รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเบิกงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Factors affecting budget disbursement performance Of Nakhon Sawan Rajabhat University
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเชิงปฎิบัติ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         งบประมาณมีบทบาทต่อการบริหารงานขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นอย่างมากถือเป็นกลยุทธ์หลักในการบริหารเนื่องจากเป็นปัจจัยที่สําคัญในการดําเนินงานขององค์กรและ เป็นเครื่องมือที่สําคัญที่จะบ่งชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน การวางแผน ตลอดจน การควบคุมและตัดสินใจของผู้บริหารในหน่วยงานนั้นว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงาน ต่าง ๆ มีเป้าหมายร่วมกันและมีการประสานงานกันด้วยดี (เกริก เกียรติพิพัฒน์เสรีธรรม,2552) แต่ด้วยการดำเนินโครงการต่าง ๆ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะต้องดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ซึ่งในภาพรวมของแต่ละหน่วยงานจะเห็นได้ว่ามีความผิดพลาดที่เกิดจากการดำเนินเรื่องเอกสารการเบิกจ่าย อันมีผลทำให้การปิดโครงการไม่ราบรื่น เกิดการติดขัดในเรื่องรายละเอียดในการเบิกจ่ายเงินประมาณในแต่ละโครงการนั้น ซึ่งจากสถิติการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้จากระบบรับ-ส่งและติดตามเอกสารการเบิกจ่ายเงินของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2563 นั้น มีจำนวนเรื่องเบิกจ่าย เป็นจำนวน 47,379 เรื่อง พบว่ามีเรื่องที่เกิดความผิดพลาดที่ต้องดำเนินการแก้ไข จำนวน 10,925 เรื่อง ซึ่งเกินร้อยละ 20 ของเรื่องทั้งหมด ส่งผลให้การดำเนินการปิดโครงการตามปีงบประมาณเกิดความล่าช้า จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กรณีศึกษาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน แก้ไขปัญหา การใช้จ่ายงบประมาณ และนำผลการศึกษาที่ได้ไปนำเสนอมหาวิทยาลัย ฯ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อนำผลจากการศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการเบิกจ่ายงบประมาณต่อไป
ขอบเขตของโครงการ :
1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ กรณีศึกษาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เท่านั้น 2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ จำนวน 692 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 ผู้เดินทางไปราชการ 2.2 ผู้ปฏิบัติงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณ 3. กลุ่มตัวอย่าง ไม่น้อยกว่า 250 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ผู้วิจัยทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 2. ผู้วิจัยนำผลการวิจัยไปนำเสนอผลการวิเคราะห์ให้กับหน่วยงานอื่นภายในมหาวิทยาลัย ฯ เพื่อนำไปปรับใช้ไห้เกิดประสิทธิภาพ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยดำเนินการวิจัยดังนี้ 1. ผู้วิจัยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ 2. ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ ฯ 3. ผู้วิจัยเสนอเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข 4. ผู้วิจัยนำเครื่องมือไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เลือกแบบเจาะจง 5. ผู้วิจัยสรุปและประเมินผลจากการสำรวจข้อมูลประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 5.1 ผู้เดินทางไปราชการ 5.2 ผู้ปฏิบัติงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณ 6. การวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญ โดยหาคาเฉลี่ย และหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางวิภารัตน์ ศรีเพ็ชร นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย