มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Research Synthesis Study of Nakhon Sawan Rajabhat University to Utilization for Commercial According to the Thailand 4.0 Policy
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
7 พฤษภาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :
6 พฤษภาคม 2562
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ในวันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศทิศทางของประเทศไทยในอนาคตของรัฐบาล เรื่อง “ประเทศไทย 4.0” ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเฉพาะกิจ ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จากการประกาศทิศทางของประเทศไทยในอนาคต ณ วันนั้นทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาคเอกชนต่างตื่นตัวกับนโยบาย Thailand 4.0 พร้อมทั้งมีการดำเนินงาน การจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้นแต่ก็ต้องเผชิญกับ “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นท้าทายของประเทศไทยในปัจจุบัน นำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อไปสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งประเทศไทย 4.0 นี้เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม หรือ Value – Based โดยการนำเอาความคิดสร้างสรรค์เป็นแรงผลักดันและนำนวัตกรรมเข้ามาช่วย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 และแน่นอนว่าหนึ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้นมาจากองค์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงเศรษฐกิจ หรือเชิงสังคม ดังนั้นประเทศไทยจึงมีอยู่แค่ 2 ทางเลือก หากเราปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจได้สำเร็จ ประเทศไทยก็จะกลายเป็น “ประเทศที่มีรายได้สูง” แต่หากทำไม่สำเร็จ ก้าวข้ามกับดักเหล่านี้ไปไม่ได้ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในภาวะที่เรียกกันว่า “ทศวรรษแห่งความว่างเปล่าไปอีกนาน” (สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2559) ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย เพื่อให้คุ้มค่ากับงบประมาณที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้การสนับสนุนและเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่จะสามารถนำไปสร้างนวัตกรรมอันจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งเป็นการสนับสนุนให้งานวิจัยได้มีโอกาสได้ “ขึ้นห้าง” และไม่ปล่อยงานวิจัยให้ “ขึ้นหิ้ง” เหมือนกับอดีตที่ผ่านมา
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ 2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนและจัดสรรทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล
ขอบเขตของโครงการ :
1. ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น : ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 3 ด้าน ได้แก่ แนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย (Meta Theory) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย (Meta Method) ด้านผลการวิจัย (Meta Data Analysis) ตัวแปรตาม : งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เชิงปฏิบัติ และเชิงวิชาการ 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ แนวคิดทางทฤษฎีด้านการสังเคราะห์งานวิจัย แนวคิดทางทฤษฎีด้านการบริหารงานวิจัย ทฤษฎีการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R (Routine to Research) แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 3.ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่มีการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีดังนี้ ประชากร : งานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2560 กลุ่มตัวอย่าง : งานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2560 ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งได้โดยวิธีการคัดเลือกตามเกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น เกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัย 1) เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้และเป็นงานวิจัยที่เสร็จสิ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2560 2) เป็นงานวิจัยที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นผู้จัดสรร หรือกำกับติดตามตามพันธกิจของสถาบันวิจัยและพัฒนา 4. ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ 12 เดือน นับจากวันเริ่มเซ็นสัญญา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1.ได้งานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ 2.ได้แนวทางในการสนับสนุนและจัดสรรทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : 1) สืบค้นข้อมูลจากระบบสารสนเทศด้านงานวิจัยที่สถาบันวิจัยและพัฒนาใช้ในการบริหารจัดการ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน (Department Research Management System : DRMS) ระบบสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (Management Information System : MIS) 2) ดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับเต็ม จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 3) พิจารณางานวิจัยว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่คัดเลือกหรือไม่ และคัดเลือกเฉพาะที่เป็นไปตามเกณฑ์เพื่อเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง 1) บันทึกข้อมูลและค่าสถิติต่าง ๆ ของงานวิจัยลงในแบบบันทึกงานวิจัย 2) บันทึกข้อมูลลงในแฟ้มบันทึกข้อมูลที่จัดเตรียมไว้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางประทานพร คุ้มแก้ว
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru