รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แบบจําลองสุ่มสัมผัสในกลุ่มประชากรสําหรับไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่2019
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Public Stochastic Model for Current Novel Coronavirus
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
การวิจัยพื้นฐาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         รายงานจากประเทศจีน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 พบว่ามีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel Coronavirus 2019, nCoV-2019) โดยพบการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเป็นจำนวนมากที่เมืองอู่ฮั่น และต่อมาเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2563 ได้มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า การระบาดของโรคปอดอักเสบนั้น เกิดจาก ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และพบว่ามีการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ที่ประชุมขององค์การอนามัยโลก ได้มีมติประกาศภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก (Global health emergencies) ให้เชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งในขณะนี้ มีผู้ที่ติดเชื้อครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วโลก เป็นจำนวน 4,441,867 คน โดยได้รับการยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว จำนวน 298,295 คนและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศไทยเคยติดลำดับสามของจำนวนผู้ป่วยเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา สเปน และรัสเซียมีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 อันดับแรก สำหรับรายงานพบผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยจำนวน 3,018 คน มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 56 คน รักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 112 คน โดยมีเสี่ยงจากการเดินทางมาจากต่างประเทศ หรือประเทศที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญมากระดับต้น ๆ ของโรคระบาดในปัจจุบัน เนื่องจากยังไม่มีการพบวัคซีนที่ใช้สำหรับการยับยั้งการระบาดของโรคได้ อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจถึงการแพร่ระบาดของโรคนั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งเพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการกับการระบาดของโรค ดังนั้น การจัดทำแบบจำลองเพื่อทำซ้ำการเกิดโรคจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางของการรับมือการระบาดของโรคได้ในครั้งนี้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาหาข้อมูลที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 2. เพื่อสร้างแบบจำลองการทำซ้ำการเกิดการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยใช้ Computational Epidemiology 3. เพื่อสร้างกระบวนการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ผ่านทางแบบจำลอง ให้สามารถนำไปวางแผน หรือรับมือต่อการระบาดของไวรัสฯ
ขอบเขตของโครงการ :
ข้อมูลทางชีววิทยาของโรค ได้จากการราบงานขั้นทุติยภุมิของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงาน หรือเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้เครื่องมือเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และและเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนเตรียมรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 2. ได้ผลงานทางวิชาการในการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 3. มีการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา และ สาธารณสุข เข้าด้วยกันเป็นลักษณะของสหวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคระบาดในสาขาของ ระบาดวิทยาเชิงคำนวณ 4. ได้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในแง่มุมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในสถานการณ์จริง หรือมีความเสี่ยงสูงในการทดลอง หรือใช้งบประมาณมากในการทดลอง 5. สามารถนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ไปถ่ายทอดให้กับบุคลากรสาธารณาสุขท้องถิ่นตามคำร้องขอของหน่วยงานนั้น ๆ 6. ถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยให้กับนักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้ทราบถึงการวางแผนเตรียมรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         1. ขั้นเตรียมความพร้อม 2. การทำการประมวลผลก่อนสำหรับข้อมูลดิบ (Pre-processing for raw data) 3. สร้างแบบจำลอง 4. การออกแบบโปรแกรมส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้งาน และโปรแกรมประมวลผล 5. ประมวลผลแบบจำลอง 6. การประเมินผลความถูกต้องของแบบจำลอง 7. สรุปผลการทำงานของแบบจำลอง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายดนุวัศ อิสรานนทกุล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายถิรภัทร มีสำราญ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%
3 นางปัทมนันท์ อิสรานนทกุล นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 25%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย