มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ปัจจัยที่ส่งผลในการเตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจต่อการตรวจสอบภายใน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Factors affecting the preparation of the audited agency to audit
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สำนักงานอธิการบดี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
7 พฤษภาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
6 พฤษภาคม 2562
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยเชิงปริมาณ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ความว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน...” ในการบริหารงานผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเริ่มจากแผนการปฏิบัติงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ มีการจัดการโครงสร้างการบริหารงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด ไว้ เพื่อให้การควบคุมภายในให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดจึงมีการจัดตั้งสำนักงานตรวจสอบภายในขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานกิจกรรมต่างภายในองค์กรๆ พร้อมทั้งให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีความคุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้น การตรวจสอบภายในจึงเป็นวิชาชีพที่มีการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กฎหมาย ความล้มเหลวขององค์กรต่างๆ ตลอดจนการเรียกร้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้องค์กรจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการบริหารงานที่โปรงใสตรวจสอบได้ ปัจจัยดังกล่าวจึงผลักดันให้วิชาชีพตรวจสอบภายในต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายขอบเขตความรับผิดชอบ และมีบทบาทที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เกิดองค์ความรู้และความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงาน อีกทั้งช่วยให้กระบวนการการตรวจสอบภายในมีความรวดเร็ว ฉับไว และทันการณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจต่อการตรวจสอบภายใน เพื่อให้ทราบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติของผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งผู้ตรวจสอบภายในต้องสามารถถ่ายทอดให้ผู้รับการตรวจสอบรับทราบถึงมาตรฐานงานตรวจสอบภายใน อีกทั้งงานวิจัยฉบับนี้จะส่งผลดีต่อหน่วยงานตรวจสอบภายในให้สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน ช่วยให้หน่วยรับตรวจมีความสามารถในการเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจสอบในลำดับต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้รับตรวจต่อบทบาท และแนวทางการปฏิบัติงานของตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
เป็นการวิจัยเฉพาะหน่วยงานมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เท่านั้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
เสริมสร้างประสิทธิภาพของงานตรวจสอบภายใน และหน่วยรับตรวจมีความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน และหน่วยรับตรวจสามารถเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจสอบภายใน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 6. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวดารณี เพ็ชรากูล
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru