มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนในชนบท
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of digital literacy to reduce the disparity of information access among rural people
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย “การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ” เป็นนโยบายหลักข้อหนึ่งของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยอธิบายว่า ความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งและความเดือดร้อนทั้งหลายของประชาชน ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล (Digital Divide) ประชาชนในชนบทของประเทศ มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล (Digital Divide) หรือมีความกีดกันทางดิจิทัล (Digital Exclusion) อันเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ยังมีความกีดกันทางการเมืองอันเกิดจากความขัดแย้งในระดับประเทศอีกด้วย ประเวศ วะสี (2552) กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยว่า ปัญหาความยากจนและการขาดความเป็นธรรมช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยยิ่งห่างมากขึ้น การใช้ทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความขัดแย้งและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่มีทางออก อันเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่ได้รับการแก้ไข บนความขัดแย้งกันนั้น หากวิเคราะห์แยกแยะโดยพยายามเข้าใจเหตุปัจจัย ไม่เข้าไปสู่อารมณ์มากเกินไปยิ่งถ้าเห็นทุกคนเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วย ก็จะยิ่งเข้าใจ เห็นใจ และเข้าถึงความจริง ดังนั้น จึงควรมีความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยการควรคุยกัน[ร่วมมือกัน]เรื่องการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และประเวศ วะสี “ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” เป็นนโยบายที่มุ่งหวังการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยการวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งระบบให้ขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง การสร้างความพร้อมภาคประชาชนให้เกิดการรับรู้และใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ประชาชนในภาคการเกษตร และผู้มีรายได้น้อย นับเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียมกับคนเมืองและผู้มีรายได้ปานกลาง “ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน” เป็นเครื่องมือที่รัฐใช้ในการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลระหว่างเมืองและชนบท สร้างช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยี เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับประชาชน ปัจจุบันมีการจัดตั้งแล้วกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้อัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีสูงขึ้นมาก ราคาอุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาถูกลง ประชาชนเป็นเจ้าของอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อการสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของ เทเลเซ็นเตอร์ให้ตอบสนองการใช้งานและเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในภาคประชาชน จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนเพื่อสร้างความพร้อมภาคประชาชนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยความเข้มแข็งจากฐานรากของประเทศ ในสังคมความรู้ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกันนั้น หากการเข้าถึงกลไกสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียมกันจะเป็นปัจจัยใหม่ที่สร้าง ความเหลื่อมล้ำในสังคม (H?adkiewicz & Gaw?owicz, 2013) อันเป็นปัญหาทางจริยธรรมในสังคมความรู้ในบริบทพลวัตความขัดแย้ง และความขัดแย้งนั้นมีผลกระทบกระทบต่อสังคม (Rhee, Raghav Rao, Al-Raimi & Moon, 2010) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใช้เสริมสร้างความโปร่งใสและความเป็นประชาธิปไตยโดยการสร้างพื้นที่และบรรยากาศสาธารณะให้เป็นประชาสังคม หลายรัฐบาลที่มีลักษณะอำนาจนิยมจึงพยายามควบคุมทั้งผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเนื้อหาสารสนเทศ (Lor & Britz, 2007) ดังนั้น รัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศจึงเริ่มผลักดันให้กลุ่มด้อยโอกาสให้เข้าสู่สังคมสารสนเทศ (Beck, Madon & Sahay, 2004) แต่สังคมสารสนเทศหรือสังคมความรู้ก็สร้างปัญหาด้วย (Bohme, 1997) ปัญหาที่สำคัญของสังคมความรู้ คือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล (Digital Divide) มีกรอบแนวคิดเพื่อแก้ปัญหา(กลุ่มตัวแปร)ว่าใครคือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัล (เป็นความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคคลหรือประเทศ เป็นต้น) ในลักษณะใด (เช่น รายได้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ อายุ เป็นต้น) การเชื่อมโยง (เพียงเฉพาะการเข้าถึง หรือการยอมรับในผลการเข้าถึง) ด้วยสื่ออะไร (เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ดิจิทัลเป็นต้น) ผลความพยายามของวิสัยทัศน์ที่มีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลนั้นเป็นปัจจัยรองในการสร้างความเหมาะสมให้กับภาคส่วนที่มีความพยายามเฉพาะ (Hilbert, 2011) ความสัมพันธ์กันที่มีอย่างมากระหว่างสารสนเทศ ความรู้ และอำนาจ แต่ในความสัมพันธ์นี้มีเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยง (Chiriac, 2013) ทำให้ข้อมูลที่ทรงพลัง (Big data) เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ข้อมูลที่ทรงพลังไม่ได้ทำให้เกิดเพียงประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังทำให้เกิดการท้าทายที่สำคัญอีกด้วยขณะเดียวกันข้อมูลที่ไม่สะอาดก็มีอยู่ด้วยเป็นการเพิ่มปริมาณข้อมูลอย่างมหาศาล และลดคุณภาพข้อมูล และการใช้งานข้อมูล ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมสารสนเทศ (Li & Liu, 2013) จากการที่สารสนเทศที่ทะลักทะลายมีเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำได้คือการจัดการสารสนเทศให้ดีขึ้น ด้วยการให้ความสำคัญ การจัดการ และการวัดสารสนเทศ ปัจจุบันมองสารสนเทศว่าคืออำนาจ สารสนเทศถูกนำมาใช้เป็นก้อนอิฐเพื่อสร้างสังคมมนุษย์ (Paul, 2014) การอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมุ่งเข้าสู่แนวปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างเร่งด่วนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในภารกิจของชุมชน และสถาบันทางราชการ นักวางแผนต้องออกแบบการเริ่มต้นโครงการให้เกิดการร่วมกันทางดิจิทัล อันนำไปสู่ความหลากหลาย ของสื่อที่มีอยู่ ขยายขอบเขตการรู้ดิจิทัล และสอนผู้มีส่วนร่วมสร้างเนื้อหาสารสนเทศที่มีความหมาย (Bach,Shaffer & Wolfson, 2013) และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรท้องถิ่น (Rivas, 2013) ส่วน Ferreira, Moreira, Mendes, Gerla และ Cerqueira (2014) เสนอว่าจัดบริการการร่วมกันทางดิจิทัลเพื่อให้ชุมชนได้รับเนื้อหาสารสนเทศมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพิ่มโอกาสในการติดต่อ คลิปวีดิทัศน์ทางการศึกษา อาชีพ หนังสือที่ฟังเสียงได้ บุญเลิศ ศุภดิลก และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ (2547) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในเมืองไทย มีหน้าที่คอยรับใช้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มที่คนสนใจ มากกว่าความสนใจของสาธารณชน ซึ่งมีหลักฐานที่เพียงพอชี้ว่าคนยากจนตามชนบทเป็นคนส่วนใหญ่ของประชากรไทยโดนจำกัดต่อสิทธิการเข้าถึงสื่อข้อมูลข่าวสาร ในขณะที่กลุ่มคนในเมืองเป็นส่วนที่ท่วมท้นไปด้วย จากความสัมพันธ์ระหว่าง สื่ออินเตอร์เน็ตกับช่องว่างทางดิจิตอลที่ได้นำเสนอข้อมูลข้างต้น ในการนี้ผู้วิจัยจึงเห็นถึงความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในชนบท เพื่อสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของชุมชน ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคมดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับด้านอาชีพ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการดำรงชีวิตและการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบที่มีต่อการรู้ดิจิทัล และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชนในชนบท 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะการรู้ดิจิทัลและการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนในชนบท 3. เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการรู้ดิจิทัลและการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนในชนบท
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตของโครงการวิจัย 1. ศึกษาเฉพาะกับผู้ที่มีความพร้อม เช่น โทรศัพท์อัจฉริยะ (Smart Phone) 2. ศึกษาใน 14 หมู่บ้าน ที่เลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) ในตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนเกณฑ์ที่ใช้กำหนดชุมชนที่ใช้ในการศึกษา (Armenta, Serrano, Cabrera & Conte, 2012; Agnew & Ripper, 2011; Bach, Shaffer & Wolfson, 2013) ได้แก่ (1) การมีสถาบันทางราชการให้การสนับสนุน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน (2) การมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (3) การมีอุปกรณ์ไร้สายและแถบความถี่กว้างที่มีประสิทธิภาพ (4) การมีโครงสร้างพื้นฐานอาสาสมัครพื้นฐานที่มีอยู่เป็นกุญแจสำคัญที่จะเข้าถึงประชาชน (5) การมีส่วนร่วมในระดับฐานราก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษา ปรับปรุงหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศของคนในชนบท 2. ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ดิจิทัลกับผู้ด้อยโอกาสของประชาชนในชนบท และประชาชนมีศักยภาพในตนเอง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและผลกระทบที่มีต่อการรู้ดิจิทัล และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชนในชนบท ได้ดำเนินการดังนี้ การศึกษาบริบทชุมชน ปัญหาที่มีต่อการรู้ดิจิทัลอย่างเร่งด่วนตามเกณฑ์ที่ใช้กำหนดชุมชนที่ใช้ในการศึกษาในตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 14 หมู่บ้าน ระยะที่ 2 การสร้างเนื้อหาหลักสูตรเพื่อทดลองการอบรม เนื้อหาหลักสูตรที่สร้างจากวรรณกรรมและ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1) คอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารเคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต 2) การเข้าถึง สารสนเทศตามประเภทและลักษณะของสารสนเทศ และการสื่อสาร 3) การสร้างและการออกแบบเครือข่ายสังคม เสมือนและสังคมจริง 4) ความรู้และการจัดการความรู้ ได้แก่ ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการดำเนิน ชีวิตประจำวัน ด้านระบบความรู้ท้องถิ่นของชุมชน ฯลฯ 5) กฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสังคมและชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลที่มีความจำเป็นอันจะนำมาซึ่งการปรับปรุงหลักสูตร ขั้นที่ 3 สำรวจความต้องการและความจำเป็นของสังคม ชุมชน และผู้เรียน ขั้นที่ 4 กำหนดวัตถุประสงค์ของการให้การศึกษาให้ตรงกับความต้องการของสังคม ขั้นที่ 5 เลือกเนื้อหาวิชาที่ต้องการนำมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาที่ตรงกับวัตถุประสงค์ ขั้นที่ 6 เลือกบุคลากรที่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชานั้นๆ มาร่วมจัดทำหลักสูตร ขั้นที่ 7 จัดเรียงลำดับเนื้อหาความรู้ที่ได้มาจากขั้นที่ 6 ขั้นที่ 8 สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้ตรงกับเนื้อหาวิชาเพื่อการจัดการฝึกอบรม ขั้นที่ 9 กำหนดการประเมินผลให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษา ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการรู้ดิจิทัลและการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนในชนบท ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหาหลักสูตร การอบรมตามเนื้อหาหลักสูตรเพื่อสร้างขึ้นกับชุมชนโดยมีการ ทดสอบก่อนและหลังการอบรม สร้างคู่มือการใช้หลักสูตร ค่าสถิติที่ใช้ การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนกับหลังอบรมโดยรวมและรายประเด็น และรายชุมชน ใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าความแตกต่างโดยรวมและรายประเด็น และรายชุมชน ใช้ค่าสถิติ Paired- Samples, t- Test เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แบบสอบถามสภาพปัญหาและผลกระทบที่มีต่อการรู้ดิจิทัล และการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนในชนชน 2. แบบประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 3. แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวดวงใจ พุทธเษม
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru