มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The development of digital marketing strategies of community products in Nakhon sawan province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :
แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่ระบุ
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
การตลาดดิจิทัลในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยภาคธุรกิจได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจของประเทศสามารถแข่งขันกับชาติต่าง ๆ ได้ อีกทั้งปัจจุบันนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนานวัตกรรมมาขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศโดยจะมุ่งเน้นการนำความคิด สร้างสรรค์ และการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลจึงเป็นวิธีการดำเนินงานของธุรกิจด้วยการประยุกต์์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า คู่ค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ รวมไปผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ โดยผ่านวิธีการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่ายอาศัยการส่งมอบและนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม นอกจากนี้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล สามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์รูปแบบใหม่ ๆ ได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อปีซึ่งมีประสิทธิผลมากกว่าการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบออฟไลน์ (Bughin,2015) การบรูณาการเครื่องมือทางการตลาดในรูปแบบดิจิทัลและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินธุรกิจจึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะสร้างความท้าทายให้กับธุรกิจ (Friedman, 2010) โดยจากการศึกษาแนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (จินตะนา วงศ์วิภูษณะและคณะ, 2011) พบว่า ควรเพิ่มศักยภาพการตลาดในส่วนประสมทางการตลาดส่งเสริมกระบวนการผลิตที่เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานที่สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้นก่อนพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษากลยุทธ์การตลาดดิจิทัล และดำเนินการช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การแสดงสินค้า รูปแบบตะกร้า การชำระเงิน และ การจัดส่งสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของผู้จัดจำหน่าย และผู้ซื้อสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ และตอบสนองยุทธศาสตร์ และนโยบายของประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อศึกษาผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่มีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนาแนวทางในการจัดการกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :
1.ขอบเขตด้านประชากร 1.1 ประชากร ได้แก่ กลุ่มสมาชิกผู้ผลิตลิตภัณฑ์ชุมชนและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เคยซื้อขายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ 1.2 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) กลุ่มสมาชิกผู้ผลิตลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,111 แห่ง โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้โปรแกรมจีพาวเวอร์ (G*Power) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างจากสูตรของโคเฮน (Cohen, 1997) ผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจากนักวิจัยจำนวนมาก (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 ตัวอย่าง 2) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เคยซื้อขายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนได้ โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้โปรแกรมจีพาวเวอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างจากสูตรของโคเฮน ผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจากนักวิจัยจำนวนมาก ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง 2.ขอบเขตด้านการประเมินประสิทธิภาพ 2.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 2.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประสมการตลาดดิจิทัล พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางดิจิทัล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ทราบถึงกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์สามารถนำไปใช้งานได้จริง 2. ทราบถึงผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่มีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถนำกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่มีต่อผลการดำเนินงาน ไปใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวางแผนขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล การจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงสร้าง ความสัมพันธ์ของข้อมูล และรูปแบบการจัด เก็บข้อมูลของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งข้อมูล เช่น ห้องสมุด เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 2. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดยสำรวจจำนวนกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ และผู้สนใจทั่วไป จากนั้นนำมาใช้สูตรคำนวณเพื่อกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสาร 4. ดำเนินการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 5. ดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่มีต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 6. นำกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ไปทดลองใช้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 7. ดำเนินการประเมินประสิทธิภาพกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 8. สรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติ หรือนานาชาติ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นางสาวจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
50%
2
นางสาวลฎาภา แผนสุวรรณ์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
50%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru