รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of self-satisfaction skills based on the sufficiency economy philosophy
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 (พ.ศ. 2564) การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยมีหลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ หลายด้าน ในโจทย์วิจัยนี้ มี ข้อ 1. “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เพื่อให้ เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและ การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สร้างโอกาสและมีที่ยืนให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิต ที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเป็นการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวิถีชีวิต ค่านิยม ประเพณีและวัฒนธรรม และข้อ 2) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม จากหลักสำคัญของแผนพัฒนาฯ นี้ จะบรรลุเป้าหมายได้จะต้องอาศัยนโยบายของรัฐบาล 11 ด้าน ในด้านที่สอดคล้องของหลักสำคัญของแผนพัฒนาฯ นี้ คือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนา และ นวัตกรรม ซึ่งสนับสนุนการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อมุ่งเป้าหมายให้ไม่ต่ำกว่า 1% ของรายได้ประชาชาติ และมีสัดส่วนรัฐต่อเอกชน 30:70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน การวิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาในวิกฤตศตวรรษที่ 21 นี้ โดยเฉพาะปัญหาโรคระบาด ประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพบกับวิกฤตโรคระบาค คือ โรคโคโรน่า หรือ โรคโควิด 19 ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษกิจเป็นอย่างมาก ซึ่ง มูลนิธิเศรษฐศาสตร์นอกขนบโดยสุวิทย์สรรพวิทยศิริ “มูลนิธิสวค.” กล่าวว่า ผลกระทบของโรคระบาดโควิด 19 ทำให้ประเทศไทย ตลอดปี พ.ศ. เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 9.2 ในระดับที่ดีที่สุดในรอบ 20 ปีที่จะทำให้หลาย บริษัท ต้องปิดตัวลงและปัญหาการมีงานทำและการจับจ่ายใช้จ่าย และในวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 รายงานว่า นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เผยถึงภาวะสังคมไทยประจำไตรมาส 1 ของปี 2563 ว่า จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.03 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานโดยประเมินว่าในไตรมาส 2 ของปี อาจเห็นผลชัดเจนและจะส่งผลต่อแรงงานเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 8.4 ล้านคน ทั้งกลุ่มท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงเด็กจบใหม่ 5.2 แสนคน ปีนี้จะหางานได้ยากมากขึ้น ความจำเป็นที่จะทำการวิจัยและพัฒนาให้คนไทย “พึ่งตนเองได้” ดังพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร. 9 ได้ตรัสไว้ว่า การพึ่งตนเอง นั้น หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) ....... บางคนแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี่ มีคนบางคน พูดว่าชอบกลใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธแต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็ต้องเสียหลักหกล้มหรือล้มลง อันนี้ก็เป็นความคิดที่อาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) หมายความว่า สองขาของ เรานี่ ยืนบนพื้น ให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืนขาของคนอื่นมา ใช้สำหรับยืน... ซึ่ง หลักการพึ่งตนเอง ต้องมีความพอดี 5 1) ความพอดีด้านจิตใจ ต้องเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม 2) ความพอดีด้านสังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน รู้จักผนึกกำลังและมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง 3) ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป 4) ความพอดีด้านเทคโนโลยีรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง เพื่อสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง 5) ความพอดีด้านเศรษฐกิจ เพื่อรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่าง ดังนั้น การวิจัยและการพัฒนา ในเรื่อง การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ในภาวะโรคระบาคโควิด 19 สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือน ชุมชน และสังคมได้เป็นอย่างดีทำให้คนในครอบครัวพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดถึงคนในชุมชนนั้นช่วยเหลืออาทรกัน เป็นสังคมที่สันติสุขได้ โดยการเริ่มต้นที่โรงเรียน เยาวชน ไปสู่ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป ที่สำคัญจะต้องพึ่งตน รักษาดูแลตนเองให้ดีที่สุด ก่อนที่มองหาผู้อื่นมาช่วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อพัฒนา ปฏิบัติการ ฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนในยามวิกฤตโรคระบาคโควิด 19 และนำเสนอรูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
1) ขอบเขตด้านประชากร ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 35 คน 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ทำการศึกษาชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3) ขอบเขตด้านระยะเวลา 1 ปี 4) ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องต่อไปนี้ วิถีชีวิตชุมชนมาบแก ทักษะการพึ่งตนเอง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ชุมชนตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ให้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีกลุ่มชุมชนพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3. บทความวิจัย หนังสือ ตำรา 4. เป็นฐานข้อมูลทางวิชาการสำหรับนักวิชาการทั่วไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         วิธีการดำเนินวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจ สังเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากเอกสาร งานวิจัย และวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชนจำนวน จำนวน 7 หมู่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างหมู่ละ 5 คน รวมทั้งหมด 35 คน ขั้นตอนที่ 2 - การออบแบบ พัฒนารูปแบบ วิธีการ ในการพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยผู้วิจัย กลุ่มตัวอย่าง 7 หมู่บ้าน หมู่ละ 5 คน รวม 35 คน เข้าอบรมระดมความคิด - กาพัฒนาฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกลุ่มอย่าง จำนวน 35 คน ลงมือปฏิบัติจริง ขั้นตอนที่ 3 ส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่าง เผยแพร่ หรือขยายเครือข่ายในหมู่บ้านของตน และการนำเสนอผลงานการวิจัย เรื่อง ทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในที่ประชุมสัมมานาทางวิชาการ หรือการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการให้กว้างขวาง การพัฒนาเครื่องมือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยจัดทำแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ นำไปให้ผู้เชี่่ยวชาญ จำนวน 5 ท่านตรวจสอบความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างอื่นจาก กลุ่มตัวอย่างทำวิจัย แล้วนำมาปรับปรุง เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างการทำวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล แจกแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมเตรียมนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การประเมินผลในส่วนการพัฒนา เก็บข้อมูลชุมชน เช่น รูปภาพ ก่อน และเปรียบเทียบ หลังโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ที่่ตั้งไว้ คิดเป็นร้อยละ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญในปัจจุบันปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกให้ชุมชนมีทักษะการพึ่งตนเองให้มากที่สุด วัตถประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อพัฒนา ปฏิบัติการ ฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแกอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนในยามวิกฤตโรคระบาคโควิด 19 และนำเสนอรูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตการวิจัย 1) ขอบเขตด้านประชากร ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 35 คน 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ทำการศึกษาชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3) ขอบเขตด้านระยะเวลา 1 ปี 4) ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องต่อไปนี้ วิถีชีวิตชุมชนมาบแก ทักษะการพึ่งตนเอง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายธนสิทธิ์ คณฑา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย