รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Development of Web Application for Knowledge Management of Academic Resources and Information Technology Center of Nakhon Sawan Rajabhat University
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :
17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยและพัฒนา
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ดําเนินการจัดการความรู้ภายในหน่วยงานตามแผนการจัดการความรู้ที่ได้เสนอและรายงานผลต่อมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี โดยมีการจัดรูปแบบการจัดการความรู้ให้มีความเหมาะสมกับการนําความรู้ไปใช้ของบุคลากร มีบรรยากาศ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์การตามบริบทของหน่วยงาน ซึ่งในกระบวนการจัดการความรู้ มีข้อมูลความรู้จำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล และเอกสาร ทั้งในรูปแบบคู่มือปฏิบัติงาน บทความ งานวิจัย และเอกสารดิจิทัลที่มีการจัดเก็บรวบรวมไว้เป็นระบบภายในหน่วยงาน ตามกระบวนการ ISO 9001:2015 ซึ่งผู้วิจัยในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ จึงเกิดแนวความคิดในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสาร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน งานวิจัย บทความฯ รวมถึงความรู้ที่อยู่ในตัวคน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในงานที่ปฏิบัติ ที่สามารถถ่ายทอดหรือแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ รวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวบุคคลและเอกสารให้เป็นระบบเพื่อให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้ สามารถนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้ เพื่อให้มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ มีการบ่งชี้ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภายใน-ภายนอกหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารอาจใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา การบริหารจัดการหน่วยงานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่กระบวนการจัดการความรู้?เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่ช่วยให้เข้าถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการความรู้ที่อยู่ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร ซึ่งระบบการจัดการความรู้เพื่อใช้ในการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นหรือค้นหาความรู้ โดยมีการร่วมกันกำหนดแนววิธีการปฏิบัติงาน และใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีปรัชญาในการจัดการศึกษา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาท้องถิ่น พัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยและในท้องถิ่น ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร เป็นองค์การที่เป็นคลังแห่งความรู้ คลังแห่งปัญญาที่เป็นที่พึ่งแก่สังคม และให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน และพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ การพัฒนาองค์ความรู้ถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง การจัดการความรู้ในองค์การของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนามหาวิทยาลัย และบริการชุมชน ที่มีโครงสร้างขององค์การที่แตกต่างกันตามพันธกิจ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ 1) สำนักงานผู้อำนวยการ 2) ศูนย์วิทยบริการ และ 3) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงเป็นการจัดการความรู้ในองค์กร โดยการรวบรวมความรู้ ที่มีอยู่ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ โดยบูรณาการความรู้ที่ได้มาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี โครงสร้างองค์การ และกลยุทธ์ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้น เป็นแหล่งความรู้ภายในองค์กรเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า อันจะส่งผลให้องค์การ มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ในการให้บริการแก่สังคม ชุมชน ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตพื้นที่การวิจัย: สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มเป้าหมาย: ประชากร และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากร และผู้บริหารที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ (KM) ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ขอบเขตเนื้อหาของการวิจัย: การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันและการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีฐานข้อมูลความรู้สำหรับผู้ใช้งานที่สามารถเพิ่มเติมองค์ความรู้โดยผู้ปฏิบัติงานจากทุกที่ทุกเวลาโดยไม่จำกัด โดยบุคลากร ผู้ใช้บริการ หรือบุคคลทั่วไปสามารถอ่าน ศึกษา เพิ่มเติมความรู้ได้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. มีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการให้บริการ 2. เป็นฐานข้อมูลความรู้ที่มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู?ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. มีแนวทางและกระบวนการจัดการความรู้อย้างเป็นระบบ มีการสร้างและแสวงหาความรู้ การบ่งชี้ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ้งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ 4. เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีข้อมูลสำหรับการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงาน ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ 5. สามารถนำผลการวิจัยและเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นในสังคม ชุมชนได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์กร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาหลักการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาในรูปแบบของ Responsive web design ที่สามารถตอบสนองต่อการใข้งานได้บนหลายอุปกรณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 4. การพัฒนาระบบ 5. การทดลองใช้งานระบบ และการปรับปรุงแก้ไข 6. การใช้งานระบบ และการจัดเก็บข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร โดยการออกแบบ และร่วมกับผู้เชี่ยวชาญพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการออกแบบหน้าเว็บไซต์แบบ Responsive Web Design เพื่อให้บุคลากรสามารถจัดการข้อมูลความรู้ และเข้าถึงความรู้ได้โดยสะดวก โดยการจัดเก็บข้อมูล Job description ของบุคลากรครบทุกคน และจัดเก็บคู่มือปฏิบัติงาน องค์ความรู้ของบุคลากร ได้ครอบคลุมประชากรและกลุ่มเป้าหมายครบทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยบริการ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บุคลากรสามารถเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงาน งานวิจัย และบทความ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล และองค์ความรู้ที่อยู่ภายในองค์การ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวได้ และสามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านระบบการจัดการความรู้ได้ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวจริยา ทิพย์หทัย นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย