละ 40 เป็นรายได้จากญาติที่ทำงานต่างจังหวัด โดยรายได้จากการรับจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรลดลงกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้รายได้จากเงินโอนของครัวเรือนลดลงร้อยละ 12 ซึ่งรายได้ที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจากการตกงาน ในขณะที่รายได้ของครัวเรือนจากการทำธุรกิจการค้าลดลงร้อยละ 23 ดังนั้นโดยภาพรวมผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของแรงงานแล้วยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังรายได้ของครัวเรือนแรงงานในภาคการเกษตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย แต่วิกฤติครั้งนี้กลับเป็นโอกาสแรงงานกลับคืนสู่ท้องถิ่นของตนเอง เป็นโอกาสที่จะมีแรงงานคุณภาพและอายุน้อยที่พร้อมทำงาน และน่าจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรไทยและเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งโอกาสนั้นได้มาจากข้อจำกัดที่บีบบังคับให้เกษตรกรต้องเรียนรู้และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเพิ่มผลิตภาพ และสร้างคุณค่าและการเข้าถึงตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตรตลอดจนเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น อุทัยธานีเป็นจังหวัดที่มีกลิ่นอายของวิถีชีวิตไทย เป็นเมืองที่น่าอยู่และเป็นเมืองแห่งธรรมชาติที่หลากหลาย สภาพทั่วไปเป็นป่าและภูเขา ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน บริเวณตอนกลางของจังหวัดเป็นพื้นที่ดอนพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทางการเกษตร จากสภาพพื้นที่ดังกล่าวทำให้จังหวัดอุทัยธานีประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นอยู่กับภาคนอกเกษตรร้อยละ 65.34 ภาคเกษตรร้อยละ 36.66 โดยภาคนอกเกษตรที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต (ร้อยละ 23.36) รองลงมาคือ การขายส่งและการขายปลีก จากรายงานสถานการณ์แรงงานของจังหวัดอุทัยธานี ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 พบว่า เศรษฐกิจของจังหวัดโดยรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจากอุปทานการผลิตภาคเกษตรลดตัว ปริมาณผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 50.0 แต่อัตราการว่างงานของประชากรในจังหวัดอุทัยธานีกลับมีอัตราสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงานจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ย้ายกลับบ้านเกิด ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรลดตัวลงมากกว่างร้อยละ 40 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการลดตัวเกิดจากยอดขาย (สำนักงานแรงงานจังหวัดอุทัยธานี, 2564) ดังนั้นหากแรงงานที่ย้ายกลับบ้านเกิดมีอาชีพรองรับนำมาซึ่งสร้างรายได้สำหรับเลี้ยงตนเองและครอบครัว นอกจากจะจะช่วยลดอัตราการว่างงานแล้วยังช่วยให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านการทำฟาร์มหนู หรือการเลี้ยงหนูเชิงพาณิชย์ ถือเป็นอาชีพเสริมจากการทำอาชีพเกษตรในเขตภาคอีสานแถบจังหวัดหนองคาย กาฬสินธุ์ ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพที่กำลังได้รับความนิมจากเกษตรไม่เพียงแต่จังหวัดในภาคอีสานเท่านั้น การทำฟาร์มหนูยังพบในเขตภาคภาคเหนือ และภาคกลางอีกด้วย ด้วยการเลี้ยงทำได้ง่ายการลงทุนค่อนข้างต่ำแต่สามารถสร้างรายได้สูงถึงเดือนละ 30,000 – 100,000 บาท ดังจะเห็นได้จากจำนวนแรงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงหนูพุกเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว จากการสำรวจและลงพื้นสัมภาษณ์เบื้องต้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหนูพุกในลักษณะของฟาร์มในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี พบว่า รูปแบบการเลี้ยงหนูพุกเกิดจากการเรียนรู้แบบทดลองกันเอง ยังไม่มีรูปแบบการเลี้ยงและการตลาดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด ใช้วงบ่อซีเมนต์วางซ้อนกันเพื่อกันหนูพุกกระโดดหนี สำหรับการตลาดส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายพ่อและแม่พันธุ์ ให้กับกลุ่มอาชีพเลี้ยงหนูด้วยกัน ส่วนเนื้อหนูพุกจำหน่ายโดยตรงหน้าฟาร์มที่ราคากิโลกรัมละ 150 บาท สร้างรายได้เพียง 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น จากราคาขายและรายได้ต่อเดือนของฟาร์มหนูพุกในเขตจังหวัดอุทัยธานีนั้นถือว่ายังมีราคาขายที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับราคาขาย รายได้ต่อเดือน และความนิยมของผู้บริโภคภาคอีสาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการการเลี้ยงหนูเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี โดยมุ่งเน้นพัฒนาทางศักยภาพผู้ประกอบการด้านรูปแบบการเลี้ยง โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมแต่ต้นทุนไม่สูงเข้ามาช่วยในกระบวนการ ตลอดจนสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคหนูพุกเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด โดยให้เกษตรกรศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติ และเสนอแนะแนวทางความคิดเห็นร่วมกัน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี
ขอบเขตของโครงการ :
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในตามแบบจําลอง PRIMO-F Analysis 1.2 วิเคราะห์สภาพภายนอกตามแบบ PEST Analysis 1.3 วิเคราะห์ความน่าสนใจในการลงทุน ด้วย Nine Cell Matrix 2. ออกแบบรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก ด้าน การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค และช่องทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางแข่งขัน 3. ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุกโดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้ข้อมูลสภาพแวดล้อมของฟาร์มหนูพุกจังหวัดอุทัยธานี 2. ได้ต้นแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคและการเข้าถึงช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก 3. เป็นช่องทางการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4. สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ฟาร์มหนูพุกจังหวัดอุทัยธานี
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุก และวิธีการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง ตลอดจนการสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค และช่องทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางแข่งขัน 2. ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี ด้วยทฤษฎี SWOT Analysis โดยวิเคราะห์ข้อมูลบริบทภายในตามแบบจําลอง PRIMO-F Analysis โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจโดยใช้แบบจําลอง PEST Analysis และวิเคราะห์ความน่าสนใจในการลงทุนด้วย Nine Cell Matrix 3. ดำเนินการออกแบบรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคและการเข้าถึงช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก 4. ดำเนินการทดลองรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ร่วมกับผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก ตำบลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 5. สรุปผลการศึกษา 6. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ สถานที่ทำการเก็บข้อมูล : จังหวัดอุทัยธานี
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 70%
2 นางสาวกรรณิการ์ มิ่งเมือง นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 30%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย