รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Potential Development for Sustainable Community- Based Tourism Management of Thammamoon Sub-district, Maung District, Chinat Province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :
29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         การพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศสร้างรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการกำหนดจุดหมายปลายทางให้การท่องเที่ยวมีเอกลักษณ์และความหลากหลาย เน้นความรับผิดชอบ ความยั่งยืน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและมีความสมดุล นำไปสู่การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของคนในประเทศ ซึ่งแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่จัดทำขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดของแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2ในปี 2560-2564 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กำหนดให้เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงศาสนา การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นต้น โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมทางความคิดเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าท่องเที่ยว ส่งเสริมการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน คำนึงถึงคุณค่า การพัฒนาสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศการลงทุนในกิจกรรมการท่องเที่ยวแหล่งใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อคืนธรรมชาติสู่ผืนโลก เกิดความมั่งคั่งสู่ชุมชน มุ่งสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างยั่งยืน ด้วยการเพิ่มรายได้ทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง สมดุลและทั่วถึงผ่านการนำเสนอคุณค่าของการท่องเที่ยวประเทศไทย (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2563) สอดรับกับแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งโดยการเตรียมความพร้อมให้กับคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องและเหมาะสม โดยนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูล ด้วยการเสริมสร้างทุนสังคม (ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนทางวัฒนธรรม) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพในทุกระดับ การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง การเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรม การเสริมสร้างทุนเศรษฐกิจมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง โดยการใช้ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์เป็นพลังขับเคลื่อนใหม่อย่างยั่งยืนระยะยาว โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาขาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ ยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและชุมชนให้เป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของประเทศ รวบถึงเป็นแหล่งกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ด้วยการพัฒนายกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวในเชิงกลุ่มพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและชุมชน การบริหารจัดการท่องเที่ยวให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2563) การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในรูปแบบของการท่องเที่ยวชุมชน (Community - based Tourism) เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายโดยเริ่มประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่เน้นการสร้างความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่หรือแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งในปัจจุบันการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การสร้างงาน การกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่แล้วการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนมักไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพของชุมชน ทุนทางสังคม ผลิตภัณฑ์ในชุมชนท้องถิ่น ความเป็นอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตดั้งเดิมซึ่งเป็นรากฐานของชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 (CBT Thailand) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีความรู้ และเพิ่มทักษะความสามารถในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตามแนวคิดของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานของความพอเพียง รวมทั้งเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรการท่องเที่ยวทรัพยากรชุมชนอันจะทำให้เกิดการยกระดับความสำคัญของชุมชนในสังคม เพื่อเพิ่มจำนวนชุมชนที่มีการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีมาตรฐานคุณภาพภายใต้ขีดความสามารถของการรองรับของชุมชน และเพื่อเพิ่มจำนวนเครือข่ายและความเข้มแข็งของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน (องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, 2561) โดยมติคณะรัฐมนตรีได้ผ่านแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน มี 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างคุณภาพ ทักษะ และความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนให้มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชนแบบพึ่งพาตนเองบนฐานความพอเพียงและความรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของต้นทุนทรัพยากรชุมชนสู่การเป็นสินค้าและบริการบนฐานอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการบริหารจัดการการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลของความสุขอย่างเท่าเทียมระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการ และการทำงานเชื่อมโยงเชิงเครือข่ายประชารัฐที่มีเอกภาพ มั่นคงและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขระหว่างชุมชนและนักท่องเที่ยวตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาคอาเซียน โดยคาดหวังที่จะให้มีการกระจายรายได้ สร้างแรงงาน ให้ระบบเศรษฐกิจไหลผ่าน (Trickle down) ไปยังชุมชนในชนบท ดังนั้น การดำเนินการเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนที่เป็นสินค้าด้านการบริการ เช่น การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการของชุมชน การ สร้างเครือข่ายของชุมชน การต่อยอดในเรื่องของการตลาด การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ แล้วประเทศไทยมีขีดความสามารถและมีความได้เปรียบด้าน ทรัพยากรพื้นฐาน (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2560) ด้วยความหลากหลายของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ กระจายอยู่ในทุกจังหวัด และมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวด้วยแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งมีความ สวยงามติดระดับโลก มีเอกลักษณ์ต่างจากภูมิภาคอื่น รวมถึงอุตสาหกรรมที่สนับสนุนเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาอีกจำนวนมาก เมื่อพิจารณาศักยภาพของแหล่ง ท่องเที่ยวในประเทศไทยกับประเทศในทวีปเอเซีย โดยพิจารณาจากแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แหล่งท่องเที่ยวใน ประเทศไทย ประมาณ 104 แห่ง เป็นรองประเทศจีน ญี่ปุ่นและอินเดีย ตามลำดับ โดยแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และชายหาดของประเทศไทยมีชื่อเสียงมากที่สุด (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2559) ด้วยศักยภาพความโดดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างต้องการที่จะเดินทางมาท่องเที่ยว แต่เมื่อใดก็ตามที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขยายตัวและมีการพัฒนามากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ท้องถิ่นหรือแหล่งท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทั้งในภาครัฐ เอกชน หรือชุมชนท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชุมชน หรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่ชุมชนรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ดังนั้น การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนจึงเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน มีการกระจายผลประโยชน์สู่ชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาไว้ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนต่าง ๆ มีปัญหาที่สำคัญ คือ ศักยภาพของ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าทางการท่องเที่ยว บริบทชุมชน รวมทั้งอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชุมชนในแต่ละพื้นที่ แตกต่างกัน การบริหารจัดการที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงคือ การพัฒนาการท่องเที่ยวตามบริบทของแต่ละ ชุมชนให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยอยู่บนพื้นฐานของ ศักยภาพทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น ศักยภาพด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ในการรองรับ ศักยภาพทางด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะของแต่ละชุมชน ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้จากชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการจัดการการท่องเที่ยวจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนอื่น จังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีเนื้อที่ประมาณ 2,469 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,543,591 ไร่ มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบค่อนข้างเรียบแคบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยเฉพาะตอนกลางของจังหวัด กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดชัยนาท “เมืองเกษตรมาตรฐาน ย่านท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ มุ่งสู่สิ่งแวดล้อมสมดุลและสังคมเป็นสุข” โดยเฉพาะประเด็นยุทธศาสตร์ที่สอง การเพิ่มศักยภาพด้านท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และวิถีชีวิตชุมชน ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาทางจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการในการสงเสริมและสนับสนุนยกระดับชุมชนท้องถิ่นในการ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสำรวจความต้องการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ขอบเขตของโครงการ :
ขอบเขตเนื้อหา 1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพการศึกษา อาชีพ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ (2) ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การจัดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของชุมชน และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ในการดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยการซักถามพูดคุยระหว่างผู้เข้าร่วมสนทนาระดมความคิด เป็นการถามแบบเจาะลึก ในประเด็น ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาเฉพาะในพื้นที่ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 จำนวน 7,556 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลธรรมามูล ยอมรับให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 ภายใต้ความเชื่อมั่น 95% โดยการใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane, 1973, p.1088) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 381 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง จะใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากประชากรที่ใช้ในการวิจัย และในส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน 30 คน ได้แก่ นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ นายกเทศมนตรี ผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบการในชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ชุดข้อมูลจากการสำรวจความต้องการด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลธรรมามูลจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ส่งผลต่อชุมชนและวิถีชีวิตของคนในตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เกิดแนวทางสำหรับการพัฒนาศักยภาพตำบลธรรมามูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกัน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินการวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยผู้วิจัยสร้างเครื่องมือจากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิดต่างๆ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมทั้งกรอบแนวความคิดที่กำหนดขึ้น แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพการศึกษา อาชีพ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ลักษณะของคำถามเป็นแบบเติมคำและเลือกตอบ (Check List) ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยข้อคำถาม การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทเป็นคำถามปลายเปิด โดยแบบสอบถามทั้งหมดมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด แล้วนำแบบสอบถามไปทดสอบคุณภาพโดยหาค่าความเที่ยงตรง โดยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้องและทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ของคำถามในแต่ละข้อว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้หรือไม่ จากนั้นนำมาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมและถูกต้อง นำแบบทดสอบไปทดสอบหาความเชื่อมั่น ผู้วิจัยหาความเชื่อมั่นโดยการนำแบบสอบถามที่แก้ไขปรับปรุงแล้วไปทำการทดสอบกับประชากรในกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มที่จะศึกษา จำนวน 30 ราย โดยทำการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาความเชื่อมั่น โดยวิธีการหาความสอดคล้องภายในของข้อความแต่ละตอนในแบบสอบถาม ส่วนแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในเวทีสนทนากลุ่ม (Focus Group) ระหว่างผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมเสวนาระดมความคิด เป็นการถามแบบเจาะลึก โดยกำหนด ดังนี้ 1. ชุมชนตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างไร 2. ท่านมีส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาแหล่ง/กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างไรบ้าง 3. แหล่งท่องเที่ยว/ พื้นที่/ กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทมีอะไรบ้าง และแต่ละแหล่งมีความโดดเด่นอย่างไร 4. การเปลี่ยนแปลงของวิถีชุมชน วัฒนธรรมชุมชน ปัญหาและผลกระทบ ภายหลังที่มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีอะไรบ้าง (ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 5. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายวรภพ วงค์รอด นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 100%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย