มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนารูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการออกแบบร่วมสมัย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The Development of Earing Styles from Coconut Shells: Coconut Shell Handicraft Group, Hua Takhil Community, Takhli District, Nakhon Sawan Province.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
ไม่ระบุ
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลี่ยมล้ำในสังคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ และรายได้ที่ทำให้จำนวนคนยากจนลดลง และยังเป็นปัญหาท้าทายในหลายด้านทั้งความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร ความแตกต่างของคุณภาพการบริการภาครัฐ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับบริการที่คุณภาพต่ำกว่า ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่ต้องเร่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 เพื่อไม่ให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นข้อจำกัดต่อการการพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง เป็นองค์รวมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาภาคและเมือง และการบริหารจัดการ ภาครัฐ ดังนั้น การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยต้องอาศัยการพัฒนาในยุทธศาสตร์อื่นๆ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2561 หน้า 75) จากบริบทของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งการเปิดประชาคมอาเซียน การเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีและการสื่อสารมากขึ้นทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งภายนอกและภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลง อาจก่อให้เกิดโอกาสและความเสียงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเสรีในการเคลื่อนย้ายแรงงาน 8 สาขาอาชีพ จึงจำเป็นต้องเร่งการเตรียมความพร้อมให้แก่กำลังของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการวางแผนพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถปรับตัวการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมหลัก และจากประเด็นปัญหาแรงงานไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ จำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มในตลาดแรงงานปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศ 2562, หน้า 8) ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาและพัฒนารูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว จากพื้นที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และได้พบว่า อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นชุมชนหนึ่งที่มีการนำกะลามะพร้าวมาสร้างสรรค์ผลงานสร้างอาชีพเกี่ยวกับมะพร้าว และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าวและเป็นกานำวัสดุที่หลายคนคิดว่าไม่มีคำและราคามาเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับชุมชนอย่างมาก เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของประชากรเนื่องจากวัสดุหาง่ายและต้นทุนไม่สูงมากนัก ซึ่งชุมชนตาคลีได้มีการประกอบอาชีพการทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าวและดำเนินการมานานกว่า 20 ปีและมีการพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์และรัฐบาลได้ให้มีการส่งเสริมจนเป็นสินค้า OTOP ที่สำคัญของอำเภอตาคลี ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า ควรจะมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย เพราะรูปแบบเดิมประกอบไปด้วยรูปแบบลายไทยและรูปแบบธรรมชาติ และยังขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย การหาอัตลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจและทุนทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทุนทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนเพื่อการออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องประดับร่วมสมัยจากกะลามะพร้าว และพัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ผู้ผลิตในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาศึกษาเพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะที่จะสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างรูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว และตลอดจนสร้างคุณค่าและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งลักษณะการออกแบบจะเป็นวัสดุกะลามะพร้าวอย่างเดียวไม่ผสมผสานกับวัสดุร่วมอย่างอื่นเพื่อเป็นการเชิดชูคุณค่าวัสดุท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. ศึกษาวิเคราะห์ ต่างหูจากกะลามะพร้าว จากหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เพื่อออกแบบเครื่องประดับ 2. สร้างสรรค์เครื่องประดับต่างหูจากกะลามะพร้าว เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตของงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ เพื่อทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจากกะลามะพร้าว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อถึงอัตลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ อาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายภายในชุมชน อาชีพกลุ่มหัตถกรรมชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์และสามารถนำไปเสริมสร้างพัฒนา ขอบเขตด้านพื้นที่ 1. พื้นที่ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. พื้นที่ในการศึกษาทำแบบสอบถาม วัดระดับความพึงพอใจ คุณภาพต่างหูที่ได้จากการการออกแบบจากวัสดุกะลามะพร้าว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้ผลการวิเคราะห์และข้อมูลองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ต้นแบบเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าว ที่สื่อถึงอัตลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ และสามารถนำไปเสริมสร้างพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายภายในชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์รูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจากกะลามะพร้าว สร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเมินและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจาก ต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) เริ่มจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษา ทฤษฎี หลักการต่างๆ จากเอกสาร หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และข้อมูลจากเว็บไซด์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยและสร้างเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) จากการสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบเชิงโครงสร้าง (Structured Interview) เพื่อรวบรวมข้อมูลรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจากกะลามะพร้าว จากนั้นผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อสำรวจความความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาหัตถกรรมชุมชน แล้วประเมินและแบบร่าง โดยวิธีดำเนินการวิจัย มีรายละเอียดตามลำดับดังนี้ 1. การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย 6. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 7. การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
1. ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาการพัฒนารูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการออกแบบร่วมสมัย มีวัถตุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าว กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2.สร้างสรรค์พัฒนาเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าวเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพกกลุ่มหัตถกรรมชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยให้กลุ่มชาวบ้านได้จัดทำออกแบบผลิตภัณฑ์และวางจำหน่ายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งทางด้านความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอยที่มีคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้มองเห็น รูปแบบจักสานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากในชุมชนยังไม่มีเครื่องประดับ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องประดับ วิเคราะห์และประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องประดับ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อให้งานพัฒนา
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวศมลพรรณ ภู่เล็ก
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru