รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานทุนวิจัยภายนอกของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of the efficiency or external fund management of the Research and Develop,emt Institute, Nakhon Sawan Rajabhat University
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
อื่นๆ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ในการขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ นั้น จะมีระเบียบ หรือ ข้อบังคับ ประกาศ รวมถึงแนวปฏิบัติในการดำเนินการตามเจ้าของเงินทุนและตามหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งนักวิจัยหรือบุคลากรที่จะขอรับทุนจะต้องปฏิบัติตาม โดยจะต้องศึกษาถึงแนวปฏิบัติในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การขอเสนอโครงการ การส่งสัญญา การเบิกเงินวิจัย การรายงานวิจัย จนกระทั่งปิดโครงการวิจัย ซึ่งส่วนงานที่สำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการรับทุนวิจัย คือ การเบิก-จ่ายทุนอุดหนุนวิจัยนั้น จะมีหลายครั้งและมีความแตกต่างกันในแต่ละแหล่งทุน รวมทั้งแนวปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน หากไม่เข้าใจในแนวปฏิบัติแล้วจะทำให้ผู้ที่ได้รับทุนได้รับเงินล่าช้าไม่ทันต่อการนำไปใช้ในการดำเนินการวิจัย รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สนับสนุนในเรื่องการเบิกจ่ายเงินรวมถึงผู้มีอำนาจลงนามในการเบิก-จ่ายเงินทุนก็จะได้รับผลสะท้อนกลับในด้านที่ไม่ดีจากผู้รับทุน สำหรับการรับทุนอุดหนุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก จะมีระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง ทุนอุดหนุนการทำวิจัยจากเงินทุนภายนอก พ.ศ. 2556 และ แนวปฏิบัติการเบิก-จ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๑ กับ แนวปฏิบัติการเบิก-จ่ายทุนอุดหนุนการทำวิจัยในลักษณะเหมาจ่าย พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติใหม่ที่ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศใช้เพื่อความเหมาะสมต่อการดำเนินงานด้านการเบิกจ่ายและตามข้อกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโอนเงินที่จะต้องให้ถูกต้องตามระเบียบฯ และมีความรวดเร็วอีกด้วย ซึ่งจากผลสะท้อนกลับของผู้รับทุนทำให้ทราบปัญหาเบื้องต้น คือ มีความล่าช้าในการเบิก-จ่ายเงินทุน ไม่มีแหล่งข้อมูลให้ศึกษาเมื่อพบปัญหา และการปฏิบัติไม่ตรงตามแนวปฎิบัติในการเบิก-จ่าย รวมถึงการประสานงานที่ใช้รูปแบบเดิมคือต้องมาติดต่อที่หน่วยงานให้บริการ ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานและกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการรับเงินวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก จึงควรมีการวิจัยสำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรและกระบวนการทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาสำหรับการสร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการทำงานของ สวพ. ที่จะให้การสนับสนุนด้านการเบิกจ่ายเงินให้กับนักวิจัยที่มีความสะดวก รวดเร็ว และ มีข้อมูลแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากทางแหล่งทุนภายนอกหรือปัญหาจากระเบียบและแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัย ส่งผลให้นักวิจัยดำเนินการขอทุนจากแหล่งภายนอกมากยิ่งขึ้นและมีความพึงพอใจในการทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาที่มากขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1.เพื่อวิเคราะห์กระบวนการและปัญหาในการดำเนินงานตามระเบียบฯ 2.เพื่อพัฒนากระบวนการใหม่สำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานตามระเบียบฯ 3.เพื่อประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการประสานงานและการเผยแพร่ข้อมูลระหว่างผู้รับทุนและสถาบันวิจัยและพัฒนา
ขอบเขตของโครงการ :
1) ขอบเขตด้านเนื้อหา คือ การวิเคราะห์ปัญหาการเบิกจ่ายเงินทุนจากแหล่งทุนวิจัยภายนอก และการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรและกระวนการทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ หรือนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ได้รับทุน และ สนใจขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก จาก 5 คณะ ๆ ละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.สามารถสรุปปัญหาในการดำเนินงานตามระเบียบฯเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุงการทำงานของบุคลากรและกระบวนการทำงานด้านการเบิกจ่ายเงินจากแหล่งทุนภายนอก 2.ได้กระบวนการใหม่ที่มีประสิทธิภาพทำให้ลดปัญหาความล่าช้าของการแก้ไขเรื่องการเบิกจ่ายเงินและการปิดโครงการ ส่งผลให้นักวิจัยได้รับเงินทุนที่รวดเร็วและทันเวลาต่อการนำไปดำเนินการวิจัย 3.มีการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการประสานงานและการเผยแพร่กระบวนการใหม่ผ่านเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนาสำหรับนักวิจัยทราบและสามารถเตรียมการพร้อมปฏิบัติได้อย่างถูกต้องทำให้ผู้ได้รับทุนมีความพึงพอใจในการทำงานของหน่วยงานมากขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ และ การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน พอสังเขปดังนี้ 1.สำรวจปัญหาการเบิกจ่ายเงินวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก - ทำการสำรวจปัญหาด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมาย และทำการวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น จำนวน 5 คณะ ๆละ 20 ชุด รวมเป็น 100 ชุด - สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิจัย อาจารย์ เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิจัย ผู้บริหาร เป็นต้น 2.จัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ปัญหา - รวบรวมเอกสารเพื่อศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระเบียบ แนวปฎิบัติ ฯลฯ แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาจากแบบสอบถามและเชิญผู้เกี่ยวข้องมาประชุมกลุ่มสำหรับการสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบฯพร้อมทั้งหาแนวทางสำหรับการปรับปรุงการทำงานของบุคลากรและกระบวนการทำงานด้านการเบิกจ่ายเงินจากแหล่งทุนภายนอก 3.ออกแบบกระบวนการเบิกจ่ายเงินวิจัยใหม่ นักวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องประชุมกลุ่มเพื่อการออกแบบกระบวนการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการลดปัญหาความล่าช้าของการแก้ไขเรื่องการเบิกจ่ายเงินและการปิดโครงการ 4.พัฒนาระบบการบริหารงานการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก นักวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องประชุมกลุ่มเพื่อการพัฒนากระบวนการใหม่ในเรื่องการเบิกจ่ายเงินและการปิดโครงการโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 5.ประเมินผลระบบใหม่ ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการบริหารงานใหม่ด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมาย และทำการวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นสำหรับการจัดทำรายงานผลการวิจัย 6.เผยแพร่กระบวนการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกระบบใหม่ จัดทำเว็บเพจเพื่อการเผยแพร่กระบวนการเบิกจ่ายทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกในเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวศิวาพร อินทร์วารี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 95%
2 นายสมพร พูลพงษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาโครงการ 5%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย