มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
แบบจำลองระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวล
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Simulation the Diffusion Distance of Particulate Matter 2.5 Caused by Biomass Burning
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
1 ตุลาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
30 กันยายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
PM2.5 (Particulate Matter 2.5) เป็นฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เมื่อวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางมีแหล่งกำเนิดจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1. จากมนุษย์ เช่น การการขนส่งสิ่งของ การเดินทางด้วยรถยนต์หรือยานพานะที่เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิง การปลูกสร้างอาคารสถานที่ การดำเนินกิจการภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น 2. จากธรรมชาติ เช่น เขม่าควันที่เกิดจากการเผาป่า และการเผาเศษเหลือทิ้งทางการเกษตร ฝุ่นเหล่านี้มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อวัตถุ สิ่งก่อสร้างบางชนิดได้ เช่น ทำให้โลหะสึกกร่อน ผิวของสิ่งก่อสร้างถูกทำลาย สร้างความสกปรกให้กับวัตถุ ปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเป็นประจำนั้นมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานและสร้างปัญหาให้กับแต่ละจังหวัดมากน้อยแตกต่างกัน ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจ กระทบต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม โดยปัญหาสำคัญนี้มีโอกาสที่จะขยายตัวไปสู่จังหวัดใกล้เคียงในภูมิภาคเดียวกัน สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติตรวจพบค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในบางพื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ภาคใต้ที่เสี่ยงต่อปัญหาหมอกควัน พื้นที่จังหวัดสระบุรี ในตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และพื้นที่ภาคเหนือ (กรมควบคุมมลพิษ, 2562) พื้นที่ภาคเหนือมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ 16 สถานี ในพื้นที่ 9 จังหวัด มีรายงานค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 73 จากปี 2561 โดยนับจากจำนวนวันที่เพิ่มขึ้น คือจาก 34 วัน เป็น 59 วัน สาเหตุหลักมาจากเศษซากของพืชสะสมมากเป็นเชื้อไฟได้อย่างดี และสภาพอากาศที่ค่อนข้างแห้งแล้ง เมื่อเกิดการเผาไหม้ทำให้มีฝุ่นละอองขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นจำนวนมากสะสมในอากาศ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2563) และจากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากสถานีฯ ในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2562 สรุปข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563 มีปริมาณ PM 2.5 เกิน 25 มคก./ลบ.ม.ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปี ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ พะเยา ตาก แม่ฮ่องสอน รวมถึงจังหวัดนครสวรรค์ที่อยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างก็มีค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานด้วยเช่นกัน (กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ, 2563) จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ 5,998,548 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ข้าว พื้นที่เพาะปลูกข้าวมีในทุกอำเภอ จำนวน 2,376,352 ไร่ และอ้อย ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยโรงงานมีจำนวนมากอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศ 567,091 ไร่ เนื่องจากมีโรงงานน้ำตาลที่รับแปรรูปอ้อยที่ใหญ่ที่สุดในระดับประเทศ ตั้งอยู่ในเขตจังหวัด ภาคราชการและเอกชนสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูก การส่งอ้อยเข้าโรงงานของเกษตรกรจะทำการเผาอ้อยก่อนเพื่อให้เก็บเกี่ยวได้สะดวกถึงแม้ราคาจะต่ำกว่าอ้อยสด ในส่วนของนาข้าวเมื่อมีการเก็บเกี่ยวแล้วจะมีเศษฟางข้าวเหลือใช้จำนวนมาก ชาวนาอาจเลือกวิธีการเผาเพื่อกำจัดและก่อนเตรียมพื้นที่ปลูกใหม่ในครั้งต่อไป ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐานในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร และอีกเหตุผลที่ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองปริมาณมากคือ ประเทศไทยเกิดปรากฏการณ์สภาพอากาศนิ่ง (Air stagnation) ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2562 ทำให้มวลอากาศเย็นลอยปกคลุมด้านบนเพียงด้านเดียว สภาพอากาศจึงเหมือนมีโดมหมอกปกคลุมอยู่ด้านบนตลอด (สุภัค วงศ์ไวทยากูร, 2561) จากปัญหาการเผาไหม้จากผลผลิตทางการเกษตรดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสร้างแบบจำลองระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวลเพื่อนำมาช่วยเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำความรู้จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองมาใช้ในพยากรณ์การสะสมของปริมาณ PM 2.5 และการวางแผนป้องกัน ควบคุม และรับมือกับเหตุการดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวล 2. สร้างแบบจำลองระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวล
ขอบเขตของโครงการ :
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 1.1 ข้อมูลมลพิษทางอากาศ ย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยรายชั่วโมง ช่วงเวลา 00.00 – 23.00 น. ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จากเว็บไซต์ http://air4thai.pcd.go.th/ ของกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 1.2 ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกและพันธุ์พืชในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 1.3 ข้อมูลสภาพอากาศ ย้อนหลัง 5 ปี ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ ปริมาณฝน อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และทิศทางลม ย้อนหลัง 5 ปี จากเว็บไซต์ https://data.tmd.go.th/ ของกลุ่มบริหารสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา 2. การวิเคราะห์ข้อมูล 2.1 นำข้อมูลมลพิษทางอากาศ พื้นที่เพาะปลูกและพันธุ์พืช และข้อมูลข้อมูลสภาพอากาศ มาตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ และความถูกต้องของข้อมูล 2.2 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) 3. สร้างแบบจำลองระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวล 4. ออกแบบฐานข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมจำลองระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวล มีการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบของกราฟ ตาราง และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์บนเว็บไซต์หรือวิธีการอื่นๆ 5. ประเมินประสิทธิภาพของระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนโดยนำผลที่ได้จากแบบจำลองมาเปรียบเทียบกับรายงานคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ 6. นำเสนอ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์แบบจำลองระยะทางในการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เกิดจากการเผาชีวมวล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
1. ขอบเขตด้านข้อมูล 1.1 ข้อมูลมลพิษทางอากาศ ย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยรายชั่วโมง ช่วงเวลา 00.00 – 23.00 น. ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ 1.2 ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกและพันธุ์พืชในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 1.3 ข้อมูลสภาพอากาศ ได้แก่ ปริมาณฝน อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และทิศทางลม ย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มบริหารสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา 2. ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ จังหวัดนครสวรรค์
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาววรชนันท์ ชูทอง
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru